สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกสายพันธุ์ต้านทานโรคใบไหม้แผลใหญ่ในข้าวโพดหวานโดยวิธีการผสมกลับร่วมกับการใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก ระยะที่ 4
วราภรณ์ แสงทอง - สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกสายพันธุ์ต้านทานโรคใบไหม้แผลใหญ่ในข้าวโพดหวานโดยวิธีการผสมกลับร่วมกับการใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก ระยะที่ 4
ชื่อเรื่อง (EN): Backcross breeding by using Molecular Marker Assisted Selection for resistance to Northern Corn Leaf Blight (Exserohilum turcicum) in sweet corn lines: Phase IV
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วราภรณ์ แสงทอง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): N/A
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: N/A
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): N/A
คำสำคัญ: การปรับปรุงพันธุ์
คำสำคัญ (EN): develop
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัย ปีที่ 4 ระยะที่ 4 (NCLB IV) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกสายพันธุ์คุณภาพสูง และต้านทาน โรคใบไหม้แผลใหญ่ในข้าวโพดหวาน ด้วยวิธีการผสมกลับ (backcross) ร่วมกับการปลูกเชื้อสาเหตุ Exserohilum turcicum (ดิเรก และคณะ, 2552) โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือกสายพันธุ์คุณภาพสูงและต้านทานโรค จากการผสมกลับ (backcross) และคัดเลือกโมเลกุลเครื่องหมายที่ครอบคลุมยีนต้านทาน (flaking markers) โดยเริ่มจากการสร้างพันธุ์ข้าวโพดหวานพันธุ์ลูกผสม (F1) ที่มีคุณภาพและต้านทานโรค โดยการผสมตรงระหว่าง สายพันธุ์ชั่วที่ 6 (S6) คุณภาพสูงอ่อนแอต่อโรค (S) NT58WS6 กับสายพันธุ์ต้านทานโรค (R) ChallengerS6 และ Sugar73S6 เพื่อให้ได้พันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 1 (F1 Seed) จากนั้นทำการผสมแบบสุ่ม (random mating) เพื่อสร้างประชากรชั่วที่ 2 (F2 population) เลือกฝักจากประชากรชั่วที่ 2 (F2) 100-150 สายพันธุ์ นำไปปลูกพร้อมกับการปลูกเชื้อสาเหตุ ศึกษาความเป็นไปได้ในการหาเครื่องหมายโมเลกุลที่ครอบคลุมตำแหน่งยีนต้านทานโรคใบไหม้ โดยสกัด DNA และใช้ SSR markers ที่ครอบคลุมตำแหน่งยีน Ht1 จากข้อมูลชีวสารสนเทศ (MaizeGDB) ทดสอบในห้องปฏิบัติการ เพื่อยืนยันลักษณะต้านทาน (resistance) และ อ่อนแอ (susceptible) ควบคู่ไปกับการปลูกเชื้อ E. turcicum จาก 4 แหล่งในแปลงทดลอง ออกแบบ SSR primers ให้สามารถจับกับยีน (target markers) หรือที่อยู่ใกล้กับยีนมากที่สุด (flanking markers) เพื่อพัฒนาเป็นโมเลกุลเครื่องหมายที่เหมาะสมเฉพาะเจาะจงและยีนยันผลการคัดเลือกเครื่องหมายโมเลกุล (validation) เพื่อใช้ในโครงการปรับปรุงพันธุ์สำหรับการคัดเลือกพันธุ์และสายพันธุ์ต้านทานโรคใบไหม้ นำสายพันธุ์ข้าวโพดหวาน ChallengerS6 ต้านทานโรคที่คัดเลือกไว้ไปปลูก เพื่อทำการผสมพันธุ์แบบผสมกลับไปหาสายพันธุ์คุณภาพสูง NT58WS6 อ่อนแอต่อโรค 2-3 ครั้ง โดยใช้เทคนิคการปลูกเชื้อร่วมกับเครื่องหมายโมเลกุล จากนั้นนำสายพันธุ์ผสมกลับติดต่อกันชั่วที่ 2-3 (BC2-3) ที่มีคุณภาพสูงและต้านทานโรคใบไหม้แผลใหญ่ไปปลูกและผสมตัวเอง (self) เพื่อพัฒนาเป็นสายพันธุ์ พ่อแม่สำหรับการผลิตข้าวโพดหวานพันธุ์ลูกผสมต้านทานโรคใบไหม้แผลใหญ่ต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Objectives of the NCLB IV project are to develop high quality and resistant sweet corn lines by backcrossing and using molecular marker assisted selection together with NCLB (Exserohilum turcicum) disease inoculation. A2-3 backcross to recipient parent will be developed for selecting high quality sweet corn genetic background while flanking markers will be used for selecting resistant gene in derived lines from F1, F2 population and backcrossing (BC). The methodology begins with crossing between S6 high quality susceptible line (S) NT58WS6 with resistant line (R) ChallengerS6 and Sugar73S6 in order to develop the F1 hybrids. Follow by random mating to generate F2 population. Then select 100-150 F2 lines to grow on the disease inoculation nursery. Extract the DNAs and using flanking SSR target or close linked markers from Bioinformatics database (MaizeGDB) then design the SSR primers to cove with the Ht1 gene then test run on gel electrophoresis. The selected lines will be backcrossed to the high quality recipient parent 2-3 times (BC2-3). Then select disease resistant lines on inoculation nursery in assisted with the flanking SSR markers from laboratory as well as validate the relevant markers on public and private sweet corn lines/varieties. Eventually, the high quality and Northern corn leaf blight disease resistant lines are selected for self-pollination in order to further develop the parent lines for high quality and resistant sweet corn hybrids.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับชาติ:
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: N/A
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: N/A
เลขทะเบียนวิจัยกรม: N/A
ชื่อแหล่งทุน: N/A
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: N/A
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: N/A
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
เอกสารแนบ: https://zebra.nstda.or.th/vou/index.php?type_code=IM
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: N/A
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: N/A
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 0000
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกสายพันธุ์ต้านทานโรคใบไหม้แผลใหญ่ในข้าวโพดหวานโดยวิธีการผสมกลับร่วมกับการใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก ระยะที่ 4
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
2559
เอกสารแนบ 1
การคัดเลือกสายพันธุ์แท้ข้าวโพดหวานเพื่อสร้างประชากรต้านทานโรคใบไหม้แผลใหญ่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน โครงการปรับปรุงพันธุ์ทานตะวัน วันเก็บเกี่ยวข้าวโพดเทียนพันธุ์บ้านเกาะที่ให้คุณภาพฝักและเมล็ดพันธุ์สูงสุด การสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมในอ้อยเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ เทคนิคการเร่งอายุเมล็ดพันธุ์กับการประเมินอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน โครงการปรับปรุงพันธุ์สุกรลูกผสม (พันธุ์พื้นเมือง) เพื่อให้เหมาะสมกับการเลี้ยงบนพื้นที่สูง การพัฒนาระบบปฏิบัติการตรวจสอบจีโนไทป์ข้าวแบบประสิทธิภาพสูงสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ข้าว (Rice Breeding Platform) การค้นหาตำแหน่งยีนโดย GWAS และ การประเมินคุณค่าและศักยภาพทางพันธุกรรมของข้าวพันธุ์ปรับปรุ โครงการปรับปรุงพันธุ์ไก่กระดูกดำพันธุ์แท้รุ่นที่ 2 ที่มีสมรรถภาพการผลิตที่ดีสำหรับพื้นที่ 3 ระดับความสูง การประเมินเชื้อพันธุกรรมอ้อยป่าเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยพลังงาน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก