สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงดินและการใช้จุลธาตุอาหารเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังและอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
อัญชลี สุทธิประการ, เอิบ เขียวรื่นรมณ์, สมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่ม, ศุภิฌา ธนะจิตต์ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงดินและการใช้จุลธาตุอาหารเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังและอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Soil Amendments and Micronutrient Application for Cassava and Sugarcane Yield Improvement in the Northeast of Thailand
บทคัดย่อ: การปรับปรุงดินและการใช้จุลธาตุอาหารเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังและอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยได้ดำเนินการศึกษาในดินโคราช สตึก วาริน และยโสธรในแปลงเกษตรกร จังหวัดนครราชสีมา พื้นที่ศึกษาทั้งหมดดินเกิดการเสื่อมโทรม เนื่องจาก ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และสมบัติทางฟิสิกส์ที่ไม่ส่งเสริมการให้ผลผลิตอ้อยและมันสำปะหลัง ผลการทดลองในสนาม พบว่า การใส่มูลไก่แกลบอัตรา 1,000 กก./ไร่ ในดินสตึกมีผลทำให้ได้ผลผลิตน้ำหนักสดเท่ากับ 15.6 ตัน/ไร่ ซึ่งสูงกว่าการไม่ใส่ (13.4 ตัน/ไร่) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในกรณีของดินโคราชกลับให้ผลตรงข้าม โดยในดินหลังกลับได้น้ำหนักส่วนเหนือดิน (16.9 ตัน/ไร่) สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใส่ (14.3 ตัน/ไร่) การใส่มูลไก่แกลบยังมีผลทำให้คุณภาพความหวานของอ้อยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อปลูกบนดินทั้งสอง การให้ปุ๋ยสังกะสีทางใบครั้งเดียว และการให้ปุ๋ยสังกะสีกับเหล็กทางใบ 2 ครั้ง มีแนวโน้มทำให้ได้ผลผลิตน้ำหนักสดอ้อยสูงสุดเท่ากับ 16.0 และ 8.0 ตัน/ไร่ เมื่อปลูกบนดินสตึกและโคราชตามลำดับ การใส่มูลไก่แกลบร่วมกับในกรณีที่มีการฉีดพ่นให้ปุ๋ยสังกะสีทางใบสองครั้ง และร่วมกับการให้ปุ๋ยสังกะสีร่วมกับเหล็กทางใบสองครั้ง มีแนวโน้มให้อ้อยที่ปลูกในดินสตึก และดินโคราช มีผลผลิตสูงสุดเท่ากับ 17.3 และ 9.1 ตันต่อไร่ ตามลำดับ การศึกษาการตอบสนองของอ้อยตอพันธุ์ K95-84 ที่ปลูกบนดินสตึก (Typic Paleustult) ต่อ มูลไก่แกลบและการให้ปุ๋ยสังกะสีตและเหล็กทางใบในแปลงเกษตรกร จ.นครราชสีมา โดยใช้แผนการทดองแบบ 2 x 6 factorial in randomized complete block ดำเนินการจำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) การไม่ใส่ และใส่มูลไก่แกลบอัตรา 6.25 ตัน/เฮกตาร์ช่วงต้นฤดูฝน และ 2) การไม่ฉีดปุ๋ยจุลธาตุ การฉีดปุ๋ยสังกะสีอัตรา 18.75 กก./เฮกตาร์จำนวน 1, 2 และ 3 ครั้ง และการฉีดปุ๋ยสังกะสีร่วมกับเหล็กอัตรา18.75 และ 5 กก./เฮกตาร์ 1 และ 2 ครั้งในช่วงต้นฤดูฝน ในทุกแปลงย่อยมีการใส่ปุ๋ยยูเรียและปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อย่างละ 312.5 กก./เฮกตาร์ที่ 4 และ 6 เดือนหลังจากการเก็บเกี่ยวอ้อยยอด พบว่า การฉีกปุ๋ยจุลธาตุทางใบไม่ช่วยทำให้ผลผลิตอ้อยตอเพิ่มขึ้น ส่วนการใส่มูลไก่แกลบช่วยเพิ่มผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยได้นำหนักสดของอ้อยเท่ากับ 91.48 ตัน/เฮกตาร์เปรียบเทียบกับ 59.61 ตัน/เฮกตาร์เมื่อไม่มีการใส่มูลไก่แกลบ แสดงให้เห็นว่า สังกะสีและเหล็กที่อยู่ในมูลไก่แกลบมีปริมาณเพียงพอต่อการเจริฐเติบโตของอ้อยตอเมื่อพิจารณาจากผลผลิตที่ได้รับซึ่งเป็นที่น่าพึงพอใจ การศึกษาผลร่วมของวัสดุปรับปรุงดินอินทรีย์และอนินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตของอ้อยที่ปลูกบนดินโคราช ดำเนินการในแปลงเกษตรกรที่บ้านโนนสมบูรณ์ ต.กฤษณา อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวัสดุปรับปรุงดิน ได้แก่ มูลไก่แกลบ ยิปซัม และโดโลไมต์ต่อการให้ผลผลิตของอ้อยยอดและอ้อยตอโดยใช้แผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design ประกอบด้วย 12 ตำรับการทดลอง จำนวน 4 ซ้ำ มูลไก่แกลบใส่ในอัตรา 6.25, 12.5 และ 18.75 ตัน/เฮกตาร์ ขณะที่ยิปซัม และโดโลไมต์ใส่ในอัตรา 0.625 และ 1.25 ตัน/เฮกตาร์ การใส่ร่วมระหว่างวัสดุปรับปรุงอินทรีย์และอนินทรีย์ได้มีการทดสอบเช่นกัน ใช้อ้อยพันธุ์ K95-84 สำหรับการทดลอง โดยมีการเตรียมดินและใส่ปุ๋ยตามอัตราที่แนะนำโดยทั่วไป การใส่ยิปซัมอัตรา 1.25 ตัน/เฮกตาร์มีแนวโน้มทำให้ได้ผลผลิตอ้อยยอดสูงสุดเท่ากับ 101.57 ตัน/เฮกตาร์ ขณะที่อิทธิพลร่วมระหว่างการใส่มูลไก่แกลบอัตรา 6.25 ตัน/เฮกตาร์และโดโลไมต์ 0.625 ตัน/เฮกตาร์มีแนวโน้มทำให้ได้ผลผลิตอ้อยตอแรกสูงที่สุดเท่ากับ 69.25 ตัน/เฮกตาร์ ผลผลิตอ้อยตอแรกลดลงอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตอ้อยยอด เมือพิจารณาจากผลผลิตอ้อยยอดและอ้อยตอเป็นระยะเวลา 2 ปี การปฏิบัติงานในสนาม และราคาของวัสดุปรับปรุงดิน การใช้ยิปซัม หรือโดโลไมต์น่าจะแนะนำให้ใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยที่ปลูกบนดินโคราชได้ การศึกษาอิทธิพลของมูลไก่แกลบกับปุ๋ยสังกะสีและเหล็กที่ให้ทางใบต่อการให้ผลผลิตและความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบมันสำปะหลังที่ปลูกในดินยโสธร (Typic Paleustult) ที่เสื่อมโทรม วางแผนการทดลองแบบ Factorial in RCBD จำนวน 4 ซ้ำ ปัจจัยแรก ได้แก่ การไม่ใส่มูลไก่ (C1) และการใส่มูลไก่อัตรา 500 กก./ไร่ (C2) ปัจจัยที่สองให้ปุ๋ยสังกะสีและเหล็กทางใบอัตรา 3.0 และ 0.8 กก./ไร่ตามลำดับ ต่อการฉีดพ่น 1 ครั้ง ประกอบด้วย ไม่ให้ปุ๋ยทางใบ (T1) ฉีดพ่นสังกะสีเมื่อมันสำปะหลังอายุ 1 เดือน (T2) 1 และ 2 เดือน (T3) 1, 2 และ 3 เดือน (T4) ฉีดพ่นสังกะสีและเหล็กที่อายุ 1 เดือน (T5) และ 1 และ 2 เดือน (T6) ใส่ปุ๋ยหลักสูตร 15-15-15 จำนวน 2 ครั้งครั้งละ 50 กก./ไร่ เมื่อมันสำปะหลังอายุได้ 1 และ 3 เดือน วิเคราะห์ควาการปรับปรุงดินและการใช้จุลธาตุอาหารเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังและอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยได้ดำเนินการศึกษาในดินโคราช สตึก วาริน และยโสธรในแปลงเกษตรกร จังหวัดนครราชสีมา พื้นที่ศึกษาทั้งหมดดินเกิดการเสื่อมโทรม เนื่องจาก ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และสมบัติทางฟิสิกส์ที่ไม่ส่งเสริมการให้ผลผลิตอ้อยและมันสำปะหลัง ผลการทดลองในสนาม พบว่า การใส่มูลไก่แกลบอัตรา 1,000 กก./ไร่ ในดินสตึกมีผลทำให้ได้ผลผลิตน้ำหนักสดเท่ากับ 15.6 ตัน/ไร่ ซึ่งสูงกว่าการไม่ใส่ (13.4 ตัน/ไร่) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในกรณีของดินโคราชกลับให้ผลตรงข้าม โดยในดินหลังกลับได้น้ำหนักส่วนเหนือดิน (16.9 ตัน/ไร่) สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใส่ (14.3 ตัน/ไร่) การใส่มูลไก่แกลบยังมีผลทำให้คุณภาพความหวานของอ้อยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อปลูกบนดินทั้งสอง การให้ปุ๋ยสังกะสีทางใบครั้งเดียว และการให้ปุ๋ยสังกะสีกับเหล็กทางใบ 2 ครั้ง มีแนวโน้มทำให้ได้ผลผลิตน้ำหนักสดอ้อยสูงสุดเท่ากับ 16.0 และ 8.0 ตัน/ไร่ เมื่อปลูกบนดินสตึกและโคราชตามลำดับ การใส่มูลไก่แกลบร่วมกับในกรณีที่มีการฉีดพ่นให้ปุ๋ยสังกะสีทางใบสองครั้ง และร่วมกับการให้ปุ๋ยสังกะสีร่วมกับเหล็กทางใบสองครั้ง มีแนวโน้มให้อ้อยที่ปลูกในดินสตึก และดินโคราช มีผลผลิตสูงสุดเท่ากับ 17.3 และ 9.1 ตันต่อไร่ ตามลำดับ การศึกษาการตอบสนองของอ้อยตอพันธุ์ K95-84 ที่ปลูกบนดินสตึก (Typic Paleustult) ต่อ มูลไก่แกลบและการให้ปุ๋ยสังกะสีตและเหล็กทางใบในแปลงเกษตรกร จ.นครราชสีมา โดยใช้แผนการทดองแบบ 2 x 6 factorial in randomized complete block ดำเนินการจำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) การไม่ใส่ และใส่มูลไก่แกลบอัตรา 6.25 ตัน/เฮกตาร์ช่วงต้นฤดูฝน และ 2) การไม่ฉีดปุ๋ยจุลธาตุ การฉีดปุ๋ยสังกะสีอัตรา 18.75 กก./เฮกตาร์จำนวน 1, 2 และ 3 ครั้ง และการฉีดปุ๋ยสังกะสีร่วมกับเหล็กอัตรา18.75 และ 5 กก./เฮกตาร์ 1 และ 2 ครั้งในช่วงต้นฤดูฝน ในทุกแปลงย่อยมีการใส่ปุ๋ยยูเรียและปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อย่างละ 312.5 กก./เฮกตาร์ที่ 4 และ 6 เดือนหลังจากการเก็บเกี่ยวอ้อยยอด พบว่า การฉีกปุ๋ยจุลธาตุทางใบไม่ช่วยทำให้ผลผลิตอ้อยตอเพิ่มขึ้น ส่วนการใส่มูลไก่แกลบช่วยเพิ่มผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยได้นำหนักสดของอ้อยเท่ากับ 91.48 ตัน/เฮกตาร์เปรียบเทียบกับ 59.61 ตัน/เฮกตาร์เมื่อไม่มีการใส่มูลไก่แกลบ แสดงให้เห็นว่า สังกะสีและเหล็กที่อยู่ในมูลไก่แกลบมีปริมาณเพียงพอต่อการเจริฐเติบโตของอ้อยตอเมื่อพิจารณาจากผลผลิตที่ได้รับซึ่งเป็นที่น่าพึงพอใจ การศึกษาผลร่วมของวัสดุปรับปรุงดินอินทรีย์และอนินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตของอ้อยที่ปลูกบนดินโคราช ดำเนินการในแปลงเกษตรกรที่บ้านโนนสมบูรณ์ ต.กฤษณา อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวัสดุปรับปรุงดิน ได้แก่ มูลไก่แกลบ ยิปซัม และโดโลไมต์ต่อการให้ผลผลิตของอ้อยยอดและอ้อยตอโดยใช้แผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design ประกอบด้วย 12 ตำรับการทดลอง จำนวน 4 ซ้ำ มูลไก่แกลบใส่ในอัตรา 6.25, 12.5 และ 18.75 ตัน/เฮกตาร์ ขณะที่ยิปซัม และโดโลไมต์ใส่ในอัตรา 0.625 และ 1.25 ตัน/เฮกตาร์ การใส่ร่วมระหว่างวัสดุปรับปรุงอินทรีย์และอนินทรีย์ได้มีการทดสอบเช่นกัน ใช้อ้อยพันธุ์ K95-84 สำหรับการทดลอง โดยมีการเตรียมดินและใส่ปุ๋ยตามอัตราที่แนะนำโดยทั่วไป การใส่ยิปซัมอัตรา 1.25 ตัน/เฮกตาร์มีแนวโน้มทำให้ได้ผลผลิตอ้อยยอดสูงสุดเท่ากับ 101.57 ตัน/เฮกตาร์ ขณะที่อิทธิพลร่วมระหว่างการใส่มูลไก่แกลบอัตรา 6.25 ตัน/เฮกตาร์และโดโลไมต์ 0.625 ตัน/เฮกตาร์มีแนวโน้มทำให้ได้ผลผลิตอ้อยตอแรกสูงที่สุดเท่ากับ 69.25 ตัน/เฮกตาร์ ผลผลิตอ้อยตอแรกลดลงอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตอ้อยยอด เมือพิจารณาจากผลผลิตอ้อยยอดและอ้อยตอเป็นระยะเวลา 2 ปี การปฏิบัติงานในสนาม และราคาของวัสดุปรับปรุงดิน การใช้ยิปซัม หรือโดโลไมต์น่าจะแนะนำให้ใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยที่ปลูกบนดินโคราชได้ การศึกษาอิทธิพลของมูลไก่แกลบกับปุ๋ยสังกะสีและเหล็กที่ให้ทางใบต่อการให้ผลผลิตและความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบมันสำปะหลังที่ปลูกในดินยโสธร (Typic Paleustult) ที่เสื่อมโทรม วางแผนการทดลองแบบ Factorial in RCBD จำนวน 4 ซ้ำ ปัจจัยแรก ได้แก่ การไม่ใส่มูลไก่ (C1) และการใส่มูลไก่อัตรา 500 กก./ไร่ (C2) ปัจจัยที่สองให้ปุ๋ยสังกะสีและเหล็กทางใบอัตรา 3.0 และ 0.8 กก./ไร่ตามลำดับ ต่อการฉีดพ่น 1 ครั้ง ประกอบด้วย ไม่ให้ปุ๋ยทางใบ (T1) ฉีดพ่นสังกะสีเมื่อมันสำปะหลังอายุ 1 เดือน (T2) 1 และ 2 เดือน (T3) 1, 2 และ 3 เดือน (T4) ฉีดพ่นสังกะสีและเหล็กที่อายุ 1 เดือน (T5) และ 1 และ 2 เดือน (T6) ใส่ปุ๋ยหลักสูตร 15-15-15 จำนวน 2 ครั้งครั้งละ 50 กก./ไร่ เมื่อมันสำปะหลังอายุได้ 1 และ 3 เดือน วิเคราะห์ควา
บทคัดย่อ (EN): Soil amendments and micronutrients application for improving yield of cassava and sugarcane in northeast Thailand were conducted on Korat, Satuk, Warin and Yasothon soils of farmer fields in Nakhon Ratchasima province. All soils in the areas studies were degraded due to their low fertility level and unfavourable physical property for promoting yield of sugarcane and cassava. Results showed that the application of chicken manure in Satuk soil gave the yield of 15.6 tonne/rai, which was significantly higher than that of the other with no chicken manuring (13.4 tonne/rai) but the result was in contrast to the yield obtained from Korat soil. Besides, growing sugarcane on the latter soil provided significantly higher above ground biomass (16.9 tonne/rai) with the application of this manure than with no application (14.3 tonne/rai). The application, however, statistically reduced CCS of cane in both soils. Single foliar application of Zn and two-time application of Zn incorporated with Fe tended to give the highest cane yields of 16.0 and 8.0 tonne/rai when grown on Satuk and Korat soils, respectively. When applied Zn twice and Zn and Fe twice with chicken manure added before planting tended to offer the greatest cane yield of 17.3 and 9.1 tonne/rai in Satuk and Korat soils, respectively. A study on the response of ratoon cane (K95-84) planted on a Satuk soil (Typic Paleustult) to chicken manure, Fe and Zn foliar applications was conducted in a famer field, Nakhon Ratchasima province. The experimental design was 2 x 6 factorial in randomized complete block with four replications, comprising two factors as follow; 1) no chicken manure and chicken manure (6.25 t/ha) applied at early rainy season, 2010 and 2) no foliar application, Zn foliar application (18.75 kg/ha), once, twice, and three times, Zn+Fe application (18.75 and 5 kg/ha, respectively) once, and twice. The applications were undertaken in the early rainy season of the year 2010. All plots were added with urea mixed with complete fertilizer 13-13-21, each at a rate of 312 kg/ha applied at four- and six-months after the virgin cane was harvested. The results showed that foliar application cannot help increase the cane yield. In the case of chicken manure application, this manuring increased the yield significantly with the amount of 91.48 tonne/ha and 59.61tonne/ha which was obtained from plot without chicken manure application. According to the result, Zn and Fe contained in chicken manure are sufficient for growth of ratoon cane, giving satisfactory yield. A study on single and combined effects of inorganic and organic soil conditioners on growth of sugarcane planted on a Korat soil was carried out at Ban Non Somboon, Kritsana subdistrict, Sikhio district, Nakhon Ratchasima province. The objective of the study was to investigate the response of virgin and ratoon canes to the applications of soil conditioners such as chicken manure, gypsum and dolomite. Randomized complete block design (RCBD) was employed using 12 treatments with four replications. Chicken manure was applied at three rates; 6.25, 12.5 and 18.75 tonne/ha while gypsum and dolomite were separately added at two rates; 0.625 and 1.25 tonne/ha. Combined applications of chicken manure and these two inorganic soil conditioners were also tested. Sugarcane K95-84 variety was used for this trial while land preparation and fertilization being done in accordance with general recommendation. Application of gypsum at the rate of 1.25 tonne/ha tended to give the highest virgin cane yield of 101.57 tonne/ha while combined application of 6.25 tonne/ha chicken manure and 0.625 tonne/ha dolomite tended to give the greatest ratoon cane yield of 69.25 tonne/ha. Cane yield of ratoon reduced drastically compared to the yield of virgin cane. Considering the application practicality and cost of soil conditioner, based on the total yield of two-year experiment, the use of gypsum or dolomite should recommended to iSoil amendments and micronutrients application for improving yield of cassava and sugarcane in northeast Thailand were conducted on Korat, Satuk, Warin and Yasothon soils of farmer fields in Nakhon Ratchasima province. All soils in the areas studies were degraded due to their low fertility level and unfavourable physical property for promoting yield of sugarcane and cassava. Results showed that the application of chicken manure in Satuk soil gave the yield of 15.6 tonne/rai, which was significantly higher than that of the other with no chicken manuring (13.4 tonne/rai) but the result was in contrast to the yield obtained from Korat soil. Besides, growing sugarcane on the latter soil provided significantly higher above ground biomass (16.9 tonne/rai) with the application of this manure than with no application (14.3 tonne/rai). The application, however, statistically reduced CCS of cane in both soils. Single foliar application of Zn and two-time application of Zn incorporated with Fe tended to give the highest cane yields of 16.0 and 8.0 tonne/rai when grown on Satuk and Korat soils, respectively. When applied Zn twice and Zn and Fe twice with chicken manure added before planting tended to offer the greatest cane yield of 17.3 and 9.1 tonne/rai in Satuk and Korat soils, respectively. A study on the response of ratoon cane (K95-84) planted on a Satuk soil (Typic Paleustult) to chicken manure, Fe and Zn foliar applications was conducted in a famer field, Nakhon Ratchasima province. The experimental design was 2 x 6 factorial in randomized complete block with four replications, comprising two factors as follow; 1) no chicken manure and chicken manure (6.25 t/ha) applied at early rainy season, 2010 and 2) no foliar application, Zn foliar application (18.75 kg/ha), once, twice, and three times, Zn+Fe application (18.75 and 5 kg/ha, respectively) once, and twice. The applications were undertaken in the early rainy season of the year 2010. All plots were added with urea mixed with complete fertilizer 13-13-21, each at a rate of 312 kg/ha applied at four- and six-months after the virgin cane was harvested. The results showed that foliar application cannot help increase the cane yield. In the case of chicken manure application, this manuring increased the yield significantly with the amount of 91.48 tonne/ha and 59.61tonne/ha which was obtained from plot without chicken manure application. According to the result, Zn and Fe contained in chicken manure are sufficient for growth of ratoon cane, giving satisfactory yield. A study on single and combined effects of inorganic and organic soil conditioners on growth of sugarcane planted on a Korat soil was carried out at Ban Non Somboon, Kritsana subdistrict, Sikhio district, Nakhon Ratchasima province. The objective of the study was to investigate the response of virgin and ratoon canes to the applications of soil conditioners such as chicken manure, gypsum and dolomite. Randomized complete block design (RCBD) was employed using 12 treatments with four replications. Chicken manure was applied at three rates; 6.25, 12.5 and 18.75 tonne/ha while gypsum and dolomite were separately added at two rates; 0.625 and 1.25 tonne/ha. Combined applications of chicken manure and these two inorganic soil conditioners were also tested. Sugarcane K95-84 variety was used for this trial while land preparation and fertilization being done in accordance with general recommendation. Application of gypsum at the rate of 1.25 tonne/ha tended to give the highest virgin cane yield of 101.57 tonne/ha while combined application of 6.25 tonne/ha chicken manure and 0.625 tonne/ha dolomite tended to give the greatest ratoon cane yield of 69.25 tonne/ha. Cane yield of ratoon reduced drastically compared to the yield of virgin cane. Considering the application practicality and cost of soil conditioner, based on the total yield of two-year experiment, the use of gypsum or dolomite should recommended to i
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงดินและการใช้จุลธาตุอาหารเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังและอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2554
อาหารจากมันสำปะหลัง บทบาทและผลของซิลิคอนในวัสดุปรับปรุงดินต่อการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังและอ้อยที่ปลูกบนดินเสื่อมโทรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การพัฒนาแนวทางการจัดการธาตุอาหารหลัก รอง และจุลธาตุอาหารตามหน่วยสมรรถนะความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยตอในจังหวัดสระแก้ว การจัดการธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมเพื่อการผลิตอ้อยในดินทราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยโดยการจัดการธาตุอาหารรอง จุลธาตุอาหาร การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม การเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยโดยการจัดการธาตุ อาหารรอง จุลธาตุอาหาร การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอตุสาหกรรม การจัดการดินและพืชร่วมกับการใช้ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดิน เพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การจัดการดินและน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ระยะที่ 2) การศึกษาเกณฑ์ทางดินที่สัมพันธ์กับผลผลิตเพื่อแบ่งเขตการปลูก มันสำปะหลังและอ้อย
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก