สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาระบบการสร้างปทุมมาสายพันธุ์ใหม่
รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ อภิสิทธิวาณิช - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบการสร้างปทุมมาสายพันธุ์ใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Fast-track development of elite Thai curcuma varieties
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ อภิสิทธิวาณิช
คำสำคัญ: ปทุมมา
คำสำคัญ (EN): curcuma
บทคัดย่อ:      สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การพัฒนาระบบการสร้างปทุมมาสายพันธุ์ใหม่” แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ      จากการศึกษาวิจัย ปทุมมาลูกผสมต่างๆ เมื่อทำการผสมสลับระหว่างกระเจียวส้ม x ปทุมมา ปทุมมาลูกผสมที่ได้มีลักษณะดอกและสีเช่นเดียวกับกระเจียวส้ม  เมื่อได้ทำการผสมต่อไป ปรากฏว่าความหลากหลายของลักษณะของสีกลีบประดับไม่ว่าจะสีเหลือง สีเหลืองอมส้ม เหลืองอมชมพู เหลืองอมแดง เกิดจากคู่ผสมระหว่างพลอยไพลินกับบัวชั้น (F1 EPL) ลูกผสมกลับระหว่าง F1 EPL x พลอยไพลิน และพลอยไพลิน x F1 EPL เหมาะสำหรับการจัดทำเป็นไม้กระถาง มีลักษณะฟอร์มดอกสวย แต่ก้านช่อดอกสั้น นอกจากนี้คู่ผสมระหว่างปทุมมาพันธุ์สโนว์ไวท์ x พลอยไพลิน และปทุมมาพันธุ์ Big Red x กระเจียวส้ม ถึงแม้ว่ากลีบประดับไม่มีสีเหลือง ช่อดอกสั้นแต่รูปทรงของกลีบประดับ รูปทรงช่อดอกก็น่าจะมีศักยภาพต่อตลาดหากมีการปรับปรุงต่อไป นอกจากนี้ ยังพัฒนาเทคนิคการเลี้ยงออวูลและการถ่ายละอองเกสรในหลอดทดลอง  สามารถนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีการสร้างลูกผสมข้ามชนิดและข้ามสกุลได้อย่างมีประสิทธิภาพเคียงคู่กับเทคโนโลยีการช่วยเอ็มบริโอ และพัฒนาเทคโนโลยีการรวมโปรโตพลาสต์ของปทุมมาขาวและกระเจียวส้ม ซึ่งมีความเป็นไปได้สำหรับการสร้างลูกผสมข้ามชนิดและข้ามสกุลโดยเฉพาะกระเจียวส้มและปทุมมาขาว แต่ขั้นตอนการทำต้องอาศัยความชำนาญอย่างมาก การได้ลูกผสมใช้ระยะเวลานาน และค่าใช้จ่ายสูง เมื่อมีการเปลี่ยนชนิดพืชจำเป็นต้องมีการทดลองหาเทคนิคที่เหมาะสมทุกครั้ง ดังนั้น ในกรณีของการสร้างลูกผสมปทุมมาเทคนิคการผสมพันธุ์แบบมาตรฐานร่วมกับเทคนิคการช่วยเอมบริโอ หรือเทคโนโลยีการเลี้ยงออวูลและการถ่ายละอองเกสรในหลอดทดลองจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าเทคนิคการแยกโปรโตพลาสต์      ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัยได้ปทุมมาลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ที่มีศักยภาพทางการตลาด และพัฒนาเทคนิคการสร้างลูกผสมปทุมมาสายพันธุ์ใหม่ เป็นประโยชน์ต่อภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรมการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อสร้างปทุมมาสายพันธุ์ใหม่ๆในอนาคต
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-02-05
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-02-04
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2553
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาระบบการสร้างปทุมมาสายพันธุ์ใหม่
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
4 กุมภาพันธ์ 2555
การพัฒนาพันธุ์ปทุมมาลูกผสมข้ามชนิดเพื่อการค้า การพัฒนาพันธุ์ปทุมมาลูกผสมข้ามชนิดเพื่อการค้า โครงการวิจัยและพัฒนาปทุมมาและกระเจียว การประเมินศักยภาพของลูกผสมข้ามชนิด (F1) ระหว่างปทุมมาและกระเจียวประดับเพื่อขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ปทุมมา/กระเจียว การสร้างลูกผสมปทุมมา ทริพลอยด์ การพัฒนาปทุมมาพันธุ์ ‘แดงดอยตุง’ เป็นไม้ดอกกระถางโดยการราดสารพาโคลบิวทราโซล การวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตและปรับปรุงพันธุ์ปทุมมาและกระเจียวประดับเพื่อเพิ่มมูลค่าการตลาด สิทธิบัตร และสนับสนุนขีดความสามารถการแข่งขันด้านการส่งออกอย่างยั่งยืน การศึกษาการใช้น้ำของปทุมมา การศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมสำหรับปทุมมา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก