สืบค้นงานวิจัย
การประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะโครงร่าง ในโคนมลูกผสมโฮลสไตน์ที่สัมพันธ์กับลักษณะปริมาณน้ำนม
วุฒิไกร บุญคุ้ม - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะโครงร่าง ในโคนมลูกผสมโฮลสไตน์ที่สัมพันธ์กับลักษณะปริมาณน้ำนม
ชื่อเรื่อง (EN): The estimation of genetic parameters for type traits in crossbred Holstein dairy cattle according to milk yield trait
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วุฒิไกร บุญคุ้ม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Wuttigrai Boonkum
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ข้อมูลลักษณะโครงร่างและน้ำนมจากโคนมลูกผสมโฮลสไตน์ของสถานีทดลองและฝึกอบรมเกษตรกรรม จังหวัดร้อยเอ็ด คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 124 ตัวถูกใช้ในการศึกษาครั้งนี้ข้อมูลลักษณะโครงร่าง 10 ลักษณะ ได้แก่ ความสูง ความลึกลำตัว ความกว้างสะโพก ความกว้างเต้านม ความสูงเต้านม ความยาวหัวนม มุมสะโพก ความลึกเต้านม การจัดวางขาหลัง มุมกีบ ถูกแปลงให้อยู่ในรูปคะแนนในระบบ score 9 ทำการประมาณ ค่าองค์ประกอบความแปรปรวนด้วยเทคนิค EM-REML ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าลักษณะโครงร่างของร่างกาย ที่อาจแสดงถึงการให้ผลผลิตน้ำนมยังไม่ดีเท่าที่ควร เช่น ความกว้างของเต้านมด้านหลัง (RUW) และความสูงของเต้านม ด้านหลัง (RUH) ค่าอัตราพันธุกรรมของลักษณะโครงร่างมีค่าอยู่ในช่วง 0.07-0.60 อย่างไรก็ตามจากค่าดัชนีโครงร่าง และลักษณะการให้น้ำนมแสดงให้เห็นการคัดเลือกโคนมที่มีลักษณะโครงร่างของร่างกายที่ดีร่วมกับสามารถให้ผลผลิตน้ำนมสูงมีความเป็นไปได้
บทคัดย่อ (EN): Body type traits and milk yield gathering from crossbred Holstein dairy cattle (124 heads) from the Roi-Et agricultural research and training centre, Faculty of Agriculture, Khon Kaen University were used in this study. Type traits were stature, body depth, rump angle, rump width, rear legs set, foot angle, teat length, udder depth, rear udder height, and rear udder width transformed using the 9 scores system. Variance components were estimated using EM-REML technique. The results showed that rear udder height, and rear udder width associated with low milk yield in crossbred Holsteins. The estimated heritabilities were ranged 0.07 to 0.60 for each type traits. Consideration the type-milk index (TMI) indicated that selection for good type-traits and high milk yield is possible.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=871.pdf&id=754&keeptrack=10
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะโครงร่าง ในโคนมลูกผสมโฮลสไตน์ที่สัมพันธ์กับลักษณะปริมาณน้ำนม
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2555
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลกระทบของอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อมต่อค่าแนวโน้มทางพันธุกรรมสำหรับลักษณะการให้ผลผลิตน้ำนมของโคนมลูกผสมโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยนในภาคตะวันตกของประเทศไทย การศึกษาหาเครื่องหมายพันธุกรรมที่สัมพันธ์กับ QTL ที่ควบคุม ลักษณะปริมาณน้ำนมในโคนมลูกผสมไทย-โฮลสไตน์ การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างปริมาณเซ็ลล์โซมาติกและลักษณะสมดุลพลังงานเป็นลบในโคนมลูกผสมโฮลสไตน์ ภายใต้สภาพอากาศร้อนชื้น สหสัมพันธ์ระหว่างลักษณะปรากฏและสหสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าการผสมพันธุ์ของลักษณะปริมาณน้ำนมของประชากรโคนมในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ปัจจัยที่มีอิทธิพลและความเป็นไปได้ในการคัดเลือกพันธุ์เพื่อลดจำนวนเซลล์โซมาติกในน้ำนมของโคนมที่เลี้ยงดูในภาคกลางของประเทศไทย การศึกษาลักษณะโครงร่างของโคนมทนร้อนที่สัมพันธ์กับการให้ผลผลิตและองค์ประกอบน้ำนม การใช้รูปแบบยีนที่เกี่ยวข้องกับผลผลิตน้ำนมและความสมบูรณ์พันธุ์ในโคนมลูกผสมโฮลสไตน์เป็นปัจจัยในการประมาณค่าการผสมพันธุ์ ความสัมพันธ์ของค่า Somatic Cell Count กับปริมาณน้ำนม ในโคนมลูกผสมไทย-โฮลสไตน์ ปริมาณผลผลิตน้ำนมและความสมบูรณ์พันธุ์ของโคนมลูกผสมโฮลสไตน์ฟรีเชียน 75% (TMZ) ภายใต้สภาพการเลี้ยงของเกษตกร การประเมินพันธุกรรมความคงทนของการให้น้ำนมในโคนมลูกผสมโฮลสไตน์-ฟรีเชียนที่ให้ลูกครั้งแรกโดยใช้โมเดลรีเกรซชันสุ่ม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก