สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาระบบการขับเคลื่อนของเครื่องอัดฟางข้าว
ชัชชัย ชัยสัตตปกรณ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาระบบการขับเคลื่อนของเครื่องอัดฟางข้าว
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Driving system for Baler
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชัชชัย ชัยสัตตปกรณ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ชัชชัย ชัยสัตตปกรณ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ได้ดำเนินการสำรวจเกี่ยวกับการใช้เครื่องอัดฟางแบบต่างๆ ที่มีในประเทศพบว่า เครื่องอัดฟางที่ เกษตรกรใช้งานอยู่มี 2 ชนิด คือ แบบทำงานอยู่กับที่ และแบบทำงานอัตโนมัติ แบบทำงานอยู่กับที่ต้อง อาศัยแรงงานในการป้อนและมัดฟาง จึงต้องใช้แรงงานจำนวนมากในการปฏิบัติงาน แต่มีข้อดีคือ มีราคา ถูก การซ่อมแซมบำรุงรักษาทำได้ง่าย และสามารถผลิตได้เองในประเทศ สำหรับเครื่องแบบทำงาน อัตโนมัติเป็นเครื่องที่ ใช้กับรถแทรกเตอร์ มีระบบเก็บรวบรวมฟางข้าวในแปลง ระบบอัดและระบบมัด ฟาง ซึ่งสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ จึงสามารถใช้ผู้ปฏิบัติงานเพียงคนเดียวได้ แต่มีข้อเสียคือ เครื่อง มีราคาแพง การซ่อมแซมบำรุงรักษาทำได้ยากและเครื่องส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือสองที่นำเข้าจาก ต่างประเทศ จากการทดสอบเครื่องทั้งสองชนิดพบว่า เครื่องอัดฟางแบบทำงานอยู่กับที่มีอัตราการทำงาน ประมาณ 30-50 ก้อน/ชั่วโมง ในขณะที่เครื่องแบบทำงานอัตโนมัติมีอัตราการทำงานประมาณ 100-150 ก้อน/ชั่วโมง สำหรับต้นทุนการผลิตฟางแท่งอัดก้อนเมื่อไม่คิดคำนวณด้นทุนของราคาเครื่องพบว่า เครื่องอัดฟางแบบทำงานอยู่กับที่มีต้นทุนการผลิตฟางแห่งอัดก้อนที่แพงกว่า เนื่องจากต้องใช้แรงงานใน การปฏิบัติงานโดยเฉพาะในส่วนของการป้อนฟางมาก จึงได้ดำเนินการพัฒนาเครื่องอัดฟางแบบทำงาน อยู่กับที่ ซึ่งเป็นเครื่องที่ผลิตในประเทศ ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยดำเนินการ พัฒนาในส่วนของระบบการป้อนและมัดฟาง เพื่อลดแรงงานและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานของเครื่อง ชนิดนี้ลง จากการทดสอบเครื่องที่พัฒนขึ้นพบว่า มีอัตราการทำงานประมาณ 28 ก้อน/ชั่วโมง อัตราการ สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง 0.75 ลิตร/ชั่วโมง ใช้ผู้ปฏิบัติงาน 3 คน สามารถลดแรงงานในการปฏิบัติงาน ลงได้ 1-2 คนเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องแบบเก่า และจากการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์พบว่ามี จุดคุ้มทุนของการใช้เครื่องประมาณ 866 ก้อน/ปี
บทคัดย่อ (EN): There are two types of baler being used by farmers in Thailand, first is stationary and the second is full automatic type. The stationary baler is manual operating, low price, simple and easy maintenance. The full automatic baler is higher efficiency, driven by farm tractor, one man operated but the machine is much more expensive and required high technology to operate, repair and maintenance. By testing with the farmers, the working capacity of stationary baler is 30-50 bales/hour and the full automatic type is 100-150 bales/hour cost of bale from stationary baler is higher from the automatic type because it need much more man power to operate the machine. This research project has developed the prototype of stationary baler to reduce man power from 4-6 to 3 operators, working capacity is 28 bales/hour, fuel consumption is 0.75 litre/hr. and break even point is 866 bales/ years.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาระบบการขับเคลื่อนของเครื่องอัดฟางข้าว
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
การพัฒนาเครื่องอัดแท่งเชื้อเพลิงจากฟางข้าวแบบครบวงจร โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องอัดฟางข้าว ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวปรับปรุงดินและผลผลิตข้าว การจัดการฟางข้าวเพื่อการปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว ผลการใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวปรับปรุงดินและผลผลิตข้าว ผลของฟางข้าวต่อการเกิดและปลดปล่อยก๊าซมีเทน จากนาข้าว การใส่ปุ๋ยคอก ฟางข้าวและปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านข้าวแห้งในเขตทุ่งกุลาร้องให้ การศึกษาการใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวระยะยาวต่อสรีรนิเวศน์ของข้าวและสมบัติของดินที่สถานีทดลองข้าวพิมาย การใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าวระยะยาวต่อสรีร-นิเวศน์วิทยาของข้าวและสมบัติของดิน ที่สถานีทดลองข้าวสุรินทร์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก