สืบค้นงานวิจัย
สภาพนิเวศเกษตร เศรษฐกิจและสังคมของระบบการผลิตข้าวนาน้ำฝนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: สภาพนิเวศเกษตร เศรษฐกิจและสังคมของระบบการผลิตข้าวนาน้ำฝนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): [Agroecosystems, socioeconomic environment of rainfed rice production system in north and northeast, Thailand]
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Phrek Gypmantasiri
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ข้าวนาน้ำฝน ในภาคเหนือตอนบนและกาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นแหล่งปลูกข้าวพันธุ์คุณภาพเพื่อการบริโภคและการส่งออกของประเทศ แต่ในขณะเดียวกันการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวมีความแปรปรวนสูง อันเนื่องมาจากความแปรปรวนของปริมาณและการกระจายของฝนและการเขตกรรมของเกษตรกร ความเข้าใจด้านระบบนิเวศ ด้านเกษตร เศรษฐกิจ และสังคมของระบบการผลิตข้าวนาน้ำฝนจะช่วยให้งานวิจัยข้าวนาน้ำฝน มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับความต้องการมากยิ่งขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการแจกแจงสภาพแวดล้อมและเศรษฐกิจ สังคมของข้าวนาน้ำฝน วิเคราะห์ปัญหาการผลิตและทำความเข้าใจกับวิธีการแก้ไขปัญหาหรือลดความเสียหายของผลผลิตอันเนื่องมาจากฝนแลังและน้ำท่วมของเกษตรกร วิธีการศึกษาเน้นการมีส่วนร่วมของเกษตรกร โดยสนับสนุนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างคณะวิจัยและกลุ่มเกษตรกร กระบนการเก็บข้อมูลประกอบด้วยการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การปรึกษาหารือกับกลุ่มบุคคลผู้นำ การสัมภาษณ์รายครัวเรือน โดยพยายามให้มีเกษตรกรชายหญิงในสัดส่วนใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ได้ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างข้าวเพื่อประเมินผลผลิตโดยเกษตรกรและคณะวิจัย การศึกษาแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ต้องการที่จะสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นฐานกำลังสำหรับงานวิจัยปรับปรุงพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนต่อไป การศึกษาแบบสำรวจนี้ครอบคลุมพื้นที่นาน้ำฝนใน 3 จังหวัดภาคเหนือตอนบนและ 12 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกษตรกรนาน้ำฝนทั้งสองภาคสามารถจำแนกภูมินิเวศของนาน้ำฝนตามสภาพความสมบูรณ์ของน้ำได้อย่างชัดเจน โดยมีความหมายเฉพาะถิ่น เช่น นาดอน นาลุ่ม (ตอนบนตอนกลาง) และนาน้ำท่วม (ตอนล่าง) โดยนาลุ่มจะมีเสถียรภาพการผลิตที่สูงกว่านาดอนและนาลุ่มน้ำท่วม เกษตรกรแบ่ง "ภาวะแล้ง" หรือ "ฝนทิ้งช่วง" ออกเป็นสองระยะ คือ "แล้ง1" เป็นระยะ ปักคำถึงแตกกอ และ "แล้ง2" ระยะท้องออกรวงถึงสร้างเมล็ด เกษตรกรมีวิธีการแก้ไขและลดความเสียหายจากแล้ง1 ส่วนแล้ง2 จะมีความเสียหายที่รุนแรงและไม่สามารถแก้ไขได้ โดยภาพรวมความเสียหายจากน้ำท่วมในพื้นที่นาลุ่มตอนล่างมีโอกาสน้อยกว่าความเสียหายจากภาวะแล้งหรือฝนทิ้งช่วง พันธุ์ข้าวมีความหลากหลายแต่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นพันธุ์ชุด กข พันธุ์พื้นเมืองมีเพียงเล็กน้อย ปลูกเฉพาะในพื้นที่ที่มีปัญหาน้ำท่วม พันธุ์ที่นิยมได้แก่ กข6 กข15 และขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวคุณภาพที่เกษตรกรจะใช้เป็นพันธุ์เปรียบเทียบมาตรฐานด้านคุณภาพการหุงต้ม เกษตรกรจะให้ความสำคัญกับพันธุ์ข้าวอายุสั้นหรือพันธุ์ไม่ไวแสง เช่น กข10 สำหรับปลูกเพื่อหลีกเสี่ยงกระทบแล้ง และเลือกใช้พันธุ์ทนน้ำท่วม เช่น กข19 ซึ่งเป็นพันธุ์หนักสำหรับนาลุ่มน้ำท่วม ลักษณะพันธุ์ข้าวที่ต้องการได้แก่ ข้าวคุณภาพเทียบเท่า กข6 หรือ ขาวดอกมะลิ105 หรือ กข 15 ผลผลิตสูง(น้ำหนักเมล็ดดี) ต้านทานโรค(ไหม้) และแมลง(บัว) ทนแล้ง ไม่หักล้ม อายุสั้น ฯลฯ ผลผลิตข้าวฤดูนาปี 2543 จากการสัมภาษณ์ พบว่านาน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 67 ให้ผลผลิตอยู่ในช่วง 100-350 กิโลกรัม/ไร่ โดยมีผลผลิตเฉลี่ย 297 กิโลกรัม/ไร่ ในขณะที่ภาคเหนือตอนบนร้อยละ 25 ให้ผลผสิตอยู่ในช่วง 100-400 กิโลกรัม/ไร่ และร้อยละ 45 มีผลผลิตระหว่าง 400-600 กิโลกรัม/ไร่ ผลผลิตสูงกว่า 600 กิโลกรัม/ไร่ มีสัดส่วนถึงร้อยละ 30 ผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 541 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งสูงกว่าผลผลิตเฉลี่ยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 45 ปัญหาการผลิตที่สำคัญของภาคเหนือได้แก่ ฝนแล้ง (ร้อยละ 34.5) ราคาข้าวตกต่ำ (ร้อยละ 23. 1) โรคและแมลง (ร้อยละ 15.9) และศัตรูอื่น ๆ หนู ปู หอย (ร้อยละ 12.4) ใน 3 จังหวัดภาคเหนือตอนบนร้อยละ 68 ของผลผลิตข้าว เกษตรกรนำไปจำหน่ายเป็นรายได้ ร้อยละ 5.4 เป็นค่าเช่านา และร้อยละ 25 สำหรับบริโภค ที่เหลือใช้ทำเมล็ดพันธุ์และเลี้ยงสัตว์ ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ร้อยละ 59 ของผลผลิตจำหน่ายเป็นรายได้ ในพื้นที่ศึกษาพบว่าในภาคเหนือตอนบน รายได้จากข้าวเท่ากับร้อยละ 41 ต่อรายได้ทั้งหมดของครัวเรือน ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รายได้จากข้าวสูงถึง ร้อยละ 74 ดังนั้นความล้มเหลวของข้าวนาน้ำฝนเนื่องจากความแปรปรวนของสภาพแวดล้อม หรือราคาจะนำความเสียหายอย่างรุนแรงสู่ครัวเรือนเกษตรกร งานวิจัยข้าวนาน้ำฝนจำเป็นต้องมีการจัดการในภาพรวม เชื่อมโยงและขับเคลื่อนองค์ประกอบทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง กระบวนการวิจัยที่ก่อให้เกิดภาคีระหว่างกลุ่มเกษตรกรและนักวิจัยดังปรากฏในการศึกษาเบื้องต้นนี้ได้สร้างความกระตือรือร้นให้กับเกษตรกร และในขณะเดียวกันคณะวิจัยได้เรียนรู้ศักยภาพชุมชน ซึ่งจะเป็นประยชน์ต่อการคัตเลือกพื้นที่และกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมในงานวิจัยข้าวนาน้ำฝนต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2543
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/doa/search_detail/result/155905
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Summary only
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพนิเวศเกษตร เศรษฐกิจและสังคมของระบบการผลิตข้าวนาน้ำฝนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมการข้าว
2545
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การพัฒนาศักยภาพของระบบการผลิตกุ้งก้ามกรามในเขตภาคเหนือ การพัฒนาศักยภาพของระบบการผลิตกุ้งก้ามกรามในเขตภาคเหนือ ความต้องการบริการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถานภาพและปัญหาในการผลิตกุหลาบของภาคเหนือ การทดสอบปฏิกิริยาของพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคกลางต่อแมลงเพลี้ยกระโดดหลังขาว พันธุ์แอสเตอร์ที่เหมาะสมในการผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อการค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พันธุ์กุหลาบตัดดอกที่เหมาะสมสำหรับสภาพแห้งแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประสิทธิผลการผลิตข้าวแปลงใหญ่ของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน การศึกษาระบบการผลิตและความยั่งยืนของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ในเขตภาคเหนือตอนบน เวลาปลูกและระยะเวลาปักดำที่มีผลต่อคุณภาพทางเคมีของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก