สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เปิดแล้วกรีดในจังหวัดศรีสะเกษ
ธงชัย รูปสวย - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เปิดแล้วกรีดในจังหวัดศรีสะเกษ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธงชัย รูปสวย
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เปิดกรีดแล้วในจังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจบางประการของเกษตร สภาพการผลิตและปัญหาอุปสรรคในการผลิตยางพาราของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่เปิดกรีดยางแล้วในปี 2541 ใน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกันทรลักษ์ และอำเภอขุนหาญ รวม 664 ราย สุ่มตัวอย่างโดยวิธี MULTISTAGE RANDOM SAMPLING สุ่มอำเภอและตำบลโดยวิธี PURPOSIVE SAMPLING สุ่มเกษตรกร โดยวิธี SIMPLE RANDOM SAMPLING เกษตรกรตัวอย่าง 250 ราย คิดเป็นร้อยละ 38 ของประชากร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยเครื่อง คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า CHI-SQUARE TEST ผลการศึกษาสภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจบางประการของเกษตรกรพบว่า เกษตรกรตัวอย่างร้อยละ 84 เป็นชาย อายุ เฉลี่ย 47.9 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 86.4 มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.9 ราย มีแรงงานในครัวเรือนเพื่อการเกษตร เฉลี่ย 3.6 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 38.2 ไร่/ครอบครัว ปลูกยางพาราเฉลี่ย ครอบครัวละ 15.2 ไร่ ในปี 2541 มีรายได้/ครอบครัว 75,651.1 บาท เป็นรายได้จากการเกษตร เฉลี่ย 70.894.3 บาท สำหรับผู้มีรายได้น้อยนอกจากภาคเกษตรมีจำนวนร้อยละ 25.6 มีรายได้เฉลี่ย 18,581 บาท สภาพการผลิตยางพารา พบว่า เกษตรกรร้อยละ 91.2 ไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการปลูกยางพารามาก่อน เกษตรกรได้รับความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางพาราจากการฝึกอบรม และจากการแนะนำของเจ้าหน้าที่คิดเป็นร้อยละ 91.2 และ 84.8 ตามลำดับ สภาพพื้นที่ปลูกยางพาราส่วนใหญ่เป็นที่ราบ พันธุ์ยางที่ปลูกเกือบทั้งหมดเป็นพันธุ์ RRIM 600 ปลูกระยะ 2.5 X 7 เมตร และ 3 X 6 เมตร การปฏิบัติดูแลสวนยางหลังการเปิดกรีด เกษตรกรมีการกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยบำรุงสวนยางตามคำแนะนำทางวิชาการเป็นส่วนใหญ่ การกรีดยางของเกษตรกรส่วนใหญ่เปิดกรีดเป็นปีที่ 4 พื้นที่เปิดกรีดยางเฉลี่ย 13.4 ไร่/ราย จำนวนต้นยางที่เปิดกรีดได้เฉลี่ย 84 ต้น/ไร่ เกษตรกรร้อยละ 45.6 เปิดกรีดยางขณะที่ต้นยางยังไม่ได้ขนาด ใช้ระบบกรีดยางแบบกรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน ร้อยละ 44.8 การทำยางแผ่น เกษตรกรส่วนใหญ่มีอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการทำยางแผ่นครบ น้ำที่ใช้ในการทำยางแผ่นส่วนใหญ่ใช้น้ำจากบ่อบาดาล และบ่อน้ำตื้น ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติส่วนใหญ่เป็นไปตามคำแนะนำทางวิชาการผลิต ผลผลิตในปี 2541 เป็นยางแผ่นดิบเฉลี่ย 250.63 กก.ต่อไร่ เป็นยางคุณภาพชั้น 1-3 สำหรับประเด็นทางวิชาการที่สำคัญซึ่งเกษตรกรบางรายยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง ได้แก่ การใส่ปุ๋ยไม่ถูกต้อง การเปิดกรีดยางขณะที่ต้นยางยังโตไม่ได้ขนาด การใช้ระบบกรีดยางที่ไม่เหมาะสม และการใช้ส่วนผสมในการทำยางแผ่นที่ไม่ถูกต้อง ปัญหาอุปสรรคในการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่สำคัญ ได้แก่ การขาดความรู้ประสบการณ์ การกรีดยางและการทำยางแผ่นคุณภาพดี การขาดแคลนแรงงาน ขาดแคลนเงินทุน ไม่มีแหล่งพันธุ์ และแหล่งรับซื้อผลผลิตในพื้นที่มีน้อย จากการทดสอบสมมติฐาน ระบบกรีดยางพาราของเกษตรกรมีความสัมพันธ์ กับการได้รับการฝึกอบรมเรื่องการกรีดยางของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง การใส่ปุ๋ยบำรุงสวนยางพาราระยะหลังการเปิดกรีดของเกษตรกร มีความสัมพันธ์กับรายได้ต่อครอบครัวและขนาดพื้นที่ทำการเกษตรต่อครอบครัวของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ดังนั้น แนวทางในการส่งเสริมการผลิตยางพาราในจังหวัดศรีสะเกษ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงควรสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีแก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้เกษตรกรเกิดการยอมรับและปฏิบัติตามคำแนะนำทางวิชาการเป็นสำคัญ ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการสร้างแปลงพันธุ์ผลิตพันธุ์ยางจำหน่ายและมีการจัดตั้งตลาดกลางหรือตลาดประมูลราคายางในท้องถิ่น เร่งรัดการพัฒนาฝีมือแรงงานรับจ้างภาคการเกษตรโดยเฉพาะแรงงานกรีดยาง เพื่อจะรองรับการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอนาคต และควรมีการศึกษาเรื่องต้นทุนการผลิตยางพาราและจุดคุ้มทุนในการปลูกยางพาราของเกษตรกรและรูปแบบการพัฒนาการตลาดยางพารา
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2541
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดศรีสะเกษ
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เปิดแล้วกรีดในจังหวัดศรีสะเกษ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2545
การศึกษาสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เริ่มเปิดกรีด จังหวัดอุดรธานี สภาพการผลิตยางพาราที่เปิดกรีดแล้วของเกษตรกรตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกร อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เปิดกรีดยางแล้วในปี 2540 สภาพการผลิตยางพาราและความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช สภาพการกรีดยางพาราของเกษตรกรจังหวัดยโสธร สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรบ้านแสนกางตำบลพระแก้ว อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ สภาพการบำรุงรักษาสวนยางพาราปลูกใหม่ของเกษตรกร ตำบลเขิน อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก