สืบค้นงานวิจัย
ความแปรปรวนทางพันธุกรรมและการคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ของถั่วฝักยาวพื้นเมืองพันธุ์พนัสนิคม
ปราโมทย์ พรสุริยา - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
ชื่อเรื่อง: ความแปรปรวนทางพันธุกรรมและการคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ของถั่วฝักยาวพื้นเมืองพันธุ์พนัสนิคม
ชื่อเรื่อง (EN): Genetic Variation and Pure-line Selection in Yard Long Bean Landrace Panasnikom
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปราโมทย์ พรสุริยา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแปรปรวนทางพันธุกรรมและการคัดเลือกสาย พันธุ์บริสุทธิ์ของถั่วฝักยาวพื้นเมืองพันธุ์พนัสนิคม แต่เนื่องจากในการทดลองไม่สามารถหาแหล่ง เมล็ดพันธุ์ของพันธุ์พนัสนิคมได้ จึงได้เก็บรวบรวมเมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวพันธุ์พื้นเมืองในเขตจังหวัด ชลบุรีและจังหวัดในภาคตะวันออกจำนวน 32 ตัวอย่างพันธุ์ เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ โดยนำมาปลูก ในฤดูปลูกที่ 1 เพื่อศึกษาลักษณะทางพืชสวนเบื้องต้นและคัดเลือกตัวอย่างพันธุ์ที่โดดเด่น ในฤดู ปลูกที่ 2 นำเมล็ดพันธุ์ของตัวอย่างพันธุ์ที่คัดเลือกไว้มาปลูกเพื่อคัดเลือกแบบหมู่และแบบสาย พันธุ์บริสุทธิ์ (แยกต้น ในฤดูปลูกที่ 3 นำสายพันธุ์ที่คัดเลือกจากฤดูปลูกที่ 2 จำนวน 40 สายพันธุ์ มาปลูกทดสอบกับพันธุ์การค้า ได้แก่ พันธุ์ลำน้ำชี พันธุ์ไต้หวัน พันธุ์สุดสาคร และพันธุ์วังเจ้า วาง แผนการทดลองแบบ augmented randomized complete block design มี 5 บล็อก แต่ละ บล็อกมีสายพันธุ์คัดเลือก 8 สายพันธุ์ และพันธุ์มาตรฐาน 4 พันธุ์ ทั้ง 3 ฤดูปลูกทำการทดลองที่ แปลงทดลองสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จังหวัดชลบุรี ตั้งแต่ตุลาคม 2554 ถึง มิถุนายน 2556 ผลการทดลองพบว่ามีความแปรปรวนของจีโนไทป์ (genotypic variance) สูงในลักษณะ อายุดอกแรกบาน อายุเก็บเกี่ยวฝักแรก ความกว้างฝัก และความยาวฝัก โดยมีอัตราพันธุกรรม อย่างกว้างในลักษณะดังกล่าวเท่ากับ 0.78, 0.78, 0.44, และ 0.81 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ ผลทางพันธุกรรมในฤดูปลูกที่ 2 และจากการทดสอบสายพันธุ์ในฤดูปลูกที่ 3 พบว่าพันธุ์ มาตรฐานมีความแตกต่างกันในลักษณะ ความยาวฝัก ความกว้างฝัก น้ำหนักต่อฝัก จำนวนฝักดี ต่อต้น (P 0.05) และพบว่าสายพันธุ์ที่ได้จากการคัดเลือกแบบหมู่และแบบแยกต้นให้ผลผลิตฝักดีไม่ แตกต่างกัน (P > 0.05 โตยที่สายพันธุ์นาวังหินถูกพิจารณาว่ามีลักษณะที่ตรงกับพันธุ์พนัสนิคม ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมของจังหวัดชลบุรี
บทคัดย่อ (EN): The purposes of this research were to study genetic variation and to select pure line of yard long bean landrace Panasnikom. Since the germplsm of Panasnikom landrace was not available, so the research was targeted to collect yard long bean germplasms (local cultivars) from farmer households in Chonburi and other eastern provinces to conducted line selection. The total 32 yard long bean accessions were planted in the field to observe horticultural characters and to select elite accessions (season I). Seeds of promising accessions were collected and planted in the second season to select with 2 methods, viz. mass and pure line selections. The third season, 40 yard long bean lines selected from the second season and 4 commercial cultivars as standards or checks, namely Lamnamchee, Taiwan, Sudsakorn and Wangchao, were planted in augmented randomized complete block design with 5 blocks. Each block contained 8 selected lines and 4 standard cultivars. The experiments (all 3 seasons) were conducted at the experimental field of Department of plant production technology, Rajamangala University of Technology Tawan-Ok, Chonburi province, from October, 2011 to June, 2013. The results of the genetical analysis in the second season revealed that values of genotypic variance were high in days to first anthesis, days to first harvest, pod width and pod length, possessing broad-sense heritability estimates of 0.78, 0.78, 0.44 and 0.81, respectively. The third season revealed that the standard cultivars were significantly different in pod length, pod width, pod weight, marketable pods per plant (P 60cm. Rankings 1 to 6 in marketable pods per plant were Taiwan cultivar, B1, Nawanghin, N-10, N-11 and N-12 lines, respectively, (15.88 - 23.89 pods/plant). For marketable yield, ranking numbers 1 to 6 were B1 line, Taiwan cultivar, M1, N-12, N-10 and N-9-2 lines, respectively (2.767 - 3.872 tons/rai). However, the top selected lines were not different from the highest standard cultivar for all these characters (P > 0.05). Selected lines from mass and pure line selection were not significantly different (P > 0.05) in marketable yield. It should be suggested from the results that Nawanghin line was properly considered as Panasnikom, which was the old yard long bean landrace in Chonburi.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความแปรปรวนทางพันธุกรรมและการคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ของถั่วฝักยาวพื้นเมืองพันธุ์พนัสนิคม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
30 กันยายน 2555
การแสดงออกของพันธุ์และสายพันธุ์ถั่วฝักยาวในการปลูกแบบอินทรีย์และแบบใช้สารเคมี การจำแนกสายพันธุ์และความต้านทานต่อโรค Streptococcosis ของปลานิล (Oreochromis niloticus Linnaeus) การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวลักษณะเมล็ดสีม่วงจากพันธุ์ข้าวพื้นเมือง การสร้างพันธุ์ถั่วฝักยาวพันธุ์น่าน 1 โครงการวิจัยการสร้างความแปรปรวนทางพันธุกรรมอ้อยผ่านทางการเพาะเลี้ยงแคลลัส ประเมินความงอกของถั่วฝักยาวและถั่วพุ่ม 43 สายพันธุ์ วิเคราะห์เปรียบเทียบความแปรปรวนทางพันธุกรรมโดยเครื่องหมายพันธุกรรมอัลโลไซม์ในพันธุ์ปลาช่อนจาก 3 แหล่งเพาะเลี้ยง ยาฆ่าแมลงในถั่วฝักยาว ตรวจประเมินความแปรปรวนทางพันธุกรรมในประชากรพ่อแม่พันธุ์ปลานิลของศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ 5 แห่ง การตรวจสอบความแปรปรวนทางพันธุกรรมของต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อใบอ่อนของปาล์มน้ำมัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก