สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชที่มีศักยภาพในภาคใต้ตอนล่าง
จิระ สุวรรณประเสริฐ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชที่มีศักยภาพในภาคใต้ตอนล่าง
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Production of Potential Crops in Lower Southern Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จิระ สุวรรณประเสริฐ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: จิระ สุวรรณประเสริฐ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยนี้เป็นการรวมเอา 3 กิจกรรมวิจัยเกี่ยวกับพืชที่มีศักยภาพในการผลิตและการตลาดในภาคใต้ตอนล่างที่จำเป็นต้องดำเนินการในช่วงปีงบประมาณ 2553 เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องกับโครงการที่ต้องสิ้นสุดลงในปีงบประมาณ 2552 เพื่อจะให้ได้ข้อมูลผลการทดลองที่มากเพียงพอสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่ออกสู่เกษตรกรและการจะดำเนินการต่อเนื่องในโครงการวิจัยใหม่ที่จะเริ่มต้นในปีงบประมาณ 2554 ประกอบด้วย 4 กิจกรรมคือ กิจกรรมที่ 1 การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ถั่วหรั่งอายุสั้น ได้ทำการเปรียบเทียบพันธุ์ในไร่เกษตรกรเพิ่มเติมอีก 12 แปลง ผลการดำเนินการพบว่าในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของทุกพันธุ์ ถั่วหรั่งอายุ 85 วัน พันธุ์ TVsu 86 TVsu 89 และพันธุ์อายุ 120 วัน สงขลา 1 ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ยใกล้เคียงกันคือ 653.9 663.2 และ 639.6 กก./ไร่ ตามลำดับ แต่ในสภาพแวดล้อมที่มีฝนทิ้งช่วงและมีโรคใบไหม้เกิดขึ้นในช่วงหลังของการทดลอง พบว่าพันธุ์ TVsu 89 สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้สูงกว่าพันธุ์ TVsu 86 และพันธุ์สงขลา 1 ในด้านรสชาติการบริโภคก็พบว่าเกษตรกรผู้ร่วมดำเนินการชอบพันธุ์ TVsu 89 มากที่สุด ดังนั้น ถั่วหรั่งอายุสั้นพันธุ์ TVsu 89 จึงเป็นพันธุ์อายุสั้นที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเผยแพร่สู่เกษตรกร กิจกรรมที่ 2 การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมเดี่ยวเพื่อส่งเสริมการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรภาคใต้ตอนล่าง มีการดำเนินการ 2 ในหัวข้อคือ การคัดสายพันธุ์พ่อแม่ข้าวโพดหวานลูกผสมให้บริสุทธิ์ และการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมเดี่ยวให้ได้ผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์สูงสุด ทั้งนี้ เนื่องจากการศึกษาที่ผ่านมาในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมภาคใต้พบว่ามีพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพในการบริโภคดี 3 พันธุ์ ได้แก่ ฉลุง 081740 ฉลุง 083640 และฉลุง 083856 ซึ่งทั้ง 3 พันธุ์ได้มาจากการจัดคู่ผสมระหว่างสายพันธุ์แท้ CLei 0817 CLei 0836 CLei 0838 CLei 0840 และ CLei 0856 โดยในการคัดเลือกสายพันธุ์พ่อแม่ให้บริสุทธิ์ได้ทำการปลูกคัดเลือกสายพันธุ์เหล่านี้ในรุ่น S6 โดยปลูกแบบฝักต่อแถว คัดทิ้งแถวที่มีลักษณะผิดไปจากลักษณะประจำสายพันธุ์แล้วทำการผสมตัวเองของต้นในแถวที่คัดเลือกไว้ได้เป็นเมล็ดรุ่น S7 จำนวน 8.20 กก. 7.75 กก. 6.68 กก. และ 6.32 กก. ตามลำดับ ส่วนในการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสม (F1) สามารถผลิตเมล็ดลูกผสมพันธุ์ฉลุง 081740 ฉลุง 083640 และฉลุง 083856 ได้จำนวน 18 กก. 21 กก. และ 22 กก. ตามลำดับ ซึ่งเมล็ดพันธุ์เหล่านี้จะได้นำไปใช้ในการทดสอบการให้ผลผลิตในพื้นที่เกษตรกรภาคใต้ตอนล่าง การทดสอบในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ และนำไปใช้ในการผลิตจริงในโครงการฟาร์มตัวอย่างจังหวัดสงขลาและจังหวัดปัตตานีต่อไป กิจกรรมที่ 3 การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตขมิ้นเพื่อลดความเสียหายจากแมลงวันศัตรูขมิ้น ทั้งนี้เนื่องจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าในการปลูกขมิ้นของเกษตรกรมีแมลงศัตรูขมิ้นชนิดใหม่เข้าทำลายและทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อมีการเข้าทำลายร่วมกับการระบาดของโรคขมิ้น โดยในขั้นต้นจำแนกได้ว่าเป็นแมลงวันใน Family Diptera โดยจัดอยู่ในสกุล Micropezidae จึงได้ทำการศึกษาสำรวจประเมินประสิทธิภาพศัตรูธรรมชาติของแมลงชนิดนี้ในแหล่งปลูกจังหวัดพัทลุงและจังหวัดตรัง พบมีแตนเบียนระยะดักแด้จำนวน 7 แปลงจากการสำรวจทั้งหมด 81 แปลง แต่ยังไม่พบแมลงศัตรูธรรมชาติชนิดอื่น ๆ โดยแตนเบียนชนิดนี้มีความว่องไวสูง เมื่อออกจากดักแด้จะผสมพันธุ์ทันที และเพศเมียสามารถรับการผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง ทำให้สามารถผลิตและวางไข่เพิ่มปริมาณได้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นแตนเบียนชนิดนี้อาจนำมาใช้ในการควบคุมแมลงวันขมิ้นได้ดี ซึ่งทั้งนี้จะต้องทำการศึกษาในรายละเอียดต่อไป และในกิจกรรมนี้ได้ศึกษาถึงแนวทางการใช้สารเคมี สารชีวภาพ และน้ำหมักสมุนไพรเพื่อควบคุมและป้องกันกำจัดแมลงวันคล้ายมดศัตรูขมิ้นนี้ด้วย โดยมีกรรมวิธีประกอบด้วยการใช้สาร fipronil อัตรา 200 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้สาร imidacloprid อัตรา 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้สาร carbofuran อัตรา 5 กรัมต่อกอ ใช้ Basillus thuringiensis อัตรา 80 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้น้ำหมักสมุนไพร (สะเดา ตะไคร้หอม หางไหล และหนอนตาหยาก) อัตรา 500 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร และวิธีการควบคุมคือไม่ใช้สารใด ๆ เลย พบว่าไม่พบความเสียหายของผลผลิตขมิ้นจากการเข้าทำลายของแมลงชนิดนี้เมื่อใช้สาร fipronil และ imidaclopid แต่ยังคงต้องมีการศึกษายืนยันเพิ่มเติมอีกเนื่องจากมีหลายปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบ กิจกรรมที่ 4 การวิจัยและพัฒนาอ้อยอาหารสัตว์เป็นทางเลือกใหม่ในระบบเกษตรภาคใต้ตอนล่าง ได้ดำเนินการศึกษาข้อมูลการให้ผลผลิตในปี 2553 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อให้ได้ข้อมูลการให้ผลผลิตต้นสดในระยะยาวของอ้อยอาหารสัตว์โคลนพันธุ์เบอร์ 1 (F 166 x G) และโคลนพันธุ์เบอร์ 6 (Phil 58-260 x K 84-200) สำหรับการขอเป็นพันธุ์แนะนำเพื่อการเผยแพร่ออกสู่เกษตรกร พบว่าแปลงที่จังหวัดพัทลุงทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตต้นสดรวม 3 ครั้งในระยะเวลา 10.5 เดือน โคลนพันธุ์เบอร์ 6 ให้ผลผลิตสูงกว่าโคลนพันธุ์เบอร์ 1 อย่างแตกต่างทางสถิติในการเก็บเกี่ยวครั้งที่ 1 และยังแสดงถึงแนวโน้มการให้ผลผลิตที่สูงกว่าในการเก็บเกี่ยวครั้งที่ 2 และ 3 ด้วย โดยโคลนพันธุ์เบอร์ 6 ให้ผลผลิตรวม 12,345 กก./ไร่ ขณะที่โคลนพันธุ์เบอร์ 1 ให้ผลผลิตรวม 8,749 กก./ไร่ สำหรับแปลงที่จังหวัดสงขลา ทำการเก็บเกี่ยว 4 ครั้งในระยะเวลา 12.5 เดือน พบว่าโคลนพันธุ์เบอร์ 6 ให้ผลผลิตสูงกว่าโคลนพันธุ์เบอร์ 1 ในทุกครั้งของการเก็บเกี่ยว โดยให้ผลผลิตรวม 16,276 กก./ไร่ ในขณะที่โคลนพันธุ์เบอร์ 1 ให้ผลผลิตรวม 9,745 กก./ไร่ และพบว่าผลผลิตเฉลี่ยต่อเดือนของอ้อยอาหารสัตว์ทั้ง 2 โคลนพันธุ์ในปีที่ 3 มีค่าลดลงเมื่อเทียบกับช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ผลที่ได้ทำให้มั่นใจได้ว่าอ้อยอาหารสัตว์โคลนพันธุ์เบอร์ 6 เป็นโคลนพันธุ์ดีเด่นที่มีความเหมาะสมมากกว่าสำหรับการเผยแพร่ออกสู่เกษตรกรต่อไป
บทคัดย่อ (EN): This project consists of 4 activities that prepare for connection with the research plan in the next 5 years and the activities that have to extend one year more before release these technologies to the famer. The first activity was research and development on early maturity bambara groundnut varieties. The early maturity bambara groundnut variety TVsu 86 and TVsu 89 were compared with Songkhla 1 variety. Only 11 from 12 sites could be harvested. Result from 3 good environment sites revealed that TVsu 86, TVsu 89 and Songkhla 1 yielded 653.9 kg./rai, 663.2 kg./rai and 639.6 kg./rai of non statistical significant difference fresh pod yield, respectively. In 5 locations that dry spell occurred from 21st to 60th day after emergence, vegetative and reproductive growth of early maturity varieties were highly affected. But the 120-day-maturity variety Songkhla 1, could yield better after received rainfall again. In this condition TVsu 89 gave better yield than TVsu 86. One location that leaf blight disease caused a serious problem. Songkhla 1 was effected more than early maturity varieties. Because of the occurrence was on the long reproductive stage. In the other 2 locations that got an unsuitable condition, TVsu 89 was the best yielding variety. And farmer preference score pointed TVsu 89 was better than TVsu 86. So, from all results TVsu 89 is the candidate variety for extend to the famer soon. The second activity was sweet corn hybrid seed production to promote sweet corn production in agricultural system of the lower southern Thailand. Two experiments were conducted, inbred parents purification and hybrid seed production. In inbred parents purification, high pure inbred seed were obtained with the quantity 8.20, 7.75, 6.86, 6.32 and 8.75 kilograms of CLei 0817, CLei 0836, CLei 0838, CLei 0840 and CLei 0856, respectively. In hybrid seed production, male parent and female parent were planted using 2:4 ratio. That could produce certain quantity of hybrid seed for Chalung 081740, Chalung 083640 and Chalung 083856 varieties. Their yielded were 18, 21 and 22 kilograms, respectively. These sweet corn hybrid seed will prepare to test their yield potential in farm trial of sweet corn production in agricultural system of the lower southern Thailand and in other regions. Some of hybrid seed will use to promote sweet corn production in the royal demonstrated farm project of Songkhla and Pattani provinces. The third activity was the study on yield loss from rhizome fly in turmeric (Curcuma longa). In Patthalung and Trang province, the mainly plantations of turmeric have been in serious damage situation, that attacked by the fly and also associated with fungus disease (Fusarium and Rhizoctonia). The insect pest, that attacked turmeric rhizome is specie of fly in Family Micropezidae, Mimegralla sp. and common name is “rhizomes fly”. For study on some natural enemy of rhizome fly ( Mimegralla sp.) and its effectiveness . The survey on pupa parasite of rhizome fly in Patthalung province from 48 turmeric plantations, 6 locations had been found in Srinakarin and Kongrha. And from 33 plantations in Trang, only one location in Nayoung was found. In laboratory, the endoparasite of rhizome fly are undescribed genus of Diapriidae, (Hymenoptera), body dark-brown, length 1.5 mm in female but smaller in male, there are 16 segment antenna which differences in the structure of male and female that places between compound eye. Wings slightly transparency. The female was found to parasitize the rhizome fly pupa. The progeny that developed inside the pupa of rhizome fly (12-20 individuals from single pupa) emerged after 13-18 days. The study on effective of some insecticides, Bio-Agent and fermented plant extracts for control insect pest of turmeric (Mimegralla sp.). The experimental in randomize complete block design of 6 treatments in 4 replications, which each compounds are mix in water 20 L at rate such as, fipronil at 200 ml., imidacloprid at 40 ml, Fermented plant extract 500 ml., Bacillus thuringiensis 80 g. , carbofuran at 5 g/plants and water for a control treatment. The result showed that the every mixtures are non significant in weight of yield compared to control. Carbofuran showed significant in weight of yield compare to fipronil, Bacillus thuringiensis and fermented plant extract, but non significant when compare to imidacloprid. The last activity was research and development on forage cane for a new alternative roughage in the lower southern Thailand. This activity was allowed 1 year extended from the previous for long term forage cane data collection. Comparing of fresh weight yield between clone No.6 (Phil 58-260 x K 84-200) and clone No.1 (F 166 x G) in the 3rd year was done. At Phattalung province, 3 times harvesting in 10.5 months yielded a statistical significant difference between clone No.1 and No.6. Clone No.6 gave 12,345 kg./rai while 8,749 kg./rai from clone No.1. Four times harvesting in 12.5 months gave the same yielding pattern at Songkhla province. Total fresh weight of clone No.6 was 16,276 kg./rai, and 9,745 kg./rai from clone No.1. Then, the results from first 2-year-period and this year can point out that the forage cane clone No.6 is more suitable to release as a new alternative variety for roughage production in the lower Southern Thailland.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชที่มีศักยภาพในภาคใต้ตอนล่าง
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตสะตอในภาคใต้ตอนล่าง โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริกชีในภาคใต้ตอนล่าง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเตยหนามและพืชสกุลเตยในภาคใต้ตอนล่าง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตส้มโอหอมหาดใหญ่ในภาคใต้ตอนล่าง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสายพันธุ์เตยหนามและพืชสกุลเตยในภาคใต้ตอนล่าง แผนงานวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง แผนงานวิจัย การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โครงการวิจัยการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตไม้ผลเศรษฐกิจที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก