สืบค้นงานวิจัย
ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมปูนสำเร็จรูปเป็นแหล่งแคลเซียมในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพไข่ และคุณลักษณะของเปลือกไข่ในช่วงระยะเริ่มให้ผลผลิตไข่
จักรกฤษ ไตรพรม - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมปูนสำเร็จรูปเป็นแหล่งแคลเซียมในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพไข่ และคุณลักษณะของเปลือกไข่ในช่วงระยะเริ่มให้ผลผลิตไข่
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of using dry mortar aggregated product as calcium source in laying hen diet on layer performance, egg quality and eggshell characteristics in early egg production period
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จักรกฤษ ไตรพรม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chakkrit Traiprom
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์มวลรวมปูนสำเร็จรูปในการเป็นแหล่ง แคลเซียมทางเลือกในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่ไข่ คุณภาพข่ และคุณลักษณะของเปลือกไข่ในช่วง ระยะเริ่มให้ผลผลิตไข่ โดยใช้ไก่ไข่พันธุ์ Lohmann Brown จำนวน 360 ตัว ที่อายุ 24 สัปดาห์ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ซ้ำ ซ้ำละ 15 ตัว ใช้แผนการทดลองแบบสุมสมบูณ์ ให้ไก่ไข่ได้รับอาหารทดลองที่มีแหล่งแคลเซียมแตกต่างกัน ดังนี้คือ 1) หินเกล็ดขนาดอนุภาค 3.0-5.0 มม. 2) DMAP ขนาดอนุภาค 1.4-3.0 มม. 3) DMAP ขนาดอนุภาค 1.4-3.0 มม. 50% ร่วมกับ DMAP ขนาดอนุภาค 75 ไมครอน 50% และ 4) DMAP ขนาดอนุภาค 75 ไมครอน ทำการทดลองเป็นระยะ เวลาทั้งหมด 8 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า แหล่งของแคลเซียมและขนาดอนุภาคที่แตกต่างกันในอาหารไก่ไข่ ไม่ส่ง ผลกระทบต่อสมรรถภาพการผลิตไก่ไข่ P>0.05) อย่างไรก็ตาม ไก่ไข่ในกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีหินเกล็ดขนาดอนุภาค 3.0-5.0 มม. และ DMAP ขนาดอนุภาค 1.4-3.0 มม. มีความสูงไข่ขาว ค่าฮอฬยูนิต และเปอร์เซ็นต์แคลเซียมเปลือกไข่สูง ที่สุด (P<0.01) ขณะที่ไก่ไข่ในกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มี DMAP ขนาดอนุภาคประมาณ 75 ไมครอน หรือ 50% DMAP ขนาดอนุภาค 1.4-3.0 มม. ร่วมกับ 50% DMAP ขนาดอนุภาคประมาณ 75 ไมครอน มีความสูงไข่ขาว ค่าฮอยูนิต และ เปอร์เซ็นต์แคลเซียมเปลือกไข่ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) ผลการทดลองนี้ซื้ให้เห็นว่า DMAP ขนาดอนุภาค 1.4-3.0 มม. สามารถใช้เป็นแหล่งแคลเซียมได้ดีเทียบเท่าหินเกล็ด โดยไม่ส่งผลต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพไข่ และ คุณลักษณะเปลือกไข่ระหว่างช่วงอายุ 24-32 สัปดาห์
บทคัดย่อ (EN): An experiment was conducted to determine effect of using dry mortar aggregated product (DMAP) as alternative calcium source in laying hen diet on layer performance, egg quality and eggshell characteristics in early egg production period. Three hundred and sixty laying hen (Lohmann brown) at 24 weeks of age were randomly assigned into 4 dietary treatments. Each treatment consisted of 6 replications with 15 birds each. Laying hen was kept in cage (3 birds per cage). The experimental diets were 1) limestone particle size 3.0-5.0 mm, 2) DMAP particle size 1.4-3.0 mm, 3) DMAP particle size 1.4-3.0 mm 50% and DMAP particle size 75 micron 50%, 4) DMAP particle size 75 micron. The experimental was conducted for 8 weeks. The different calcium sources and particle sizes in laying hen diets had no significant effect on layer performance (P>0.05). However, the highest albumen height, haugh unit and calcium of eggshell were found in laying hen fed limestone particle size 3.0-5.0 mm and DMAP particle size 1.4-3.0 mm (P<0.01). Feeding DMAP particle size 75 micron or 50% DMAP particle size 1.4-3.0 mm with 50% DMAP particle size 75 micron to laying hen caused a significant reduction in albumen height, haugh unit and calcium of eggshell (P<0.01). The result of this study indicated that DMAP particle size 1.4-3.0 mm can be used in laying hen diet as a good source of calcium as limestone without any adverse effect on layer performance, egg quality and eggshell characteristics during 24-32 weeks of age.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=03 Chakkrit1.pdf&id=2933&keeptrack=1
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมปูนสำเร็จรูปเป็นแหล่งแคลเซียมในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพไข่ และคุณลักษณะของเปลือกไข่ในช่วงระยะเริ่มให้ผลผลิตไข่
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2560
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของการเสริมกากข้าวโพดในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่ไข่และคุณภาพไข่ ผลการเสริมไฟโตไบโอติกส์ในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ ผลของการเสริมสารประกอบ Ceraclean® ในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตคุณภาพไข่ และความแข็งแรงกระดูกของไก่ไข่ ผลการเสริมสารอิมัลซิไฟเออร์ที่ให้โภชนะในอาหารไก่ไข่ต่อการย่อยได้ ของโภชนะ สมรรถภาพการผลิต โลหิตวิทยา และการผลิตไข่ไก่เพื่อสุขภาพ ผลการเสริมเลซิตินถั่วเหลืองในอาหารไก่ไข่ต่อการย่อยได้ของโภชนะ สมรรถภาพการผลิต และคุณภาพไข่ ผลของการเสริมเปลือกกล้วยหมักร่วมกับยีสต์ในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ของเป็ดไข่ ผลของการใช้ไขมันจากโคพื้นเมืองทดแทนน้ำมันปาล์มในอาหารต่อ สมรรถภาพการผลิตของไก่ไข่ อิทธิพลของสารสกัดจากใบบัวต่อการผลิตของไก่ไข่ คุณภาพไข่ และโคเลสเตอรอลในไข่แดง ผลการใช้กากมันสำปะหลังหมักต่อสมรรถภาพการผลิตในเป็ดไข่รุ่น ผลของการเสริมใบชะพลูในอาหารต่อสมรรถภาพ คุณภาพไข่ และปริมาณเชื้อแบคทีเรียในมูลของเป็ดไข่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก