สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีจัดการหลังการเก็บเกี่ยวลำไย
นายวิทยา อภัย - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีจัดการหลังการเก็บเกี่ยวลำไย
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Post-harvest Technology of Longan
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นายวิทยา อภัย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วิทยา อภัย
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ลำไยเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย แต่เก็บรักษาได้เพียง 2-3 วันเนื่องจากสีผิวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและเน่าเสีย การรมลำไยด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) สามารถยืดอายุการเก็บรักษาระหว่างส่งออกได้นาน 30-40 วัน แต่บ่อยครั้งที่พบปัญหาการตกค้างของ SO2 ในผลเกินค่ามาตรฐานกำหนดของสาธารณรัฐประชาชนจีนและมีบางประเทศไม่ยอมรับผลไม้ที่ผ่านการรมก๊าซ SO2 ทำให้เป็นข้อจำกัดในการส่งออกลำไยของไทย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 (สวพ.1) จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวลำไยเพื่อการส่งออกระหว่างปี 2554-2556 โดยวิจัยหาเทคโนโลยีใหม่ทดแทนการรมก๊าซ SO2 ผลการดำเนินงานได้วิจัยจนได้คำแนะนำลดการตกค้างของ SO2 เช่น ผลที่เปียกน้ำฝนควรแช่กรดเกลือ 1 เปอร์เซ็นต์ผสมโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ 5% นาน 5 นาที พบว่า การตกค้างของ SO2 ต่ำกว่าการรมก๊าซ SO2 ปกติ การวิจัยหาเทคโนโลยีทดแทนการรมก๊าซ SO2 เพื่อยืดอายุเก็บรักษาลำไย พบว่า การแช่ผลในกรดไฮโดรคลอริก 6.4% นาน 5 นาทีมีประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้เก็บรักษาลำไยที่ 2-5oซ และความชื้นสัมพัทธ์ 85-90%ได้นาน 35 วัน มีการตกค้างต่ำและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ผู้ประกอบการส่งออกและผู้บริโภคยอมรับร้อยละ 82 และ 80 ตามลำดับ คณะวิจัยจึงได้พัฒนาเครื่องต้นแบบแช่กรดไฮโดรคลอริกแทนแรงงานคนที่มีขีดความสามารถ 10 ตะกร้าพลาสติกต่อ 5 นาที ซึ่งผลงานวิจัยและพัฒนานี้ผู้ประกอบการส่งออกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการส่งออกลำไยได้ต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Longan is one of the important economic for export of Thailand but it is short shelf life by 2-3 days caused by pericarp browning and fruit rotting. Fruit fumigated with sulfur dioxide (SO2) could commercially extend shelf life during export for 30-40 days but it frequently detected SO2 residue problem over than limit standard in imported countries, i.e. P.R.China. Some restricted countries have not accepted fruit fumigated SO2 thus it limited contents of fresh Thai longan for export. Office of Agricultural Research and Development Region 1, Chiang Mai province conducted the research and development on postharvest management of longan for exporting from 2011-2013. Development on HCl as the new alternative to SO2 was investigated. The results found that some advices on decreasing SO2 residue in fruit flesh for export, i.e. fruit wetting from rain should be dipped in HCl 1% containing sodium metabisulfite 5% for 5 minutes. The results found that SO2 residue in fruit flesh was significantly less than the conventional method. The researches on the alternative to replace SO2 were studied. The results found that dipping in HCl 6.4% for 5 minutes showed the highest efficacy and prolonged shelf life for 35 days at 2-5oC and 85-90% RH. This treatment had low HCl residue in fruit flesh and thus safe for consumer. The exporter and consumer acceptances had 82 and 80%, respectively. Therefore, original dipping machine was developed in order to replace manual dipping. The capacity of this method was 10 baskets per 5 minutes/time and this could be greatly benefited for longan exporters in commercial scale.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีจัดการหลังการเก็บเกี่ยวลำไย
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2556
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาลำไย โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์ลำไย การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งขาว โครงการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีการรมผลลำไยสดด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โครงการวิจัยพัฒนาเครื่องอบแห้งลำไย แผนงานวิจัยและพัฒนาลำไย การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวของผลิตผลโครงการหลวง โครงการวิจัยทดสอบและพัฒนาเครื่องทอดสุญญากาศสำหรับเนื้อลำไย โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วแปยีให้เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก