สืบค้นงานวิจัย
ผลิตภัณฑ์และคุณค่าทางโภชนาการที่ได้จากการแปรรูปสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ (Caulerpa racemosa)
วัฒนา วัฒนกุล, อุไรวรรณ วัฒนกุล, พีรพงษ์ พึ่งแย้ม - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ชื่อเรื่อง: ผลิตภัณฑ์และคุณค่าทางโภชนาการที่ได้จากการแปรรูปสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ (Caulerpa racemosa)
ชื่อเรื่อง (EN): Nutritional values and products derived from the processing of marine macroalgae (Caulerpa racemosa)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปสาหร่าย Caulerpa racemosa โดยวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ ได้แก่ ความชื้น โปรตีน ไขมัน เยื่อใย เถ้า คาร์โบไฮเดรต ปริมาณคลอโรฟิลล์ และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ผลการวิจัย พบว่า คุณค่าทางโภชนาการในสาหร่ายดังกล่าวต่อน้ำหนักฐานแห้งปริมาณ 100 กรัม มีปริมาณความชื้นร้อยละ 12.19 ปริมาณโปรตีนร้อยละ 17.58 ปริมาณไขมันร้อยละ 0.88 ปริมาณเถ้าร้อยละ 13.57 ปริมาณเยื่อใยร้อยละ 9.82 ปริมาณคาร์โบไฮเดรต มีค่าร้อยละ 45.96 สาหร่าย C. racemosa ให้ปริมาณสารสกัดและปริมาณพอลิแซคคาไรด์ เท่ากับร้อยละ 37.87 และ 16.12 ประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระ DPPH ในสาหร่ายสดและแห้งมีค่าแตกต่างกัน โดย มีค่า IC50 เท่ากับ 9.13 – 9.64 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ส่วนคลอโรฟิลล์เอ และคลอโรฟิลล์บี มีค่าอยู่ในช่วงระหว่าง 3,422.41 – 10,352.04 และ 1,149 – 17,299.80 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ข้าวพองสังข์หยดเสริมสาหร่าย ในแต่ละสูตรมีองค์ประกอบทางเคมีแตกต่างกัน โดยปริมาณเยื่อใย และฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระในผลิตภัณฑ์ที่ใช้สาหร่ายร้อยละ 3 มีค่าสูงที่สุด แต่ปริมาณคลอโรฟิลล์เอและบี ในสูตรที่ใช้สาหร่ายร้อยละ 5 มีค่าสูงที่สุด ทั้งนี้ สูตรข้าวพองที่มีใช้สาหร่ายร้อยละ 3 ได้รับค่าคะแนนความชอบรวมสูงที่สุด คุกกี้ข้าวตอกสังข์หยดที่ใส่สาหร่าย คุณค่าทางโภชนการ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ และบี สูงกว่าสูตรที่ไม่เสริมสาหร่าย และการเสริมสาหร่ายร้อยละ 5% ให้คุณค่าดีที่สุด แต่ผลการทดสอบความชอบรวมในสูตรที่ใช้สาหร่ายร้อยละ 3 มีคะแนนความชอบเฉลี่ยสูงสุด องค์ประกอบทางเคมีของผลิตภัณฑ์ซอสสาหร่ายรสซีฟู้ด ซอสสาหร่ายรสสุกี้ และซอสสาหร่ายรสบาร์บีคิว ได้แก่ ความชื้น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และเถ้า มีค่าอยู่ในช่วงร้อยละ 2.06-2.71, 5.16-6.26, 0.37-0.67, 77.01-83.33 และ 8.28-13.66 ส่วนฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระในซอสสาหร่ายรสบาร์บีคิวมีค่าดีที่สุด ผลิตภัณฑ์โจ๊กสาหร่ายขนนกกึ่งสำเร็จรูป ร้อยละ 10 ซึ่งเป็นสูตรที่ดีที่สุดมาวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี เปรียบเทียบกับสูตรที่ไม่มีสาหร่าย ผลการทดลองพบว่าสูตรที่ดีที่สุด มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะโปรตีน เถ้า คลอโรฟิลล์เอ และคลอโรฟิลล์บี ส่วนผลิตภัณฑ์สาหร่ายอบแห้งและสาหร่ายแผ่นทอดกรอบ ที่ผลิตได้มีปริมาณความชื้น โปรตีน ไขมัน เยื่อใย เถ้าและคาร์โบไฮเดรต อยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 5.60-7.05, 4.61-5.46, 0.64-32.35, 1.89-3.13, 0.84-13.93 และ 53.26-71.24 ตามลำดับ และมีคุณลักษณะตามข้อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสาหร่ายทะเลอบ ค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH ในสาหร่ายอบแห้งมีค่าดีกว่าสาหร่ายแผ่นทอดกรอบ
บทคัดย่อ (EN): This research aims to study nutritional values and radical scavenging activity of products derived from the processing of marine macroalgae, Caulerpa racemosa Nutritional values analyzed including moisture, protein, lipid, fiber, ash, carbohydrate, chlorophyll and radical scavenging activity. The results showed that algae, C. racemosa amount 100 grams dry weight had percentage of moisture, protein, lipid, ash, fiber and carbohydrate were 12.19, 17.58, 0.88, 13.57, 9.82 and 45.96, respectively. C. racemosa gave extracted quantity and polysaccharide yield amount of 37.87 and 16.12 percentage. Efficiency of radical scavenging activity by IC50 DPPH in fresh and dry algae were range of between 9.13–9.64 mg/ml. Chlorophyll a and b were value in a range between 3.42–10.35 and 1.15–17.29 grams per liter, respectively. Three formula of puffed Sangyod rice products add seaweed supplement have a different chemical composition. The amount of fiber and radical scavenging activity in products used 3 percentage of seaweed is the highest. But the amount of chlorophyll a and b in formula used 5 percentage of seaweed is the highest. Three percentage of seaweed in product like highest in sensory score. Popped Sangyod rice cookies mixed seaweed had a nutritionals, radical scavenging activity, chlorophyll a and b higher than control formula. Enhancing 5 percentage of seaweed showed the best value but the sensory score of the 3 percentage of seaweed have the highest average scores. The chemical composition of seafood, suki and barbeque sauce include moisture, protein, fat, carbohydrates and ash values ranged from 2.06-2.71, 5.16-6.26, 0.37-0.67, 8.28-13.66 and 77.01-83.33 percentages, respectively. The radical scavenging activity in barbeque sauce is the best. Product instant 10 percentages of seaweed porridge rice which is the best formula to analyzed proximate analysis compared with no seaweed. This product was high quality in protein, ash, chlorophyll a and b. Dried and crispy seaweed formula was accepted by panelist. Moisture, protein, fat, fiber, ash and carbohydrate were 5.60-7.05, 4.61-5.46, 0.64-32.35, 1.89-3.13, 0.84-13.93 and 53.26-71.24 percentage, respectively. The ability to against free radicals in dried seaweed is better than crispy seaweed.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลิตภัณฑ์และคุณค่าทางโภชนาการที่ได้จากการแปรรูปสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ (Caulerpa racemosa)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
30 กันยายน 2558
การวิเคราะห์ เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ แปรรูป และการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหารจากไหมป่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารขบเคี้ยวขึ้นรูปเสริมคุณค่าทางโภชนาการจากปลายข้าว การสร้างตู้บ่มลูกแป้งและการแปรรูปกัมมี่เยลลี่จากข้าวหมากผสมสมุนไพรเพื่อเป็นขนมเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและใช้เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบปลาเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและสารต้านอนุมูลอิสระ (ปีที่ 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบปลากากรำข้าวเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและสารต้านอนุมูลอิสระ การลดกลิ่นไม่พึงประสงค์และเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ถั่วหมักโดยการใช้ Bacillus subtilis เป็นกล้าเชื้อในการหมัก (ชื่อเดิม : คุณค่าทางโภชนาการและการลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ของผลิตภัณฑ์ถั่วหมัก โดยใช การศึกษาองค์ประกอบทางชีวเคมีของสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ Caulerpa racemosa บริเวณชายฝั่งอันดามัน การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีและการประเมินคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์อาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ในชุมชนพื้นที่สูง ชุมชนภูลังกา จังหวัดพะเยา โครงการวิจัยคุณค่าทางโภชนาการและสารออกฤทธิ์ชีวภาพจากหนอนไหมและดักแด้ไหมสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ การสกัดและการวิเคราะห์ปริมาณสเตอรอลในสาหร่ายขนาดใหญ่ บางชนิด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก