สืบค้นงานวิจัย
การเยี่ยมของเกษตรตำบล ศึกษาเฉพาะกรณีในภาคกลาง ตะวันออก และภาคตะวันตก
อนันต์ สุริยกานต์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การเยี่ยมของเกษตรตำบล ศึกษาเฉพาะกรณีในภาคกลาง ตะวันออก และภาคตะวันตก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อนันต์ สุริยกานต์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัย ศึกษาการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรตามระบบเยี่ยมของเกษตรตำบล ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการเยี่ยมของเกษตรตำบล ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ กับความคิดเห็นของเกษตรต่อการปฏิบัติงานเกษตรตำบลที่มีต่อระบบการเยี่ยมทัศนคติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และเกษตรตำบลที่มีต่อระบบการเยี่ยม ปัญหา และอุปสรรคของการเยี่ยมของเกษตรตำบล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับ จังหวัด และอำเภอ จำนวน 96 คน ระดับตำบล จำนวน 126 คน และเกษตรกรจำนวน 530 คน ในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก สุ่มตัวอย่างโดยวิธี Multi-Stage Sampling เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าร้อยละ, ค่ามัชฌิมเลขคณิต, Analysis of Varience, T-Test, Pearson Correlation Coefficient และ Spearman Rank Coefficient ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ เกษตรตำบลทุกคนมีการจัดตารางการเยี่ยม โดยส่วนใหญ่มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อถ่ายทอดความรู้ และสร้างความคุ้นเคยกับเกษตรกร สิ่งที่เกษตรตำบลใช้ในการกำหนดแผนเยี่ยมส่วนใหญ่คือ ความจำเป็นเร่งด่วน และความต้องการของเกษตรกร วิธีการเยี่ยมส่วนใหญ่จะเป็นการเยี่ยมทั้งแบบกลุ่มและรายบุคคล โดยแบบกลุ่มส่วนใหญ่จะมีการแจ้งให้เกษตรกรทราบล่วงหน้า แต่แบบรายบุคคลจะไม่มีการแจ้งให้เกษตรกรทราบล่วงหน้า การปฏิบัติงานที่ศูนย์เกษตรประจำตำบล ส่วนใหญ่จะปฏิบัติงาน 3-4 ครั้งต่อเดือน สำหรับความสามารถของเกษตรตำบลในการเยี่ยมตามแผน ส่วนใหญ่สามารถเข้าเยี่ยมได้ตรงตามแผนร้อยละ 70-79 ความคิดเห็นของเกษตรกรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบการเยี่ยม พบว่าการปฏิบัติหน้าที่ที่เกษตรตำบลปฏิบัติได้ดีที่สุด คือการมาพบปะเกษตรกรตามที่ได้นัดหมายไว้ ส่วนการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการเยี่ยมของเกษตรตำบลปฏิบัติได้ไม่ดีหรือไม่เป็นที่น่าพอใจ คือ การแจ้งให้เกษตรกรรรับทราบเกี่ยวกับวัน เวลาและสถานที่ที่แน่นอนที่เกษตรตำบลเข้าเยี่ยมเกษตรกรในหมู่บ้าน ส่วนบทบาทที่เกี่ยวข้องกับงานส่งเสริมการเกษตรโดยตรง เช่น การถ่ายทอดความรู้ทางการเกษตร การช่วยแก้ไขปัญหาทางการเกษตรและอื่นๆ ปฏิบัติได้ปานกลาง ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการปฏิบัติงานของเกษตรตำบลสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้ ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในตำบลนั้นยิ่งนานปฏิบัติงานได้ดีอายุของเกษตรตำบลยิ่งอายุมากยิ่งปฏิบัติงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร การได้รับการติดตามและนิเทศงานเกี่ยวกับการเยี่ยมจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ ยังมีจำนวนหลายครั้งเท่าใดยิ่งทำให้เกษตรตำบลปฏิบัติงานไม่ได้ดีเท่าที่ควร ส่วนปัจจัยที่ไม่มีผลการปฏิบัติงานของเกษตรตำบล ได้แก่ เพศ อายุการรับราชการ ระดับการศึกษา สภาพการแต่งงาน รายได้ สภาพหนี้สิน ภูมิลำเนาของเกษตรตำบล บนพื้นที่รับผิดชอบของเกษตรตำบล ความพร้อมของทรัพยากรในการดำเนินงาน สภาพพื้นที่ในการปฏิบัติงาน ทัศนคติเกี่ยวกับการเยี่ยม ขวัญ และกำลังใจในการทำงานของเกษตรตำบล และการได้รับการติดตามนิเทศงานเกี่ยวกับการเยี่ยมจากเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล ต่างมีทัศนคติที่ดีต่อระบบการเยี่ยม ในด้านปัญหาของเจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหาร (ระดับจังหวัดและอำเภอ) ที่มีต่อระบบการเยี่ยมส่วนใหญ่พบว่ามีงานจรมาก จำนวนพื้นที่ และครัวเรือนที่เกษตรตำบลรับผิดชอบมีจำนวนมาก และค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะค่าน้ำมันได้รับน้อย ส่วนปัญหาเกี่ยวกับการเยี่ยมของเกษตรตำบล ส่วนใหญ่พบว่ามีงานจรและงานฝากจากหน่วยงานอื่นๆ มาก การคมนาคมทุรกันดาร มีพื้นที่รับผิดชอบกว้างขวาง และมีจำนวนครัวเรือนเกษตรกรในความรับผิดชอบมากทำให้การเยี่ยมไม่ทั่วถึง ข้อเสนอแนะในการวิจัยคือ ควรเน้นการใช้ประโยชน์จากจุดนัดพบ และศูนย์เกษตรประจำตำบลให้มากขึ้น การโยกย้ายของเกษตรตำบล ควรทำเมื่อมีความจำเป็น และควรมีการพิจารณาวางโครงสร้างของอัตรกำลังให้เกษตรตำบลมีระดับที่สูงขึ้น โดยอยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบเดิมและควรมีการฝึกอบรมทบทวนแก่ผู้บริหารระดับอำเภอเกี่ยวกับเทคนิคของการติดตามนิเทศงาน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2535
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2535
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเยี่ยมของเกษตรตำบล ศึกษาเฉพาะกรณีในภาคกลาง ตะวันออก และภาคตะวันตก
กรมส่งเสริมการเกษตร
2535
การเยี่ยมของเกษตรตำบล : ศึกษาเฉพาะกรณีในภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก การยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ต่างประเทศในภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคตะวันตก การประเมินลักษณะเชื้อพันธุกรรมข้าวในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ปี 2555 การประเมินลักษณะเชื้อพันธุกรรมข้าวในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก ปี 2551 การประเมินลักษณะเชื้อพันธุกรรมข้าวในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ปี 2553 การศึกษาสภาวะการเพาะปลูกข้าวนาปรังในเขตภาคกลางและภาคตะวันตก การใช้เทคโนโลยีการปลูกงาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันตก ปี 2538 สภาพการใช้สื่อของเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลในภาคตะวันตก การศึกษาการใช้เอกสารเผยแพร่การเกษตรระบบ AGDEX ของเกษตรตำบลในภาคตะวันตก รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพข้าวเปลือกนาปรังในภาคกลางและภาคตะวันตก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก