สืบค้นงานวิจัย
การเพิ่มคุณภาพชีวมวลเหลือใช้ทางการเกษตรโดยกระบวนการเพิ่มความหนาแน่นและทอร์รีแฟคชั่นสำหรับการผลิตไฟฟ้าเพื่อชุมชน
นิกราน หอมดวง - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มคุณภาพชีวมวลเหลือใช้ทางการเกษตรโดยกระบวนการเพิ่มความหนาแน่นและทอร์รีแฟคชั่นสำหรับการผลิตไฟฟ้าเพื่อชุมชน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นิกราน หอมดวง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ปัจจุบันแนวโน้มของเชื้อเพลิงหรือพลังงานจากฟอสซิลเริ่มลดลงและคาดว่าจะหมดลงในระยะเวลาอันใกล้ ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจำนวนมาก ที่ผ่านมาการกำจัดส่วนหนึ่งด้วยวิธีการเผาทำลายซึ่งส่งผลต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของคน ในชุมชน ซึ่งถ้ามีการนำเอาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดเม็ดและนำเข้าสู่กระบวนการทอรีแฟคชั่นเพื่อเพิ่มคุณภาพทางพลังงานแล้วนำไปใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าหรือความร้อนอื่นๆ ก็จะส่งผลในภาพรวมของการลดการนำเข้าพลังงานและการส่งเสริมใช้พลังงานทดแทนในประเทศ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการเพิ่มคุณภาพชีวมวลเหลือใช้ ทางการเกษตรโดยใช้กระบวนการเพิ่มความหนาแน่นและทอร์รีแฟคชั่นสำหรับการผลิตไฟฟ้า เพื่อชุมชน การเพิ่มคุณภาพชีวมวลเริ่มต้นด้วยการศึกษาคุณสมบัติชีวมวล กระบวนการอัดเม็ดเชื้อเพลิงและคุณสมบัติทางกายภาพเชื้อเพลิง กระบวนการทอรีแฟคชั่นศึกษาในส่วนอุณหภูมิและระยะเวลาทำปฏิกิริยาซึ่งอยู่ในช่วง 200-400 ?C และระยะเวลา 20-40 นาที โดยพิจารณา อัตราพลังงานและมวลที่ได้สูงสุด ซึ่งหลังจากนั้นได้นำเอาชีวมวลอัดเม็ดเข้าสู่ กระบวนการทอรีแฟคชั่นภายใต้อุณหภูมิและระยะเวลาที่เหมาะสม จากนั้นนำเอาเชื้อเพลิงอัดเม็ดทอริไฟด์ที่ได้ไปวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพอีกครั้ง ในขณะที่ทุกกระบวนการเพิ่มคุณภาพชีวมวลเหลือใช้ทางการเกษตรจะศึกษาปริมาณการใช้พลังงานในการบวนการและสุดท้ายจะประเมินเศรษฐศาสตร์ต้นทุนการผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดทอริไฟด์ ผลการศึกษาพบว่า อุณหภูมิและระยะเวลากระบวนการทอริแฟคชั่นที่เหมาะสมของซังข้าวโพด ทางใบปาล์ม และเศษไม้ คือ 200 ?C 20 min, 200 ?C 40 min และ 200 ?C 20 min ตามลำดับ การผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 64-80?C และ 10-21% ตามลำดับ คุณสมบัติกายภาพของเชื้อเพลิงอัดเม็ด และเชื้อเพลิงอัดเม็ดทอริไฟด์ มีคุณสมบัติอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน การใช้เบดซีโอเลท์ 5 A และ ทราย ส่งผลให้คุณสมบัติทางกายภาพลดลงในขณะที่คุณสมบัติทางเคมีหรือพลังงานเพิ่มขึ้น การสูญเสียพลังงานส่วนใหญ่ของการผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดทอริไฟด์จะสูญเสียไปกับกระบวนการทอรีแฟคชั่น การผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดทอริไฟด์แบบใช้เบดร่วมมีต้นทุนรวมสูงกว่าการไม่ใช้เบด ต้นทุนรวมการผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดของซังข้าวโพด ทางใบปาล์มและเศษไม้ 11,711-18,525 BAHT/Ton-biomass
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: วิทยาลัยพลังงานทดแทน
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-60-011/61-021
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 287,700
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2561
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพิ่มคุณภาพชีวมวลเหลือใช้ทางการเกษตรโดยกระบวนการเพิ่มความหนาแน่นและทอร์รีแฟคชั่นสำหรับการผลิตไฟฟ้าเพื่อชุมชน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2561
การเพิ่มค่าความร้อนของโปรดิวเซอร์แก๊สที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรผ่านกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันโดยใช้ไอน้ำ ศึกษาการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งประเภททอรี่ไฟล์ทดแทนถ่านหินจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อลดปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ พันธุศาสตร์ของลักษณะทางการเกษตรต่างๆ ในงา การวิจัยการผลิตไพลแบบบูรณาการ การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน วัสดุเหลือใช้จากตาลโตนดมาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตไฟฟ้าชีวมวล การเพิ่มมูลค่าการใช้ประโยชน์ของเถ้าลอยชีวมวลเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตอ้อยและมันสำปะหลัง ศูนย์สาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีพลังงานเพื่อการเกษตร ผลของการห่อผลที่มีต่อคุณภาพของมะม่วงพันธุ์มหาชนก ผลของระดับความหนาแน่นต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาหมอด้วยชุดถังเลี้ยงปลาระบบน้ำหมุนเวียน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก