สืบค้นงานวิจัย
การลดต้นทุนการผลิตข้าว จังหวัดนครนายก
สมโรจน์ ประกอบบุญ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การลดต้นทุนการผลิตข้าว จังหวัดนครนายก
ชื่อเรื่อง (EN): Rice production cost reduction in Nakhonnayok Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมโรจน์ ประกอบบุญ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Somrote Prakobboon
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วรรณพรรณ จันลาภา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Wannaphan Janlapa
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ประสิทธิภาพการผลิตต่ำและต้นทุนการผลิตสูง เป็นจุดอ่อนของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการผลิตข้าวของประเทศไทย การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตข้าวและหาแนวทางการลดต้นทุนการผลิตข้าวแบบเกษตรกรมีส่วนร่วมเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชาวนา การจัดทำแปลงเรียนรู้ทดสอบเทคโนโลยีจากการทำเวทีชุมชนพื้นที่ หมู่ที่ 5,7 ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ปลูกข้าวโดยวิธีหว่านน้ำตมอัตราเมล็ดพันธุ์ 20 กิโลกรัมต่อไร่ มีการสุ่มสำรวจโรคและแมลงทุกวัน หลังจากการหว่าน 15 วัน ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 30 กิโลกรัมต่อไร่ ปุ๋ยเคมี 25 กิโลกรัมต่อไร่ เปรียบเทียบกับแปลงใกล้เคียงเกษตรกรนอกโครงการ สามารถลดต้นทุน 960 บาทต่อไร่ หรือ 2,159 บาทต่อตัน รายได้เพิ่มขึ้น 1,080 บาทต่อไร่ และการทำแปลงส่งเสริมในโครงการ โดยนำเทคโนโลยีจากแปลงเรียนรู้ไปปรับใช้ เปรียบเทียบกับแปลงเกษตรกรใกล้เคียง สามารถลดต้นทุนได้ 730.42 บาทต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 17.24 ผลผลิตเพิ่มขึ้น 69.18 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.18 รายได้เพิ่มขึ้น 1,038 บาทต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.18 ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 1,768.44 บาทต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 25 หรือ 1,635.15 บาทต่อตัน คิดเป็นร้อยละ 21 และในปี 2557 ได้จัดทำเรียนรู้ในพื้นที่ หมู่ที่ 3 ตำบลศีรษะกระบือ อำเภอองครักษ์ ปลูกข้าวโดยวิธีหว่านน้ำตม อัตราเมล็ดพันธุ์ 15 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตสูงสุด 1,243 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ความชื้นร้อยละ 14 หรือ 1,388 กิโลกรัมต่อไร่ ความชื้นร้อยละ 23 รายได้สุทธิ 7,184.35 บาทต่อไร่ หรือ 5,180 บาทต่อตัน
บทคัดย่อ (EN): Low production efficiency and high production costs are the weakness in the SWOT analysis of rice production Thailand. Participatory cost analysis and searching for cost reduction of rice production might strengthen the rice farmers. During 2011 - 2013, we conducted community based pilot trails in the village 5 and 7, Thachang Subdistrict, Muang District, Nakhonnayok Province. After community meeting to identify local rice production problems and selected the pilot field, the field was prepared and planted with pre-germinated seed broadcasting at the rate of 20 kg/ha. Insect and pest were observed daily. At 15 days after planting, 30 kg/ha organic fertilizer and 25 kg/ha chemical fertilizer was applied to the field. Comparing production cost and yield to the neighboring farmers outside the project, operation in the pilot field could reduce costs 960 baht/rai or 2,159 baht/ton and increase income 1,080 baht/rai and the conversion of the project. The farmers adopted technology from the pilot field, when compared to neighboring farmers, found 17.24 % cost reduction (or 730.42 baht/rai), 9.18 % yield increase (or 69.18 kg/rai) , 9.18 % increase income per area (or 1,768.44 baht/rai ), and increase 25 % profits per area (1,768.44 baht/rai) or 21 % profit per yield (1,635.15 baht / ton). In 2014, another pilot trial was conducted in village 3, Srisakrabue Subistrist, Ongkarak District, Nakorn Nayok Province, with pre-germinated seed broadcasting at the rate of of 15 kg/ha, provided maximum yield 1,243 kg/ha at 14 % moisture content (or 1,388 kg / ha at 23 % moisture content) and net income 7184.35 bath/ha or 5,180 baht/ton.
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/328754
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การลดต้นทุนการผลิตข้าว จังหวัดนครนายก
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
ลดต้นทุนการผลิตข้าว การปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร เทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิตข้าวโดยใช้เครื่องหยอดข้าวงอก การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าว ในแหล่งปลูกข้าวภาคใต้ การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตข้าวในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก การจัดการเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมเพื่อการลดต้นทุนการผลิตข้าวในเขตนาชลประทาน การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการลดต้นทุนการผลิตข้าวพื้นที่จังหวัดสระบุรี การแข่งขันการลดต้นทุนการผลิตข้าวในนาชลประทานเขตกรุงเทพมหานคร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก