สืบค้นงานวิจัย
ความคิดเห็นของข้าราชการสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ดต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตร ปี 2542
รตี เหงาจิ้น - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของข้าราชการสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ดต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตร ปี 2542
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รตี เหงาจิ้น
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: รายงานการศึกษาความคิดเห็นของข้าราชการสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ดต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของข้าราชการสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด ต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี ในการดำเนินการประเมินผล กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยส่งแบบสอบถามให้เจ้าหน้าที่จำนวน 201 คน และส่งแบบสอบถามคืน จำนวน 183 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าสถิติร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ข้าราชการสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ดส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 39-45 ปี วุฒิการศึกษาจบปริญญาตรี สถานภาพแต่งงานมีครอบครัวแล้ว สถานภาพการเป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าพนักงานการเกษตร (เกษตรตำบล) อายุรับราชการระหว่าง 15-21 ปี สำหรับความคิดเห็นของข้าราชการสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด ต่อวัตถุประสงค์การประเมินผลการปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับประเด็นใช้ประกอบการปรับปรุงและเพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ใช้ประกอบการเลื่อนขั้นเงินเดือน ใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการ ใช้ประกอบการพิจารณาฝึกอบรม ใช้ประกอบการพิจารณาให้รางวัลจูงใจสำหรับประเด็นการนำผลการประเมินมาใช้ประกอบการพิจารณาให้ออกจากราชการ ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ความคิดเห็นต่อเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่เห็นด้วยทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านผลงานประกอบด้วย คุณภาพงาน ระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงาน การนำผลงานไปใช้ประโยชน์ ปริมาณงาน ด้านคุณลักษณะงานประกอบด้วย ความรับผิดชอบ ความอุตสาหะ การรักษาวินัย ความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน การปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ ความรู้ทางวิชาการความชำนาญในการทำงาน การวางแผนควบคุมติดตามผลการปฏิบัติงานและพัฒนางาน การปกครองบังคับบัญชา การแนะนำและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา และความสามารถในการวิเคราะห์ด้านองค์ประกอบอื่น ๆ พิเศษประกอบด้วย การได้รับคัดเลือกเป็นข้าราชการดีเด่น และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับความคิดเห็นต่อวิธีการที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่เป็นด้วยทั้ง 8 ประเด็น คือ ให้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบตามตำแหน่ง ให้มีการรายงานความก้าวหน้าและความสำคัญของงานอย่างต่อเนื่อง ให้มีมาตรฐานเป้าหมายงานหรือตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน ให้มีการจัดทำข้อตกลงในการปฏิบัติงานไว้เป็นการล่วงหน้าตามความเหมาะสม (กำหนดผลงาน ระยะเวลา ผลลัพธ์) การประเมินผลการปฏิบัติงานอยู่ในรูปคณะกรรมการ ให้มีการประเมินผล อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง การประเมินผลการปฏิบัติงานตามสายการบังคับบัญชา และให้มีการบันทึกผลการปฏิบัติงานไว้เป็นระยะ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประเมินและชี้แจงผู้อื่นได้ ความคิดเห็นต่อหลักการปฏิบัติในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการ ส่วนใหญ่เห็นด้วยทั้ง 5 ประเด็น คือ เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาชี้แจงให้ความเห็น ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการประเมินก่อนมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้ประกาศเกณฑ์และมาตรฐานการประเมินความดีความชอบ เพื่อการเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้ทราบโดยทั่วกันก่อนที่จะดำเนินการ ให้ประกาศรายชื่อผู้อยู่ในข่ายได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน 2 ขั้น 1.5 ขั้น 1 ขั้น .5 ขั้น และไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนที่เปิดเผยให้รับทราบโดยทั่วกันทุกครั้ง ให้มีการชี้แจงผลการประเมินให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบทุกครั้ง และให้เวียนหนังสือหรือปิดประกาศคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ข้ารากชารทราบทุกคน การวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลของการศึกษานี้พอที่จะให้ข้อเสนอแนะที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง เพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผล การปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด ดังนี้ 1) จากผลการสำรวจความคิดเห็นพบว่า ข้าราชการสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ดให้ความสำคัญและเห็นด้วยกับการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุง เพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ประกอบการพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการ และเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี ในทางปฏิบัติผู้บังคับบัญชาค่อยนำไปใช้หรือไม่ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะในเรื่องของการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น คงมีใช้ให้เห็นเป็นรูปธรรมเฉพาะการเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีเท่านั้น ฉะนั้นผู้บังคับบัญชาทุกระดับควรกำหนดไว้ในหลักการปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งตำแหน่งที่สูงขึ้น การฝึกอบรม หรือศึกษาดูงานต่าง ๆ ควรให้ทุกหน่วยงานใช้ผลประเมินการปฏิบัติงานประกอบด้วยทุกครั้ง จะทำให้เจ้าหน้าที่มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น 2) เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยเฉพาะปริมาณงานควรจะเน้นเรื่องคุณภาพของผลงานและการนำไปใช้ประโยชน์ เพราะในแง่ของการส่งเสริมการเกษตรผลงานเชิงคุณภาพจะเป็นสิ่งที่ยั่งยืนกว่าปริมาณ ประกอบกับปัจจัยรอบข้างมีอิทธิพลสูงมาก เช่น ผู้รับผิดชอบตำบลที่มีทรัพยากรหรือศักยภาพของพื้นที่ดีพร้อมจะทำให้ได้เปรียบในเชิงปริมาณ จึงควรใช้คุณภาพเป็นเกณฑ์การประเมินผล 3) การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ผู้ถูกประเมินเท่านั้น จึงเป็นเสียงสะท้อนจากด้านเดียว ดังนั้น ควรจะมีการศึกษาจากผู้บังคับบัญชาทุก ๆ ระดับเพื่อให้เกิดความถูกต้องแนะนำผลการประเมินไปใช้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ) อันจะมีผลทำให้การปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการบรรลุเป้าหมายต่อไป 4) ควรมีการประเมินผลข้าราชการทุกระดับชั้นเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของแต่ละตำแหน่งที่รับผิดชอบ 5) ผลจากการประเมินเจ้าหน้าที่ทุกระดับชั้นจะต้องนำไปปรับปรุง เพื่อพัฒนาตนเองและหน่วยงานให้เจริญก้าวหน้าขึ้นไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2542
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2543
เอกสารแนบ: https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/152807
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความคิดเห็นของข้าราชการสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ดต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตร ปี 2542
กรมส่งเสริมการเกษตร
2543
เอกสารแนบ 1
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของข้าราชการในสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดเลย ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคและสนับสนุนการปฏิบัติงานของนักวิชาการเกษตรประจำสำนักงานเกษตรจังหวัด สภาพการปฏิบัติงานของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดร้อยเอ็ด การประเมินผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครเกษตรโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน ปี 2551 การปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในจังหวัดชัยภูมิ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรตามระบบส่งเสริมการเกษตรในเขตจังหวัดชลบุรี การปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดยะลา การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรตามระบบส่งเสริมการเกษตรในเขตจังหวัดจันทบุรี การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรตามระบบส่งเสริมการเกษตรในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา บทบาทของวิทยาลัยเกษตรกรรมในการสนับสนุนงานส่งเสริมการเกษตรของจังหวัดตามทรรศนะของผู้บริหารสำนักงานเกษตรจังหวัด

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก