สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยศักยภาพด้านการตลาดในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง
นฤมล กิมภากรณ์ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยศักยภาพด้านการตลาดในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง
ชื่อเรื่อง (EN): Marketing Potential Research in Royal Project Extension Area
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: นฤมล กิมภากรณ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาเพื่อวิจัยศักยภาพด้านการตลาดในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงลุ่มน้ำปิง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การผลิต และการตลาดของผลผลิตการเกษตร 3 กลุ่มผลผลิต ได้แก่ พืชผัก ผลไม้ และไม้ดอก ในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงลุ่มน้ำปิง ได้แก่ คลองลาน ดอยปุย ป่ากล้วย ปางแดงใน ปางมะโอ ปางหินฝน ป่าแป๋ ผาแตก แม่มะลอ ห้วยเป้า และโหล่งขอด รวม 11 พื้นที่ วิธีการเก็บรวมรวมข้อมูลดำเนินโดยการสำรวจ รวบรวม วิเคราะห์ภาพรวมและสถานการณ์ การสัมภาษณ์และการพูดคุยในระดับกลุ่ม ตลอดจนรวบรวมข้อมูลสถิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลทั้งระดับจังหวัด ภูมิภาค และในระดับประเทศ รวมทั้งจากการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลทางเศรษฐกิจ การผลิต และระบบการตลาดในปัจจุบันของครัวเรือนในพื้นที่โครงการขยายผล ข้อมูลความต้องการตลาดสินค้าเกษตรที่สำคัญของพื้นที่ขยายผล ตลอดจนการนำผลการสำรวจข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ศักยภาพด้านการตลาด กำหนดกลยุทธ์และแนวทางการพัฒนาด้านการตลาดของพื้นที่ขยายผล ผลการศึกษาด้านช่องทางการตลาด โดยการสอบถามคนกลางระดับค้าส่งและค้าปลีก สำหรับตลาดพืชผัก ผลไม้ และไม้ดอก ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 60 ราย ในช่วงเดือนเมษายน ถึง พฤษภาคม 2559 พบว่า ผลการศึกษาด้านช่องทางการตลาด โดยการสอบถามคนกลางระดับค้าส่งและค้าปลีก ในช่วงเดือน เมษายน ถึง พฤษภาคม 2559 พบว่า ผลไม้ที่ขายได้แก่ มะม่วง เสาวรส สาลี่ เคพกูสเบอรี่ สตรอเบอรี่ อโวกาโด องุ่นดำ(ไร้เมล็ด) และพลัม โดยส่วนมากซื้อจากโครงการขยายผลโครงการหลวง และผู้ค้าส่งในตลาดเมืองใหม่ ซึ่งจะซื้อเป็นถุง ถุงละ 10 กิโลกรัม แล้วนำไปจำหน่ายต่อในตลาดได้แก่ ตลาดแม่เหียะ ตลาดบ้านถวาย ตลาดภูดอย บางรายส่งรถบรรทุกห้องเย็นไปจังหวัดอุตรดิตถ์ ข้อเสนอแนะสำหรับทางโครงการขยายผลโครงการหลวงคือ ปริมาณผลไม้ไม่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ ละวัน ผลการศึกษาด้านช่องทางการตลาด โดยการสอบถามคนกลางระดับค้าส่งและค้าปลีก สำหรับตลาดผักในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 25 ราย ในช่วงเดือน เมษายน ถึง พฤษภาคม 2559 พบว่า ผักที่ขายได้แก่ คะน้าฮ่องกง เบบี้ฮ่องเต้ สลัดแก้ว กะหล่ำปลี ข้าวโพดหวาน พริกหวาน มะเขือเทศ ผักสลัดต่าง ๆ โดยส่วนมากเป็นการซื้อแบบคัดเกรดจากมูลนิธิโครงการหลวง และเกษตรกรนำมาขาย โดยจะซื้อเป็นถุง ถุงละ 10 กิโลกรัม แล้วนำไปจำหน่ายต่อที่ตลาดเมืองใหม่ ตลาดสดบ้านแซม และนำไปส่งที่ตลาดหนองดอกสองเลน ข้อเสนอแนะสำหรับทางโครงการขยายผลโครงการหลวงคือ ผลผลิตบางชนิดไม่ได้ผลิตจากทางโครงการขยายผลโครงการหลวงและไม่ได้สินค้าครบถ้วนตามที่ต้องการ ผลการศึกษาด้านช่องทางการตลาด โดยการสอบถามคนกลางระดับค้าส่งและค้าปลีก สำหรับตลาดดอกไม้ ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 7 ราย ในช่วงเดือน มิถุนายน 2559 พบว่า ตลาดไม้ประดับส่วนมากจะมีการสั่งซื้อมาจากกรุงเทพมหานคร ได้แก่ คนกลางในบริเวณจตุจักร สนามหลวง คลองสิบห้า และนอกนั้นมาจากจังหวัดปราจีนบุรีเป็นส่วนมาก โดยมีการซื้อจากผู้ปลูกในเชียงใหม่น้อยมาก ราคาดอกไม้คงตัวเปลี่ยนแปลงน้อย ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณต้นละ 10 บาท ลูกค้าตลาดไม้ประดับได้แก่ คนกลางจากที่อื่นๆ และส่วนงานราชการ ธุรกิจจัด Event และผู้บริโภคทั่วไป ในส่วนของตลาดค้าส่ง ค้าปลีก ดอกไม้สด พบว่า ดอกไม้สด ส่วนมากมาจากแหล่งเพาะปลูกในเขตภาคเหนือตอนบน โดยแหล่งปลูกสำคัญ ได้แก่ แหล่งปลูกดอยอินทนนท์ หมู่บ้านขุนกลาง จะผลิตดอกเบญจมาศ เยียบีร่า ดอกเข้าพรรษา หน้าวัว บัวสวรรค์ คัตเตอร์ โปงแยงแม่ริม จะผลิตดอก มัมเยียบีร่า กุหลาบ เข้าพรรษา หน้าวัวบัวสวรรค์ คัตเตอร์ อำเภอแม่วางจะผลิต ดอกสร้อยทอง ส่วนบริเวณอำเภอแม่แตง บ้านแม่แฮ บริเวณม่อนยะ จะผลิต ดอกสแตตีสและยิปโซ สำหรับแหล่งปลูกบวกเต๋ย เชียงราย และ ลำปาง จะผลิต กุหลาบ กล้วยไม้ จะซื้อจากสองแหล่งคือ เชียงใหม่และกรุงเทพฯ สำหรับดอกคาร์เนชั่น เกือบทั้งหมดสั่ง มาจากคนกลางจีน (คุณหมิง) และยิปโซ บางฤดูจะส่งจากจีนเช่นกัน ผลิตภัณฑ์ดอกไม้สดบางประเภทจะมีการคัดเกรดก่อนซื้อขาย ซึ่งราคาผันแปรจะผันแปรไปตามเกรด โดยการคัดเกรดจะเป็นไปตามมาตรฐานความต้องการของตลาด บางรายจะมีการลงทุนให้เกษตรกร และมารับผลผลิตเมื่อเก็บเกี่ยว ชำระเงินเป็นรายเดือน ในด้านความต้องการของผู้บริโภค ผลการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อการบริโภคผัก ผลไม้ และดอกไม้ จำนวน 120 ราย มาจากผัก 40 ผลไม้ 40 และดอกไม้ 40 ราย ช่วงเดือน มีนาคม 2559 โดยผู้ตอบส่วนมาก มีอายุ 20 ถึง 39 ปี รายได้ช่วง 10,000 ถึง 29,000 บาทต่อเดือน มากที่สุด พบว่า ด้านการบริโภคผักสด ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมาก จะซื้อผักสดอาทิตย์ละ 1 ครั้ง จากตลาดชุมชนต่างๆ รองลงมาจะซื้อจากตลาดสดทั่วไป โดยจะซื้อทั้งผักไร้สาร ผักอินทรีย์ และผักทั่วๆไปคละกันแล้วแต่สะดวก ผักที่บริโภคประจำได้แก่ แตงกวาญี่ปุ่น พริกหวาน ฟักจานบิน ฟักทองขาว มะเขือม่วงก้านดำ เป็นต้น และผักที่เป็นที่ต้องการแต่มักขาดตลาดได้แก่ ถั่วฝักยาว ถั่วหวาน คะน้า และ คะน้าฮ่องกง เป็นต้น ปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อ ได้แก่ ความสด สถานที่จำหน่ายความสะดวก ขนาดและคุณภาพผัก ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับตราผลิตภัณฑ์ และการเป็นผักปลอดสารมากนัก ด้านผลไม้ พบว่า มีการซื้อประมาณอาทิตย์ละครั้ง ตามซูปเปอร์มาร์เก็ต ตลาดสดทั่วไป และร้าน(แผง) ผลไม้ โดยไม่สนใจแหล่งที่มา และไม่สนใจว่าเป็นผักไร้สารตกค้างหรือเป็นผลไม้อินทรีย์ ผลไม้ที่นิยมบริโภคได้แก่ แตงโม สับปะรด ส้ม ผลไม้เมืองหนาวที่นิยมได้แก่ องุ่น สาลี่ สตรอเบอรี่ กีวี่ และเสาวรส ผลไม้เมืองหนาวที่เป็นที่ต้องการแต่มักขาดตลาดได้แก่ องุ่นดำ (ไม่มีเมล็ด) สตรอเบอรี่ องุ่น เชอรี่ ลูกพีช ลูกพลับ อโวกาโด ปัจจัยหลักในการเลือกซื้อคือความสด ขนาดและคุณภาพของผลไม้ และสถานที่สะดวก ในส่วนของดอกไม้สด ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากจะซื้อสัปดาห์ละ 1 ครั้งเช่นกัน โดยซื้อจากตลาดสดแบบเป็นมัดประเภทเดียวกันแล้วไปจัดแจงกันเอง ไม่สนใจเรื่องยาฆ่าแมลง ดอกที่นิยมซื้อได้แก่ ดอกเบญจมาศ(ช่อ) กุหลาบ ดอกเบญจมาศ(เดี่ยว)ตามลำดับ ดอกไม้ที่ต้องการแต่มักขาดตลาดมีจำหน่ายน้อย ปัจจัยสำคัญในการซื้อได้แก่ ความสดของดอกไม้ สถานที่สะดวกในการซื้อ และราคาไม่ต่างจากท้องตลาดมาก
บทคัดย่อ (EN): This research is to study market potential in the Royal Project Extension Areas (RPEAs). The main objective of this study is to examine the situation of production, and marketing of three agricultural product groups–vegetable crops, fruits, and flowers–in the eleven study areas within the Mae Ping river basin. This study analyzes the merchant middlemen intermediaries and consumers’ needs, in order to determine market potential and strategies for the RPEAs in study areas. The data gathering methods used in the study are; interviews, and focus groups discussion. In addition, secondary data from several sources such as census data, statistical reports, electronic data, and published data from both government and public sector, are also used to analyze the overall situation of this study. The marketing channel study surveyed sixty wholesalers, retailers, and consumers in Chiang Mai and Kamphaeng Phet province from April to June, 2015. The results of this study indicated that five of overall respondents are fruit wholesalers and retailers, who identified that the fruits they sell include mango, passion fruit, gooseberry, strawberry, avocado, seedless grape, and plum. The majority responded that these produce are sourced from the RPEAs and wholesalers from Muangmai market in quantities of ten-kilogram bags, and later resold at Mae Hea, Baan Ta Wai, Phu Doi market, or sent to refrigerated rooms in Uttaradit by truck. From the findings, which show that the daily demand exceeds the supply, a suggestion for the RPEAs is to increase the fruit production in order to fulfill the daily demand of the market. Twenty-five of overall respondents are vegetable wholesalers and retailers, whose selling products include Chinese kale, baby Chinese kale, various types of lettuces, cabbage, sweet corn, bell pepper, and tomato. The majority responded that these produce are sourced from the RPEAS as well as other farmers in quantities of ten-kilogram bags, and later resold at Muangmai and Baan Sam markets, or sent to Nong Dok Song Len market. According to the findings, a suggestion is to expand the production of vegetables above, in which they are not yet produced by the RPEAs but appeared in high demand and sourced elsewhere. Seven of overall respondents are flower wholesalers and retailers, who sold ornamental (house plant) flowers. These produce were supplied from JJ, Sanamluang, Klong Sibha markets in Bangkok, and Prachinburi, while few were sourced in Chiang Mai. The price of these flower plants have remained stable at about ten baht per unit. Consumers of these flower plants are mostly government offices and event planing agencies. In addition, cut-flowers were sourced from Doi Inthanon, Kun Klang village, Pongyang, Mae Wang, Mae Rim, Chiang Rai, Lampang, and China. The price of these flowers vary according to their evaluated quality, grade, and the season. Cut-flowers farmers either are contracted for whole crops, elicit and take orders from merchant middlemen for picking up, or taking their harvests to market directly themselves. In the aspect of customer demand, the study was conducted on surveying the customer’s behavior of 120 people, who are 20-39 years old with 10,000 to 29,000 baht monthly income, in Chiang Mai City during March, 2016. The result of this study found that for vegetables, the consumers buy fresh vegetables once a week primarily from local markets and secondary from central markets. In general, they buy non-pesticide, organic, and other vegetables depending on the availabilities of products. Regular vegetables consumption are Japanese cucumbers, sweet peppers, pattypan squashes, Lumina pumpkins, and egg plants. Nonetheless, long beans, sweet beans, kale and Chinese kale, which are highly demanded, are usually short in supply. Consumer purchasing preferences for vegetables are freshness, size, quality, and the ease of locations of the stores. However, brands and pesticide usage on the products are not importantly taken into their consideration. For fruits, the consumers buy fruits once a week from supermarkets, central fresh markets, and street fruit vendors. As found in the case of vegetables, fruit consumers do not pay attention too much on brands and pesticide usage. Favored fruits are watermelons, pineapples, oranges, grapes, pears, strawberries, kiwis, and passion fruits. Cold climate fruits like seedless grapes, strawberries, grapes, cherries, and avocados are usually lack of supply. Likewise, freshness, size, quality, and buying locations are the main factors that affect the fruit consumers’ buying decision. For flowers, the majority of consumers also buy flowers once a week mostly from fresh market. The flowers are usually purchased in the form of sheaves and then rearranged by the buyers. Pesticide usage is not concerned by most buyers in this case. The most popular flowers are; chrysanthemums, and following by roses, respectively. Typically, flowers are not insufficient in the market. Consumer purchasing preferences are freshness, and buying locations which have the reasonable price.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยศักยภาพด้านการตลาดในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2559
โครงการวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตกาแฟในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง โครงการวิจัยพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าหัตถกรรมโดยการจัดการห่วงโซ่การผลิตและการตลาดในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการขยายผลโครงการหลวง โครงการวิจัยศักยภาพการผลิตและการตลาดไม้ดอกโครงการหลวง โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดกาแฟ อราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการตลาดกาแฟในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการขยายผลโครงการห โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงวาวี การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดพืชผักในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง ชุดโครงการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดดอกเบญจมาศ โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาตลาดคู่แข่ง วิเคราะห์ศักยภาพในการผลิตเบญจมาศ โครงการวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และการตลาดผักอินทรีย์โครงการหลวง โครงการศึกษาโอกาสทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกชุมชนของสินค้าเกษตรในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงแม่สลอง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก