สืบค้นงานวิจัย
ลายพิมพ์ดีเอ็นเอของข้าวพันธุ์รับรอง
หทัยรัตน์ อุไรรงค์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: ลายพิมพ์ดีเอ็นเอของข้าวพันธุ์รับรอง
ชื่อเรื่อง (EN): DNA fingerprint of Thai recommended rice varieties
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: หทัยรัตน์ อุไรรงค์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Hatairat Urairong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ณัฐหทัย เอพานิช
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Nathathai A-phanit
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ข้าวพันธุ์รับรองของไทยที่ปลูกกันอยู่ในปัจจุบันนี้มีมากมายหลายพันธุ์ และจำแนกความแตกต่างของแต่ละพันธุ์นั้นได้โดยดูจากลักษณะต้น อายุ วันออกดอกและลักษณะเมล็ดทั้งทางเคมีและทางกายภาพ ซึ่งวิธีทั้งหมดนี้ก็ยังไม่เพียงพอในการจำแนกพันธุ์ให้ถูกต้องแม่นยำ จึงได้นำเทคนิคการทำลายพิมพ์ ดี เอ็น เอ มาใช้เป็นข้อมูลประกอบในการจำแนกพันธุ์ และตรวจพิสูจน์พันธุ์กรณีมีผู้ขอขึ้นทะเบียนข้าวพันธุ์ใหม่ เพื่อเป็นการรองรับพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช ตลอดจนเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาวิธีการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ข้าวและข้าวสารเพื่อควบคุมคุณภาพสินค้า จึงได้วางแผนการทดลองทำลายพิมพ์ ดี เอ็น เอ ของข้าวพันธุ์รับรองขึ้น โดยใช้เทคนิค Microsatelite ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้ PCR ขยายส่วนของโครโมโซมที่มีลำดับเบสช้ำ ๆ กัน ตั้งแต่ 2, 3 และ 4 เบส (di, tri, tetra-nucleotide repeats) และมีการเกิดซ้ำกันตั้งแต่สองสามครั้งจนถึง 25 ครั้ง กระจายอยู่ทั่วจีโนมข้าว ในข้าวแต่ละพันธุ์จะมีจำนวนซ้ำที่ไม่เท่ากัน จึงทำให้สามารถจำแนกพันธุ์ได้ การทดลองนี้เริ่มตั้งแต่คัดเลือก Microsatellite primer ที่สามารถทำให้ข้าวไทยมีความแตกต่างกันมากใน Metaphore agarose gel จากนั้นนำ Primer ที่คัดเลือกไว้ไปขยายยีนส่วนที่ต้องการในหลอดทดลอง โดยปฏิกิริยา PCR ซึ่งมีองค์ประกอบและสภาวะการทำปฏิกิริยาใน 20 µM ดังนี้ คือ ใช้ Reverse และ Forward Primer ตัวละ 0.25 mM dNTP แต่ละตัวเข้มข้น 200 µM และ 50 µM KCL, 10 mM Tris-HCL (pH 8.3), 1.5 mM MgCl2, 0.01% gelatin ใช้ ดี เอ็น เอ ของข้าวแต่ละพันธุ์เป็นแม่พิมพ์ในปฏิกิริยา 60-100 ng ใช้เอ็นไซม์ Tag polymerase 0.5 unit ในปฏิกิริยานี้มีการติดฉลาก PCR product ด้วยสี Fluorescent โดยการเติม (F) dCTP 100 µM ซึ่งมีสีฟ้า สีเหลือง และเขียว ลงในปฏิกิริยาระหว่างการทำ PCR จากนั้นนำเข้าเครื่อง PCR โดยตั้งเครื่องดังนี้ 95°C นาน 10 นาที 1 รอบตามด้วย 94°C 1 นาที 55°C 30 วินาที และ 75°C 30 วินาที จำนวน 30 รอบ จากนั้นต่อด้วย 72°C นาน 30 นาที อีก 1 รอบ จากนั้นนำ PCR product ที่ได้มาล้างสี Fluorescent ส่วนเกินออก และนำเข้าเครื่อง ABI Prism 310 Genetic Analyzer เพื่อแยกขนาดของ microsatellite product ผลการทดลองพบว่ามี Primer 26 คู่ ที่สามารถแยกความแตกต่างของข้าวไทยได้ดี ได้แก่ RM 1 RM 3 RM 11 RM 17 MR 20 RM 21 RM 202 RM 206 RM 208 RM 209 RM 210 RM 212 RM 213 RM 217 RM 220 RM 224 RM 226 RM 231 RM 232 RM 234 RM 262 RM 235 RM 216 RM 219 RM 221 และ RM 223 ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถให้ alleles ที่แตกต่างกันถึง 262 แบบ ทำให้สามารถแยกความแตกต่างของข้าวแต่ละพันธุ์ได้อย่างเด่นชัด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2541
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2542
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/doa/search_detail/result/156200
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Summary only
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ลายพิมพ์ดีเอ็นเอของข้าวพันธุ์รับรอง
กรมการข้าว
2542
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การระบุอาร์เอ็นเอขนาดเล็กที่แสดงออกอย่างจำเพาะในข้าวพันธุ์ กข 47 ผลของวันปลูกข้าวก่อนน้ำท่วมและหลังน้ำลดที่มีต่อผลผลิตข้าวพันธุ์/สายพันธุ์ดีในภาคใต้ พันธุ์ข้าวเจ้าพัทลุง ข้าวสายพันธุ์ดีเด่นของศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง การทดสอบปฏิกิริยาของพันธุ์ข้าวจากธนาคารเชื้อพันธุ์พืชต่อแมลงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล พันธุ์ข้าวนาน้ำฝนสายพันธุ์ดีในสภาพแห้งแล้ง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อเพิ่มปริมาณแป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก พันธุ์ข้าวน้ำลึก ปราจีนบุรี 2 วันปลูกและอัตราเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับพันธุ์ข้าวเจ็กเชย การศึกษาดีเอ็นเอเครื่องหมายเพื่อปรับปรุงพันธุ์กระเจี๊ยบเขียว ข้าวเจ้าต่างสีสายพันธุ์ดีของศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก