สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน
เกริกชัย ธนรักษ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน
ชื่อเรื่อง (EN): Oil Palm Breeding Project
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เกริกชัย ธนรักษ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เกริกชัย ธนรักษ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: แผนงานวิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมัน มี 1 โครงการ คือโครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ประกอบด้วย 3 กิจกรรมงานวิจัย 48 การทดลอง ซึ่งจะต้องนำเอามาผสมผสานกัน เพื่อให้การผลิตปาล์มน้ำมันมีประสิทธิภาพมากที่สุด จากการดำเนินงานตลอด 5 ปีที่ผ่านมาสามารถสรุปผลได้ดังนี้ ด้านปรับปรุงพันธุ์ สามารถคัดเลือกพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา ที่ให้ผลผลิตสูง และได้รับรองพันธุ์ให้เป็นพันธุ์แนะนำ 1 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 7 (คู่ผสมหมายเลข 198 Deli x Tanzania) ที่ให้ผลผลิต 3,646 กก./ไร่ เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 24 % และยังมีลูกผสมอีก 2 – 3 คู่ผสม ที่จะดำเนินการเสนอให้เป็นพันธุ์แนะนำในโอกาสต่อไป มีการสร้างแปลงพ่อพื้นที่ 100 ไร่ และแม่พันธุ์ 400 ไร่ เพื่อรองรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ ปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีในอนาคต ขณะนี้อายุประมาณ 4 ปี คาดว่าจะสามารถเริ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันได้ในปี 2555 – 2556 การเก็บรวบรวมเชื้อพันธุกรรมของแม่พันธุ์ดูรา รวมทั้งสิ้น 52 สายพันธุ์ และแปลงคัดเลือกพ่อพันธุ์ เทเนอรา/พิสิเฟอรา จำนวน 57 สายพันธุ์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในงานปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ในการคัดเลือกพันธุ์ที่ดีเด่น เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ นอกจากนี้ยังคัดเลือกพ่อและแม่พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่จากการผสมโดยวิธี Intercrossing ได้ชุดพ่อพันธุ์ปาล์มน้ำมัน จำนวน 12 พันธุ์ และแม่พันธุ์ดูรา จำนวน 27 พันธุ์ การคัดเลือกพ่อและแม่พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่มีศักยภาพในการผลิตลูกผสมเทเนอราที่ทนทานต่อสภาพหนาว และแล้ง จำนวน 8 คู่ผสม สำหรับงานวิจัยพันธุ์ ปาล์มน้ำมัน Elaeis oleifera เพื่อผลิตปาล์มน้ำมันที่มีลักษณะต้นเตี้ย สามารถเพิ่มจำนวนต้นต่อพื้นที่ได้มากขึ้น ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการทดสอบลูกผสมจำนวน 34 คู่ อายุระหว่าง 2 – 3 ปี เป็นระยะแรกของการให้ผลผลิต ภายใต้เทคโนโลยีที่เหมาะสมของพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี การใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ดินและใบปาล์มน้ำมันในการจัดการธาตุอาหารสามารถรักษาระดับผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 5 ปีไม่ต่ำกว่า 3.5 ตัน/ไร่/ปี นอกจากการใส่ปุ๋ยเคมีตามปกติแล้ว การคลุมโคนปาล์มน้ำมันด้วยทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันสามารถให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 20 % สำหรับการให้น้ำ ต้นปาล์มน้ำมันที่ได้รับน้ำ 0.8 - 1.2 เท่าของค่าระเหยน้ำ มีผลผลิตทะลายสูงกว่าไม่ให้น้ำ 35 – 72 % และการให้น้ำที่ 1.2 เท่าของค่าระเหยน้ำของปาล์มน้ำมันอายุ 4-10 ปี ให้ผลผลิตเฉลี่ยที่ 4.21 ตัน/ไร่/ปี การศึกษาสรีรวิทยาของปาล์มน้ำมันลูกผสมของกรมวิชาการเกษตรเพื่อคัดพันธุ์ทนแล้ง พบว่า ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1 และ 6 มีแนวโน้มทนแล้งดีกว่าปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 2, 3, 4 และ 5 เนื่องจากมีประสิทธิภาพการใช้น้ำสูงสุด 5.76-5.99 mmolCO2assimilate mol-1H2O การตอบสนองทางสรีรวิทยาบางประการของปาล์มน้ำมัน พบว่า ปาล์มน้ำมันมีการสังเคราะห์แสงสูงสุดในฤดูฝน และในรอบวันปาล์มน้ำมันมีอัตราสังเคราะห์แสงสุดในช่วงเวลา 9.00 – 10.00 น. และต่ำสุดช่วงเวลาประมาณ 12.00 – 13.00 น. ในระหว่างพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานีด้วยกัน สายพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 มีศักยภาพในการสังเคราะห์แสงสูงสุด ส่วนการวิจัยพันธุ์และเทคโนโลยีการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นการปลูกปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1 – 6 จำนวน 21 การทดลอง ใน 21 หน่วยงานของกรมวิชาการเกษตร ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ 3 – 5 ปี เป็นช่วงของการให้เริ่มให้ผลผลิตในระยะแรกเท่านั้น โดยลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1 ในหลายพื้นที่ให้ผลผลิตสูงสุด รองลงมาคือ ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 2 , 4 และ 5 ตามลำดับ ในขณะที่การเพิ่มเทคโนโลยีการให้น้ำกับปาล์มน้ำมันในช่วงแล้งสามารถเพิ่มผลผลิตให้กับปาล์มน้ำมันได้ 10 – 40 %
บทคัดย่อ (EN): The oil palm breeding project consists of 3 activities and 48 research trials that will have to take the combine for the most effective in oil palm production. The research throughout the past five years can be summarized as follows: Hybrid oil palm varieties can be selected by criteria the highest yield. The crosses No. 198 Deli x Tanzania is certified as a introduced variety and named hybrid oil palm Suratthani 7 yielding 3,646 kg/ha/year and 24% percent of oil. In addition other hybrid varieties are proposed to introduce new varieties. In the oil palm seed garden, Pisifera father palm has established in 100 rais and also Dura mother palm has breeding area 400 rai to support seed production in the future. Now aged about 4 years is expected to start producing oil palm seeds in the years 2555 to 2556. The Germplasm collection of breeding Dura of 52 crosses and Pisifera of 57 crosses are collected in Suratthani oil palm research center. In addition, selection of breeding parents oil palm from Intercrossing method have been conducted. The crosses of 12 Pisifera father palm and 27 Dura mother palm were selected as the potential parents to produce hybrids oil palm. For the cold and dry conditions tolerance varieties, 8 Tenera hybrid crosses are selected for testing. For compact oil palm research, currently in the process of testing of 34 hybrid pairs aged 2-3 years as the first phase of the production. Under the appropriate technology of hybrid oil palm varieties Surat Thani: The use of the analysis of soil and palm oil in the nutrient management can maintain the oil palm yield 5-year average of not less than 3.5 tons/rai/year. Addition to fertilizer normally, using empty fruit bunch can increase yield by approximately 20% when compare with no empty fruit bunch. In irrigation trial, apply water from 0.8 to 1.2 times of the evaporation increase yield 35 to 72%. And 1.2 times the water of the evaporation of oil palm age 4-10 years, give average yield of 4.21 tonnes/rai/year. For oil palm breeding for drought tolerance screening showed that oil palm hybrids Suratthani 1 and 6 are likely better than those oil palm Suratthani 2, 3, 4 and 5 as the highest water use efficiency of 5.76-5.99 mmolCO2 assimilate mol-1 H2O response. Oil palm photosynthesis shows the highest in the rainy season. And during the day photosynthesis rate is maximum in time 9:00 to 10:00 am and minimum of about 12:00 to 13:00 am Among the oil palm hybrid varieties with Surat Thani, Surat Thani 2 variety have the potential for maximum photosynthesis. The research and technology varieties of oil palm plantation in potential area: There are 6 hybrid oil palms (Suratthani 1 to 6) of 21 experiments in 21 station of the Department of Agriculture. Currently the age of oil palm about 3 to 5 years to the start of production in the first phase only. The hybrid Suratthani 1 in many areas most productive, followed by hybrid Surat 2, 4 and 5, respectively, while adding technology to the water with palm oil during the dry season can increase production to palm oil from 10 to 40%.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
การปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันให้มีผลผลิตน้ำมันสูง (ระยะที่ 1) โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ยาง โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ผักกาดขาวปลี โครงการวิจัยและพัฒนาสบู่ดำ โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์ว่านสี่ทิศ โครงการวิจัยและพัฒนาข้าวฟ่าง ชุดโครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ยางเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตมะนาว โครงการวิจัยเพิ่มผลผลิตผลิตข้าวสำหรับชุมชนบนพื้นที่สูง โครงการวิจัยและพัฒนาการจัดการศัตรูที่สำคัญของมันฝรั่ง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก