สืบค้นงานวิจัย
การตอบสนองของเกษตรกรต่อเทคโนโลยีของการปลูกมะเขือเทศในระบบข้าว มะเขือเทศ
จตุรงค์ พวงมณี - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การตอบสนองของเกษตรกรต่อเทคโนโลยีของการปลูกมะเขือเทศในระบบข้าว มะเขือเทศ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จตุรงค์ พวงมณี
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: จากการศึกษาข้อมูลการผลิตมะเขือเทศของเกษตรกรพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่พบว่า ผลผลิตมะเขือเทศยังต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ขาดความรู้ด้านการจัดการปลูกเลี้ยง เช่น การใช้ระยะปลูก การใช้วัสดุคลุมดิน การกำจัดวัชพืช วิธีการใส่ปุ๋ยและการป้องกันกำจัดโรคและแมลง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตมะเขือเทศต่ำในขณะเดียวกันศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้พัฒนาเทคโนโลยีมะเขือเทศด้านการปลูกเลี้ยง สามารถถ่ายทอดสู่เกษตรกรได้ ดังนั้นศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตรจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยใช้วิธีการจัดทำแปลงสาธิตกึ่งทดสอบในพื้นที่เกษตรกร นำเอาวิธีการปลูกมะเขือเทศแผนใหม่มาทดสอบและให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการทำแปลงทดสอบ นอกจากนั้นโครงการได้จัดให้เกษตรกรทัศนศึกษาเข้าชมการปลูกมะเขือเทศของศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตรเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการผลิตมะเขือเทศ หลังจากโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีได้ดำเนินงานไปแล้ว 2 ปี ได้เข้าทำการศึกษาเรื่องการตอบสนองของเกษตรกรต่อเทคโนโลยีของการปลูกมะเขือเทศ ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แบ่งกลุ่มประชากรที่ทำการศึกษาเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประชากรที่เข้าร่วมโครงการและกลุ่มประชากรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการมีประชากรที่ใช้ศึกษาทั้งหมด 60 ราย และรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบ่งเป็น 3 ชุด ชุดที่ 1 เป็นแบบสัมภาษณ์เกษตรกรก่อนการถ่ายทอดเทคโนโลยี ชุดที่ 2 เป็นแบบสัมภาษณ์เกษตรกรเข้าร่วมโครงการพลังการถ่ายทอดเทคโนโลยี และชุดที่ 3 เป็นแบบสัมภาษณ์เกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการหลังการถ่ายทอดเทคโนโลยี ผลจากการศึกษาปรากฏว่าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีทัศนคติที่ดีมากต่อเทคโนโลยีที่นำไปถ่ายทอดและเกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการมีทัศนคติที่ดีต่อเทคโนโลยีที่นำไปถ่ายทอดและเกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการที่มีทัศนคติที่ดีต่อเทคโนโลยีที่นำไปถ่ายทอด ส่วนการเปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิตหลังการถ่ายทอดเทคโนโลยีพบว่า การใช้ปุ๋ยและการใช้วัสดุคลุมแปลง เกษตรกรมีการพัฒนาในระดับปานกลาง วิธีการกำจัดวัชพืช ระยะปลูก พบว่าเกษตรกรมีการพัฒนาในระดับสูง และจากการศึกษาตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับเทคโนโลยีของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนประสบการณ์ในการปลูกมีความสัมพันธ์ในทางลบกับการยอมรับเทคโนโลยีเกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการปลูกมากจะมีการยอมรับเทคโนโลยีน้อยกว่าเกษตรกรที่มีประสบการณ์การปลูกน้อย การศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างการใช้วิธีการปลูกแบบแผนใหม่กับวิธีการปลูกที่เกษตรกรใช้ในท้องถิ่นพบว่า วิธีการปลูกแบบแผนใหม่ให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีการปลูกที่เกษตรกรใช้ในท้องถิ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัญหาและอุปสรรคในการปลูกมะเขือเทศพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหาดังนี้ การขาดแคลนน้ำใช้ในการเกษตร ผลผลิตมะเขือเทศราคาตกต่ำ ปัญหาโรคแมลงระบาดและปัญหาเกิดจากการนำวิธีการแผนใหม่ เกษตรกรนำไปใช้ ประสบปัญหาด้านการใช้แรงงานและต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากวิธีการเดิน แต่ในขณะเดียวกันวิธีการแผนใหม่สามารถเพิ่มผลผลิตสูงขึ้นประมาณ 1 ตันต่อไร่ และทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมคุ้มค่าต่อการลงทุน ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ ควรจัดให้เกษตรกรนอกโครงการเข้าชมแปลงสาธิตกึ่งทดสอบในหมู่บ้านเพื่อถ่ายทอดและกระจายความรู้ให้กับเกษตรกรนอกโครงการต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2536
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2536
เอกสารแนบ: http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/18641
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การตอบสนองของเกษตรกรต่อเทคโนโลยีของการปลูกมะเขือเทศในระบบข้าว มะเขือเทศ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2536
เอกสารแนบ 1
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ศึกษาทัศนคติของเกษตรกรต่อการใช้ค้างในการปลูกมะเขือเทศอุตสาหกรรม พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในการผลิตมะเขือเทศของเกษตรกรในจังหวัดสกลนคร โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตมะเขือเทศ ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง สภาพการปลูกมะเขือเทศอุตสาหกรรม ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ปัจจัยที่สนับสนุนการปลูกมะเขือเทศในนา หลังการเก็บเกี่ยวข้าวนาปีของเกษตรกรในตำบลพานพร้าว อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย การประเมินพันธุ์มะเขือเทศต้านทานโรคใบหงิกเหลืองมะเขือเทศในสภาพแปลงปลูกในจังหวัดอุบลราชธานี ผลการตอบสนองต่อความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เกิดจากความเค็มในสายพันธุ์ต่าง ๆ ของข้าวไทย การผลิตมะเขือเทศในฤดูกาลของเกษตรกร ตำบลกองนาง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก