สืบค้นงานวิจัย
ความต้องการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ในงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดปราจีนบุรี
มนูญ สกุณี - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความต้องการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ในงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดปราจีนบุรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มนูญ สกุณี
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาความต้องการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ในงานส่งเสริมการเกษตร ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดปราจีนบุรี มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความรู้พื้นฐานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และคอมพิวเตอร์ 2) เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ในงานส่งเสริมการเกษตร 3) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ในงานส่งเสริมการเกษตร ประชากรเป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรทุกคน (ที่เป็นข้าราชการยกเว้นเกษตรอำเภอ และธุรการ) ที่ปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรในระดับอำเภอของจังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 30 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS 11.0 For Windows. (Statistical Package for the Social Sciences for Windows Version 11) สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าสูงสุด (Maximum) ค่าต่ำสุด (Minimum) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ผลการศึกษาพบว่า เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ร้อยละ 56.67 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 45.40 ปี อายุราชการเฉลี่ย 20.00 ปี ร้อยละ 70.00 ดำรงตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ร้อยละ 66.67 มีเงินเดือนเฉลี่ย 20,055 บาท ร้อยละ 66.67 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 36.00 จบสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร ร้อยละ 73.33 เคยเข้ารับการฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 41.38 ได้รับการฝึกอบรมที่จัดโดยหน่วยงานอื่น ร้อยละ 51.14 เคยผ่านการอบรมหลักสูตร Microsoft Word ร้อยละ 60.00 มีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวที่บ้าน ในภาพรวม เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีความต้องการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และคอมพิวเตอร์ในงานส่งเสริมการเกษตรในระดับมาก คือ ส่วนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต เรียงตามลำดับคือ Microsoft PowerPoint , Microsoft Word , Microsoft Excel , Internet , E - mail และ SPSS for Windows ในส่วนของโปรแกรมสำเร็จรูปของกรมส่งเสริมการเกษตร เรียงตามลำดับ ได้แก่ ข้อมูลภัยธรรมชาติ ข้อมูลศูนย์บริการฯ ประจำตำบล ข้อมูลทะเบียนครัวเรือนเกษตรกร ข้อมูลการระบาดศัตรูพืช ข้อมูลการปลูกพืชเศรษฐกิจ ข้อมูลการปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น และข้อมูลการปลูกพืชฤดูแล้ง สำหรับปัญหาที่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประสบในระดับมากได้แก่ 1) ขาดการพัฒนาเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และคอมพิวเตอร์ 2) ขาดงบประมาณในการบำรุงรักษา 3) ขาดความรู้ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย ได้แก่ 1) สำนักงานเกษตรจังหวัดควรมีการจัดฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอ 2) สำนักงานเกษตรจังหวัดควรจัดสรรงบประมาณในการปรับปรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ของสำนักงานเกษตรอำเภอให้ทันสมัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความต้องการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ในงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดปราจีนบุรี
มนูญ สกุณี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2549
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับจังหวัดในเขตที่ 1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ จังหวัดบุรีรัมย์ สถานการณ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดสิงห์บุรี ความต้องการใช้คอมพิวเตอร์เพื่องานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในระดับอำเภอจังหวัดมหาสารคาม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันออก การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดกำแพงเพชร ความต้องการสนเทศเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ระดับตำบลในจังหวัดนครราชสีมา ความคิดเห็นต่อการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดอุดรธานี การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของข้าราชการในสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดเลย การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก