สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตการตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
สมทบ พู่เข็มประยูร - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตการตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมทบ พู่เข็มประยูร
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร ศึกษาสภาพการผลิตการตลาดมะขามเปรี้ยวและศึกษาปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ในการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรในอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ เกษตรกรที่ปลูกมะขามเปรี้ยว จำนวน 5 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลโนนกลาง ตำบลดอนจิก ตำบลโพธิ์ศรี ตำบลบ้านแขม และตำบลหนองบัวฮี จำนวนเกษตรกร 109 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ ผลจากการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 44.81 ปี จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 4-6 คนต่อครัวเรือน มีแรงงานในการเกษตร 1-2 คนต่อครัวเรือน มีที่ดินทำการเกษตรเฉลี่ยครอบครัวละ 23.82 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของกลุ่มสหกรณ์การเกษตรและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรตามลำดับ การใช้สินเชื่อเกษตรกรร้อยละ 58.7 เกษตรกรร้อยละ 60.6 ได้รับข่าวสารวิชาการจากสื่อต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ตามลำดับ เกษตรกรร้อยละ 96.3 ไม่เคยได้รับการอบรมเรื่องการปลูกมะขามเปรี้ยวเลย และรายภาคเกษตรได้เฉลี่ยทั้งปีเท่ากับ 30,642.20 บาทต่อปี การปลูกมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรพบว่าร้อยละ 83.5 ปลูกตามบริเวณบ้าน ร้อยละ 16.5 ปลูกตามหัวไร่ปลายนา ซึ่งการปลูกมะขามเปรี้ยวตามบริเวณบ้านและตามหัวไร่ปลายนาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกจำนวนรายละ 1-5 ต้น ต้นมะขามส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 30 ปี ส่วนพันธุ์มะขามที่เกษตรกร ปลูกตามหัวไร่ปลายนาและที่บริเวณบ้าน เกษตรกรร้อย 85.3 ไม่ทราบชื่อพันธุ์ แหล่งพันธุ์มะขามเปรี้ยวที่เกษตรกรนำมาปลูกส่วนใหญ่มาจากเพื่อนบ้าน ร้อยละ 83.5 ส่วนวิธีการปลูกพบว่าเกษตรกรร้อยละ 89 ใช้ต้นพันธุ์จากการเพาะเมล็ดปลูก ส่วนการปฏิบัติดูแลรักษาต้นมะขาม พบว่าเกษตรกรร้อยละ 100 ไม่มีการให้น้ำ ไม่มีการให้ปุ๋ยไม่มีการกำจัดวัชพืชและไม่มีการป้องกันกำจัดโรคและแมลง การเก็บเกี่ยวและรักษามะขามเปรี้ยว เกษตรกรร้อยละ 100 เก็บเกี่ยวผลผลิตกลางเดือน พฤศจิกายน ถึงกลางเดือนธันวาคม โดยร้อยละ 100 ใช้ไม้ขอเกาะกิ่งเขย่าให้ฝักร่วง ร้อยละ 47.7 ขายทั้งฝักเหมาต้น ส่วนเกษตรกรร้อยละ 52.3 นำฝักมาแกะฝักและเมล็ดออกใส่ภาชนะไว้รอจำหน่าย พบว่าเกษตรกรร้อยละ 75.2 นำผลผลิตบรรจุใส่ถุงพลาสติก และเกษตรกรร้อยละ 79.8 จะขายให้พ่อค้าท้องถิ่นมารับซื้อถึงบ้าน พบว่าเกษตรกรร้อยละ 68.8 ขาดแหล่งพันธุ์ดี ร้อยละ 21.1 พบว่าผลผลิตไม่ดีและเกษตรกรร้อยละ 10.1 มีโรคแมลงทำลาย เกษตรกรร้อยละ 76.1 พบกับราคาผลผลิตต่ำและร้อยละ 23.9 พบกับพ่อค้ากดราคาส่วนเกษตรกรร้อยละ 20.2 ขาดแหล่งความรู้วิชาการใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องมะขามเปรี้ยว ร้อยละ 18.3 ขาดการส่งเสริมและแรงจูงใจร้อยละ 9.2 เห็นว่าปลูกมะขามเปรี้ยวแล้ว ได้ผลตอบแทนต่ำ ส่วนเกษตรกรอีกร้อยละ 52.3 ขาดการส่งเสริมแรงจูงใจขาดความรู้วิชาการใหม่ๆ และเห็นว่าได้ผลตอบแทนต่ำ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตการตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร ในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตปอแก้วของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในอำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก