สืบค้นงานวิจัย
ผลกระทบของปุ๋ยหมักต่อสมบัติทางกายภาพบางประการของดิน
ถนอม คลอดเพ็ง และชัยวุฒิ นิมมลังกูร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ผลกระทบของปุ๋ยหมักต่อสมบัติทางกายภาพบางประการของดิน
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Compost on Some Physical Properties of Soil
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ถนอม คลอดเพ็ง และชัยวุฒิ นิมมลังกูร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Thanom Klodpeng and Chaiyawoot Nimmalungkul.
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ปุ๋ยหมักเป็นสารอินทรีย์ที่สามารถผลิตขึ้นมาใช้เองโดยการหมักเศษเหลือของพืชไร่นา ปุ๋ยหมักนอกจากจะเป็นแหล่งของธาตุอาหารของพืชแล้ว ยังช่วยในการรักษาและปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้นอีกด้วย หากมีการใช้ในอัตราและระยะเวลาที่เหมาะสม การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะชี้ให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของปุ๋ยหมักที่มีต่อการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน และเพื่อหาอัตราการใช้และระยะเวลาไถกลบที่เหมาะสมในดินร่วมทรายชุดสันทราย ได้ทำการทดลองในบริเวณแปลงทดลองของโครงการศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตณศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการไถกลบปุ๋ยหมักลงไปในดินในอัตราต่าง ๆ กัน 4 อัตรา คือ 0, 1.5, 3.0 , แบะ 4.5 ตัน/ไร่ ทำการปลูกพืชสองครั้งติดต่อกัน คือ กระเทียมเป็นพืชแรกและข้าวโพดหวานเป็นพืชที่สอง และมีการใช้ปุ๋ยเคมีให้แก่พืชทั้งสองด้วยในอัตรา 16 , 12 , และ 12 กก./ไร่ ของ N , P2O2 และ K2O ผลการทดลองพบว่าการไถกลบปุ๋ยหมักลงไปในดินในอัตราที่ไม่ต่ำกว่า 3.0 ตัน/ไร่ สามารถทำให้ความหนาแน่นรวมของดินลดลง และในขณะเดียวกันทำให้จำนวนและขนาดของเม็ดดินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าทั้งการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นร่วมของดิน และ mean weight diameter ของเม็ดดินมีความสัมพันธ์กับเวลาหลังการไถกลบในลักษณะของสมการ quadratic ส่วนความจุความชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืชของดินจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังจากไถกลบปุ๋ยหมัก แต่ภายหลังไถกลบปุ๋ยหมักเป็นเวลา 1 1/2 เดือนความจุความชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืชนี้จะลดลงเรื่อย ๆ ในลักษณะของสมการยกกำลัง (power function) นอกจากนี้การไถกลบปุ๋ยหมักลงดินนี้ยังสามารถทำให้ผลผลิตของกระเทียมและข้าวโพดหวานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกัน ทั้งยังพบว่าอิทธิพลของปุ๋ยหมักที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพของดินนี้มีระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือนหลังจากไถกลบลงไปในดิน
บทคัดย่อ (EN): Compost is quite available organic substance source at farm level. Adding organic mater to soils usually results in maintaining soil productivity through improving and/or maintaining physical properties of the soils. The purposes of this sutdy were to determine rate and effect of compost on soil bulk density, size distribution of aggregates, available mosisture capacity, and crop yield as we.. field experiment was conducted on San Sai sandy sam soil at Multiple Cropping Project Station. Faculty fo Agriculture, Chiang Mai University from December, 1982 to September, 1983. Four rates of the compost incorporated into the soil were 0 , 1.5 , 3.0 , and 4.5 tons/rai. Two successive crops were grown under mulched broad bed system. First crop was garlic and the succeeding crop was sweet corn. Results showed that the incorperation rates of 3.0 and 4.5 tons/rai actually decreased bulk density of the soil while the mean weight diameter of soil aggregates was significantly increased. The latter, in turn, indicated that the bigger size of aggregates were quadratically correlated with time after the incorperation. The available moisture capacity of this soil was sharply increased right after the incorperation of the compost and decreased thereafter as a power function with time. the influernce of the compost on such physical soil properties were detected at least 6 months after the incorperation. The apolication rates of 3.0 and 4.5 tons/rai of compost also significantly increased yields of both crops.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลกระทบของปุ๋ยหมักต่อสมบัติทางกายภาพบางประการของดิน
กรมวิชาการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ผลกระทบของการใช้ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีต่อการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง การศึกษาการใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวระยะยาวต่อสรีรนิเวศน์ของข้าวและสมบัติของดินที่สถานีทดลองข้าวพิมาย ผลการใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวปรับปรุงดินและผลผลิตข้าว การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวปรับปรุงดินและผลผลิตข้าว การใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าวระยะยาวต่อสรีร-นิเวศน์วิทยาของข้าวและสมบัติของดิน ที่สถานีทดลองข้าวสุรินทร์ ผลของปุ๋ยหมักระยะยาวต่อผลผลิตพืชร่วมระบบถั่วเหลือง-ข้าวและคุณสมบัติทางเคมีของดินนาชุดสระบุรี นวัตกรรมสำหรับกลุ่มวัสดุปรับปรุงดิน ปุ๋ย น้ำหมักชีวภาพและดินพร้อมปลูก: ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร ศึกษาการจัดการดินโดยใช้ปุ๋ยหมักจากวัตถุดิบต่างชนิดร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ที่มีผลต่อผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในจังหวัดร้อยเอ็ด ผลของการจัดการดินที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพของดินในพื้นที่ปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลของความชื้นต่อสมบัติทางกายภาพและทางกลของผลหมาก (Areca catechu L.)

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก