สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus megaterium สายพันธุ์ No.16 ในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าวพันธุ์ กข6
ปิลันธนา ฐาปนพงษ์วรกุล - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus megaterium สายพันธุ์ No.16 ในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าวพันธุ์ กข6
ชื่อเรื่อง (EN): Efficiency of Antagonistic Bacterium Bacillus megaterium Strain No.16 for Controlling Sheath Blight Disease of RD6 Rice Variety
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปิลันธนา ฐาปนพงษ์วรกุล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pilunthana Thapanapongworakul
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Sarawit Saimongkol
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus megaterium สายพันธุ์ No.16 เพื่อควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าวพันธุ์ กข6 สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani เมื่อแยกและรวบรวบเชื้อราสาเหตุจากแปลงทดลองปลูกข้าวของสถานีพัฒนาที่ดินลำพูน ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ได้จำนวน 4 ไอโซเลท คือ RSLPN-1, RSLPN-2, RSLPN-3 และ RLSPN-4 นำมาทดสอบความสามารถของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ B. megaterium ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุบนอาหาร potato dextrose agar (PDA) โดยวิธี dual culture เป็นเวลา 4 วัน พบว่า เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา R. solani  แต่ละไอโซเลทได้แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 41.65, 26.78, 26.08 และ 42.35 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สำหรับการทดสอบด้วยวิธี pour plate พบว่า เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา R. solani ไอโซเลท RSLPN-2 และ RSLPN-4 มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งสูงมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อส่องดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ปลายเส้นใยของเชื้อรา R. solani จากวิธีการทดสอบทั้ง 2 วิธี มีลักษณะผิดปกติเหมือนกัน จากนั้นทดสอบการควบคุมโรคกาบใบแห้งที่เกิดจากเชื้อรา R. solani ไอโซเลท RSLPN-4 โดยวิธีการพ่นชีวภัณฑ์เชื้อ B. megaterium ในสภาพเรือนทดลอง พบว่า ชีวภัณฑ์ดังกล่าวสามารถลดความรุนแรงของโรคกาบใบแห้งได้แตกต่างจากชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ B. megaterium สามารถควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าวพันธุ์ กข6 ในสภาพห้องปฏิบัติการและเรือนทดลองได้
บทคัดย่อ (EN): The potential antagonistic bacteria Bacillus megaterium strain No.16 for controlling sheath blight disease of RD6 rice variety caused by Rhizoctonia solani was evaluated. Four isolates of R. solani RSLPN-1, RSLPN-2, RSLPN-3 and RLSPN-4 were obtained from experimental rice paddy fields of Lamphun Land Development Station, Si Bua Ban sub-district, Mueang district, Lamphun province. Dual culture test was determined to investigate the ability of antagonistic bacteria to inhibit mycelial growth of these pathogens for 4 days. This antagonistic B. megaterium showed significantly inhibited of all R. solani isolates at 41.65, 26.78, 26.08 and 42.35%, respectively; especially isolate RLSPN-4 had shown high percentage of growth inhibition. Whereas, the antagonistic B. megaterium showed significantly against mycelial growth of R. solani isolates RSLPN-2 and RLSPN-4 more than 95 % by pour plate test. Mycelial growth inhibition by B. megaterium was observed under compound microscope in either dual culture or pour plate tests. For control of rice sheath blight disease, spraying the granule formulation of B. megaterium on rice plants in the greenhouse was significantly suppressed sheath blight disease of rice caused by R. solani isolate RLSPN-4 when compared to control. These suggested that the antagonistic bacteria B. megaterium have an excellent potential to be used as biocontrol agent of sheath blight disease in rice RD6 variety in laboratory and greenhouse conditions.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/245690/167948
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus megaterium สายพันธุ์ No.16 ในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าวพันธุ์ กข6
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2558
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร สรุปชุดโครงการวิจัย การเฝ้าระวังการดื้อสารต้านจุลชีพของเชื้อแบคทีเรียและการศึกษากลไกทางเภสัชเพื่อกำหนดการใช้สารต้านจุลชีพในสัตว์น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ปีงบประมาณ 2546 - 2548 ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์ Bacillus subtilis ในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าว ดัชนีความไวของข้าวบางพันธุ์ที่มีต่อช่วงแสงตามธรรมชาติ การจำแนกสายพันธุ์และความต้านทานต่อโรค Streptococcosis ของปลานิล (Oreochromis niloticus Linnaeus) ผลการตอบสนองต่อความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เกิดจากความเค็มในสายพันธุ์ต่าง ๆ ของข้าวไทย การพัฒนาเชื้อราไตรโคเดอร์มาปฏิปักษ์ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดโรคข้าวเป็นชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์ การควบคุมทางชีวภาพของ แบคทีเรียบริเวณรากพืชในการยับยั้งโรคขอบใบแห้งในข้าวสายพันธุ์เศรษกิจของไทย การควบคุมเชื้อรา Pyricularia grisea สาเหตุโรคใบไหม้ข้าว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก