สืบค้นงานวิจัย
ชนิดของไขมันที่เหมาะสมในอาหารปลาหมอ
สุดารัตน์ บวรศุภกิจกุล - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: ชนิดของไขมันที่เหมาะสมในอาหารปลาหมอ
ชื่อเรื่อง (EN): Suitable Lipid Source in Climbing Perch, Anabas testudineus (BLOCH) Feed
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุดารัตน์ บวรศุภกิจกุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Climbing perch, Anabas testudineus (BLOCH), lipid, diet
บทคัดย่อ: ปลาหมอน้ำหนักตัวเฉลี่ย2.31กรัม เลี้ยงในตู้กระจกขนาด 45x90x45 เซนติเมตร จำนวน 20 ตู้ๆ ละ 30 ตัว (ระบบน้ำหมุนเวียน) ด้วยอาหาร 5 สูตร (โปรตีนประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ พลังงานรวมประมาณ 460 กิโลแคลอรี/100 กรัมอาหาร) ที่มีชนิดของไขมันแตกต่างกัน (น้ำมันหมู น้ำมันปลาทูน่า น้ำมันมะพร้าว น้ำมันข้าวโพด และน้ำมันถั่วเหลือง ) ให้อาหารกินจนอิ่ม วันละ 2 ครั้ง เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าการเจริญเติบโต (น้ำหนักสุดท้าย เปอร์เซ็นต์น้ำหนักเพิ่ม อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ และค่า condition factor) อัตราการกินอาหาร ไขมันที่ปลากิน ไขมันที่สะสมในตัวปลา พลังงานที่ปลากิน พลังงานที่สะสมในตัวปลา hepatosomatic index อัตราแลกเนื้อ และอัตรารอด มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) องค์ประกอบของกรดไขมันในตัวปลาและตับปลาเมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบกรดไขมันชนิด Linoleic (18:2 n-6) และชนิด Linolenic (18:3 n-3) สูงสุดในปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรน้ำมันถั่วเหลือง และพบกรดไขมัน ชนิด EPA (20:5 n-3) และ DHA (22:6 n-3) สูงสุดในปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรน้ำมันปลาทูน่า จากผลการทดลองครั้งนี้สรุปได้ว่า ไขมันทั้ง 5 ชนิด สามารถใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสำหรับปลาหมอได้โดยการเจริญเติบโตและการกินอาหารไม่แตกต่างกัน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ชนิดของไขมันที่เหมาะสมในอาหารปลาหมอ
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2551
เอกสารแนบ 1
ชนิดของคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมในอาหารปลาหมอ ระดับคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมในอาหารปลาหมอ ชนิดและระดับคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอ ผลของระดับน้ำมันปลาทะเลในอาหาร และช่วงระยะเวลาการให้อาหาร ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต และส่วนประกอบของกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 ในเนื้อไก่พื้นเมือง โครงการศึกษาและการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอาหารปลาหมอไทย การศึกษาผลของระดับและประเภทของไขมันในอาหารต่อการ เจริญเติบโตและคุณภาพ ของเนื้อปลาโมง (Pangasuis bocourti) และปลาโมงลูกผสม อัตราส่วนระหว่างกรดไขมันชนิดโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 ในอาหาร ที่มีผลต่อการปรับปรุงส่วนประกอบของกรดไขมันในไข่และเนื้อไก่ ผลของระดับไขมันในอาหารต่อการเจริญเติบโต การใช้ประโยชน์จากอาหารและองค์ประกอบทางเคมีของปลาโมง ผลของมะละกอต่อภาวะไขมันคั่งสะสมในตับหนูที่ได้รับอาหารไขมันสูง การเสริมกากมะพร้าวสกัดน้ำมันในสูตรอาหารต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของปลาหมอ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก