สืบค้นงานวิจัย
สถานภาพการผลิตและตลาดไหม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เกศินี ปายะนันท์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สถานภาพการผลิตและตลาดไหม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เกศินี ปายะนันท์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Kesinee Payanun
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ เพื่อศึกษาถึงสถานการณ์การผลิตและระดับการใช้วิทยาการแผนใหม่ในการผลิตหม่อนไหมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตลอดจนศักยภาพและข้อจำกัดของการผลิตและการตลาดของหม่อนไหม ข้อมูลในการวิจัยได้จากเอกสาร การสอบถามจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เกษตรกรและพ่อค้าระดับต่างๆของ 6 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการใข้และไม่ใช้แบบสอบถามในการวิเคราะห์เรื่องต้นทุนการผลิต ใช้วิธีการคำนวณหาค่าเฉลี่ยสำหรับการตลาดนั้น ใช้การวิเคราะห์แบบวิธีอธิบายประกอบด้วยข้อมูล ส่วนใหญ่ของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ในพื้นที่ศึกษาเป็นเกษตรกรรายย่อย เลี้ยงไหมเป็นอาชีพเสริมมีจำนวนครัวเรือนเกษตรกรเลี้ยงไหม 392,226 ครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกหม่อน 416,6612 ไร่ คิดเป็นผลผลิตเส้นไหม 1,399,552 กิโลกรัม สามารถแบ่งเกษตรกรออกได้เป็น 2 กลุ่มตามลัษณะการขายคือ เกษตรกรที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อสาวมือและสาวเครื่อง ต้นทุนการเลี้ยงไหมเพื่อสาวเมือ 1,229.59 บาท/แผ่น ผลผลิตเฉลี่ย 14 กก./แผ่น ต้นทุนรังไหม 87.83.บาท/กก.อัตราการแปรรูปโดยน้ำหนักเส้นไหม:รังไหม เท่ากับ 1:10 ผลผลิตการสาวเฉลี่ย 200 กรัม/วัน ค่าแรงงาน 250 บาท/วัน ต้นทุนรังไหม 873.30 บาท/กก. เส้นไหมต้นทุนเส้นไหม 1,128.30 บาท/กก. ราคาขายไหม 3 กิโลกรัม ละ 935 บาท เกษตรกรกลุ่มไหมสาวมือจะขาดทุน 193.30 บาท/กก. เส้นไหม ต้นทุนการเลี้ยงไหมเพื่อสาวเครื่อง 3,072.96 บาท/กล่อง เฉลี่ยผลผลิต 31.67กก./กล่อง ต้นทุนรังไหม 91.28 บาท/กก. อัตราการแปรรูปโดยน้ำหนักเส้นไหม: รังไหม เท่ากับ 1:7 ค่าแรงงาน 300 บาท/วัน ต้นทุนรังไหม 638.96 บาท/กก. เส้นไหม ต้นทุนเส้นไหม 938.96 บาท/กก. ราคาขายไหม 1 กิโลกรัมละ 900-1,000 บาท เกษตรกรกลุ่มไหมสาวเครื่องจะได้กำไร 38.96-61.04 บาท/กก. เส้นไหม สำหรับการส่งเสริมการเลี้ยงไหมเพื่อเพิ่มผลผลิตรังไหมและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ควรสนับสนุนให้เกษตรกรหันมาเลี้ยงไหมพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ หรือพันธุ์ไหมลูกผสมแทนการเลี้ยงไหมพื้นเมืองโดยคำนึงถึงการปรับตัวของเกษตรกร หรือการผสมผสานวิชาการแผนใหม่ จำนวนแรงงานและแหล่งเงินทุนของเกษตรกรเพื่อให้การส่งเสริมมีประสิทธิภาพต่อเนื่องและได้รับผลสำเร็จ ควรมีการวิจัยเพิ่มเติมด้านเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตหม่อนไหมที่เหมาะสมกับท้องถิ่น และเน้นหนักด้านการพัฒนาคุณภาพ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2535
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2536
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สถานภาพการผลิตและตลาดไหม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2536
การศึกษาสถานการณ์การผลิตการตลาดในประเทศและตลาดส่งออกหม่อนไหม การศึกษาเศรษฐกิจการผลิตและการตลาดไหมเชิงอุตสาหกรรม ศักยภาพการผลิตและการตลาดยางเครพของสถาบันเกษตรกร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เศรษฐกิจการผลิตยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศึกษาวิจัยการผลิตเส้นไหมไทยตามมาตรฐานมกอช. 8000-2548 ของผู้สาวไหมด้วยมือในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การพัฒนาการผลิต การแปรรูป และการตลาดของสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาระบบการผลิตและการตลาดไก่งวงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สภาพการผลิตและการตลาดมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศึกษาสภาพการผลิต การตลาด และการป้องกันกำจัดศัตรูมะม่วงแก้วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก