สืบค้นงานวิจัย
การดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในภาคใต้
จินตนา วิสารทพงศ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในภาคใต้
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จินตนา วิสารทพงศ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง การดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรใน ภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานและผลการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการดังกล่าวในการเก็บรวมรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ ซึ่งแบ่งการสัมภาษณ์ออกเป็น 2 ชุด คือ สัมภาษณ์คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวน 45 กลุ่ม และสัมภาษณ์สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวน 168 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS หาค่าสถิติร้อยละ และค่ามัชณิมเลขคณิต สรุปผลการวิจัย ดังนี้ ข้อมูลพื้นฐานบางประการ พบว่า สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเข้าร่วมโครงการเฉลี่ย กลุ่มละ 25 คน สมาชิกมีอายุเฉลี่ย 46 ปี สำหรับการจัดทำผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ร้อยละ 71.1 เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร และ กลุ่ม ร้อยละ 28.9 จัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทไม่ใช่อาหาร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียน เฉลี่ยกลุ่มละ 107,060.2 บาท การดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแบ่งออกเป็น 3 ด้าน กล่าวคือ 1) ด้านการบริหารจัดการ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ร้อยละ 88.9 มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ และกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทุกกลุ่มมีการตั้งกฎระเบียบหรือกติกา กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ร้อยละ 86.7 ได้ถือปฏิบัติตามกฎระเบียบที่วางไว้ กลุ่มแม่บ้าเกษตรกร ร้อยละ 93.3 มีการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิก กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ร้อยละ 95.6 ได้รับความรู้เพิ่มเติมจากการเข้าร่วมโครงการ และกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ร้อยละ 82.2 มีการออมเงินของกลุ่ม กลุ่มร้อยละ 91.1 มีการระดมหุ้น ๆ ละ 980 บาท/คน 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ร้อยละ 84.4 มีการวางแผนการผลิต และร้อยละ 60.0 มีการวางแผนการตลาด กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ร้อยละ 80.0 มีการใช้เครื่องมือ-อุปกรณ์ทุ่นแรงในการผลิต ด้านการรับรองเครื่องหมายมาตรฐานสินค้า กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ร้อยละ 71.1 ได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร 3) ด้านการตลาด กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ร้อยละ 73.3 มีการวางแผนด้านการตลาด และกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ร้อยละ 97.8 เป็น ผู้กำหนดราคาสินค้าของกลุ่มเอง จากการศึกษา พบว่า สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีรายได้จากการแปรรูปสินค้าเกษตรก่อนเข้าร่วมโครงการ เฉลี่ย 1,472.0 บาทต่อคนต่อเดือน และภายหลังการเข้าร่วมโครงการสมาชิกของกลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้น เฉลี่ย 4,625.8 บาทต่อคนต่อเดือน สำหรับประโยชน์ที่สมาชิกได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ สมาชิกกลุ่มตอบ ดังนี้ 1) การถ่ายทอดความรู้ ได้รับประโยชน์ ร้อยละ 71.4 2) การเพิ่มมูลค่าผลผลิตเกษตร ได้รับประโยชน์ ร้อยละ 80.4 3) การนำความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพ ได้รับประโยชน์ ร้อยละ 75.6 4) การสร้างเครือข่ายการผลิต ได้รับประโยชน์ ร้อยละ 53.6 5) การสร้างเครือข่ายการตลาด ได้รับประโยชน์ ร้อยละ 58.9 6) การพัฒนาสังคมและชุมชนได้รับประโยชน์ ร้อยละ 69.0 7) ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับประโยชน์ ร้อยละ 66.7 8) การเพิ่มรายได้ของครอบครัว ได้รับประโยชน์ ร้อยละ 86.9 9) การจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกได้รับประโยชน์ ร้อยละ 69.0 10) การติดตามประเมินผลงาน ได้รับประโยชน์ ร้อยละ 75.6 11) การสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐและเอกชนได้รับประโยชน์ ร้อยละ 81.5 และ 12) การพัฒนาคุณภาพชีวิตได้รับประโยชน์ ร้อยละ 82.7 สำหรับด้านความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ สมาชิกกลุ่มตอบ ดังนี้ 1) การสนับสนุนความรู้และเทคโนโลยีการแปรรูปสินค้า มีความพึงพอใจ ร้อยละ 87.5 2) การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ มีความพึงพอใจ ร้อยละ 80.4 3) การบริหารจัดการกลุ่ม มีความพึงพอใจ ร้อยละ 75.0 4) การจัดทำกิจกรรมตามโครงการ มีความพึงพอใจ ร้อยละ 81.0 5) การสนับสนุนงบประมาณ และการเบิกจ่าย มีความพึงพอใจ ร้อยละ 72.0 6) การสร้างงาน สร้างรายได้ มีความพึงพอใจ ร้อยละ 81.0 7) การดำเนินโครงการทำให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจของชุมชน มีความพึงพอใจ ร้อยละ 60.1 8) การติดตามประเมิลผลโครงการ มีความพึงพอใจ ร้อยละ 82.1 สำหรับปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ พบว่า กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ร้อยละ 66.7 ของกลุ่มทั้งหมดมีปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงาน ดังนี้ 1) ด้านการตลาด ร้อยละ 36.7 2) ด้านบรรจุภัณฑ์และฉลาก ร้อยละ 20.0 3) สถานที่ทำการผลิต ร้อยละ 16.7 4) การบริหารจัดการกลุ่ม ร้อยละ 13.3 5) ด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ ร้อยละ 33.3 6) เงินทุนหมุนเวียนของกลุ่ม ร้อยละ 23.3 และ 7) ด้านการประชาสัมพันธ์ ร้อยละ 3.3 สำหรับปัญหาของสมาชิก ร้อยละ 16.6 มีปัญหาด้านการดำเนินงาน คือ 1) การขาดความรู้ ร้อยละ 46.4 2) ไม่มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 42.8 3) การลงหุ้นหรือระดมทุน ร้อยละ 39.3 และ 4) การแบ่งปันผลกำไร ร้อยละ 14.2
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
เอกสารแนบ: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/146243
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ภาคใต้
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในภาคใต้
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
เอกสารแนบ 1
การดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดปราจีนบุรี ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสำเร็จการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร : ศึกษาเฉพาะกรณีกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหลักสอง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดสุโขทัย การดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดสระบุรี ปี 2544-2545 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรเชิงธุรกิจในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร :กรณีศึกษาโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรเชิงธุรกิจในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี ผลการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาดอกไม้ ตำบลชนบท อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ที่มีต่อโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ปี 2545 สภาพการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จในการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรของอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี สภาพการผลิตและการตลาดพืชผักของเกษตรกรในภาคใต้

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก