สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษเพื่อใช้ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและพื้นที่เร่งรัด
ปาณวัตร สันติคุณากร - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษเพื่อใช้ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและพื้นที่เร่งรัด
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปาณวัตร สันติคุณากร
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษเพื่อใช้ในโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริและพื้นที่เร่งรัดในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษสำหรับฝึกอบรมเกษตรกรโครงการหมู่บ้านสหกรณ์อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและพื้นที่เร่งรัดและเพื่อศึกษาผลการดำเนินการฝึกอบรมการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรโครงการหมู่บ้านสหกรณ์อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือเกษตรกรโครงการหมู่บ้านสหกรณ์อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 180 คน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล สาธารณสุขประจำตำบลและนักวิชาการเกษตรด้านพืชผักและผู้นำชุมชน จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสอบถามเพื่อการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัญหาในเรื่องการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ แบบสอบถามเพื่อการจัดเนื้อหาสำหรับการอบรม แบบประเมินความรู้พื้นฐานเรื่องผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ แบบประเมินการอบรมและแบบติดตามผลการปฏิบัติของเกษตรกรหลังการฝึกอบรม นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการพรรณนาวิเคราะห์ การดำเนินการวิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่1 การศึกษาวิเคราะห์ความต้องการของเกษตรกรผู้เข้ารับการฝึกอบรม (Need assessment) ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล สรุปได้ว่า เกษตรกรขาดความรู้ในเรื่องการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษและมีความต้องการเข้ารับการฝึกอบรม ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนการพัฒนาหลักสูตร (Curriculum planning)ในขั้นตอนนี้ได้นำเอาผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลมาพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามความต้องการของเกษตรกร ทำให้ได้หลักสูตรการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษและชุดการฝึกอบรม ซึ่งประกอบด้วยแผนการฝึกอบรมทั้งหมด 7 แผน ขั้นตอนที่ 3 การใช้หลักสูตร (Curriculum implementation) เป็นขั้นตอนที่นำเอาหลักสูตรไปใช้ในการฝึกอบรมเกษตรกร 2 รุ่น รุ่นละ 90 คน โดยใช้เวลาในการฝึกอบรมทั้งสิ้น 2 วัน ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผล (Curriculum evaluation) ได้ดำเนินการประเมินผลเพื่อทดสอบความรู้พื้นฐานในเรื่องการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษก่อนและหลังการฝึกอบรม ผลการประเมินสรุปได้ว่าเกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังจากสิ้นสุดการฝึกอบรมได้ประเมินด้านสภาพทั่วไปของหลักสูตร ด้านความเหมาะสมของปัจจัยที่เอื้อต่อการฝึกอบรมและความเหมาะสมด้านกระบวนการสรุปได้ว่าทุกด้านมีความเหมาะในระดับมาก ส่วนผลที่เกษตรกรได้จากการฝึกอบรมในด้านความรู้ กระบวนการและทัศนคติ อยู่ในระดับมากเช่นกัน สำหรับการติดตามผลหลังการฝึกอบรมไปแล้ว 1 เดือนสรุปได้ว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ได้นำเอาความรู้จากการฝึกอบรมไปใช้จริง ส่วนเกษตรกรที่ไม่ได้นำเอาความรู้จากการฝึกอบรมไปใช้มีสาเหตุซึ่งสามารถสรุปเป็นประเด็นใหญ่ได้ดังนี้ 1) เนื่องจากในช่วงเวลาที่ไปติดตามผลเกษตรกรกำลังอยู่ในระหว่างการเตรียมการ 2) เกษตรกรมีความรู้สึกว่าการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษมีต้นทุนการผลิตสูงและยุ่งยากในขั้นตอนการผลิต
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษเพื่อใช้ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและพื้นที่เร่งรัด
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ความคิดเห็นของเกษตรกรผู้รับการฝึกอบรมหลักสูตรการผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษจากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตรัง (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) ปี 2547 การใช้เทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ความรู้และทัศนคติของเกษตรกรต่อโครงการส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปี 2547 วิธีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาระบบการปลูกพืชผักปลอดภัยบนพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย การศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร กรณีศึกษา : อำเภอเมือง อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย คู่มือศาสตร์พระราชา 19 หลักสูตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สภาพการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร : กรณีศึกษา บ้านเสียว ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก