สืบค้นงานวิจัย
คุณภาพซากและเนื้อของโคขาวลำพูนและโคลูกผสมบราห์มันที่เลี้ยงด้วยหญ้าแพงโกล่า
นิราภรณ์ ชัยวัง - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: คุณภาพซากและเนื้อของโคขาวลำพูนและโคลูกผสมบราห์มันที่เลี้ยงด้วยหญ้าแพงโกล่า
ชื่อเรื่อง (EN): Carcass and Beef Quality of White Lamphun and Brahman Crossbred Cattle fed with Pangola Grass
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นิราภรณ์ ชัยวัง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Niraporn Chaiwang
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองครั้งนี้ใช้โคขาวลำพูน และโคลูกผสมที่มีเลือดบราห์มัน 50% เพศผู้สายพันธุ์ละ 8 ตัว อายุเริ่มต้นเฉลี่ย 1 ปี 4 เดือน  และ 1 ปี 3 เดือน ตามลำดับ เลี้ยงขังคอกให้ได้กินหญ้าแพงโกล่าอายุประมาณ 40-50 วันแบบเต็มที่จนได้น้ำหนักเฉลี่ย 275-320 กิโลกรัม จึงทำการฆ่าและตัดแต่งซากทั้งแบบไทยและสากล ผลการศึกษาพบว่าคุณภาพซากไม่แตกต่างทางสถิติ (p>0.05) สำหรับการตัดแต่งซากแบบไทย เปอร์เซ็นต์เนื้อหางตะเข้และเสือร้องไห้ในโคขาวลำพูนสูงกว่าโคลูกผสมบราห์มัน (p<0.05) สำหรับคุณภาพเนื้อทางด้านความชื้น และปริมาณไตรกลีเซอร์ไรด์ในเนื้อโคขาวลำพูนต่ำกว่า (p<0.001) ส่วนปริมาณคอลลาเจนชนิดไม่ละลายน้ำและผลรวมคอลลาเจนในโคขาวลำพูนมีค่ามากกว่า (p<0.001) นอกจากนี้ยังพบว่าค่าความสูญเสียน้ำจากการต้มเนื้อของโคขาวลำพูนมีค่าต่ำกว่าโคลูกผสมบราห์มันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<0.05) จะเห็นได้ว่าการเลี้ยงโคด้วยหญ้าแพงโกล่าเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสายพันธุ์ของโคดังกล่าวไม่พบความแตกต่างของคุณภาพซากทางสถิติ (p>0.05) จึงเป็นแนวทางในการส่งเสริมการเลี้ยงโคพื้นเมืองให้แก่เกษตรกรได้
บทคัดย่อ (EN): This experiment was conducted by using male White Lamphun and 50% crossbred Brahman, 8 heads per group. The average initial age was 1 year 4 months and 1 year 3 months, respectively. They were fed ad libitum  with Pangola grass which were cut every 40-50 days. At the average weight of 275-320 kg, they were slaughtered and dressed in both Thai and USDA meat cutting styles. The result revealed that the carcass quality was not significantly different (p>0.05). For Thai style cutting, Semimembranosus and brisket percentage of White Lamphun were significantly higher than that of Brahman crossbred (p<0.05). The meat quality in terms of moisture percentage and triglyceride content of White Lamphun beef was lower (p<0.001) but the insoluble and total collagen content were higher (p<0.001) compared to Brahman crossbred. In addition, the boiling loss percentage of White Lamphun was lower than that of Brahman crossbred (p<0.05). In conclusion, the carcass quality was not significantly different (p>0.05) between cattle breeds fed with Pangola grass. Therefore, the promotion of rearing native cattle could be an alternative for farmers.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/246080/168227
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
คุณภาพซากและเนื้อของโคขาวลำพูนและโคลูกผสมบราห์มันที่เลี้ยงด้วยหญ้าแพงโกล่า
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2554
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
หญ้าแพงโกล่า การใช้หญ้าแพงโกล่าหมักเลี้ยงโคเนื้อ ค่าโภชนะที่ย่อยได้ของหญ้าแพงโกล่าคุณภาพต่ำในโคเนื้อลูกผสมบราห์มัน ค่าพลังงานใช้ประโยชน์ได้เพื่อการดำรงชีพของโคลูกผสมบราห์มัน ที่ได้รับหญ้าแพงโกล่า ผลของคุณภาพหญ้าแพงโกล่าแห้งต่อสมรรถนะการผลิตและลักษณะซากของโคลูกผสมบราห์มันอายุมาก 5.1สมรรถภาพการผลิตโคขาวลำพูนของกรมปศุสัตว์ในสภาพการเลี้ยงของฟาร์มเกษตรกรเครือข่าย การปรับปรุงพันธุ์หญ้าแพงโกล่าโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การขุนโคขาวลำพูนโดยเสริมอาหารข้นระดับต่างๆที่มีผลต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและคุณภาพซาก การศึกษาเปรียบเทียบการใช้หญ้าสดกับเปลือกสับปะรดเป็นอาหารโค ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อน้ำหนักหย่านมลูกโคบราห์มันในหน่วยงานของกรมปศุสัตว์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก