สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชบางชนิดในไร่ชา
ประทีป กระแสสินธุ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชบางชนิดในไร่ชา
ชื่อเรื่อง (EN): Effciency of Selected Herbicides for Tea Plantations
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประทีป กระแสสินธุ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Prateep Krasaesindhu
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การใช้สารกำจัดวัชพืชในไร่ชา นับว่าเป็นความสำคัญยิ่งต่อเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรที่ปลูกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากขาดแคลนแรงงาน การใช้แรงงานทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง การใช้สารกำจัดวัชพืชอย่างถูกต้องจะช่วยประหยัดแรงงานและค่าใช้จ่ายได้มาก จุดประสงค์ของการทดลองครั้งนี้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืช 9 ชนิด การทดลองดำเนินการในไร่ชา อายุ 4 ปี ของเกษตรกร อ. แม่แตง จ. เชียงใหม่ มีระยะปลูก 60 x 90 ซม. วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ 29 กรรมวิธี ประกอบด้วย atrazine อัตรา 360 , 540 , และ 720 กรัม ของสารออกฤทธิ์/ไร่; glyphosate อัตรา 160 , 320, และ 480 กรัมของสารออกฤทธิ์/ไร่; zmetryne อัตรา 360 , 540 , และ 720 กรัมของสารออกฤทธิ์/ไร่; glufosinate - ammonium อัตรา 160, 240, และ 320 กรัมของสารออกฤทธิ์/ไร่; fluazifop-butyl 20% E.C. อัตรา 40, 60, และ 80 กรัมของสารออกฤทธิ์/ไร่, fluazifop-butyl 35% E.C. อัตรา 40 , 60 และ 80 กรัมของสารออกฤทธิ์/ไร่; MCPA+ diuron + amitrole อัตรา 160 + 240 - 475 + 240 + 360 + 712.5 และ 320 - 480 - 950 กรัม ของสารออกฤทธิ์/ไร่; รวมทั้งการกำจัดวัชพืชด้วยแรงงาน และไม่มีการกำจัดวัชพืช ผลการทดลองพบว่า สารกำจัดวัชพืช atrazine, ametryne, และ diuron ทั้ง 3 อัตรา ให้ผลในการกำจัดวัชพืชดีใกล้เครียงกัน แต่อัตรา 720 กรัมของสารออกฤทธิ์/ไร่ ให้ผลดีที่สุด สามารถควบคุมวัชพืชได้ในช่วง 2 เดือน สำหรึบ glyphosate, glufosinate - ammonium, และ MCPA + diuron + amitrole อัตราสูงสุด คือ 480 , 320, และ 320 - 480 - 950 กรัมของสารออกฤทธิ์/ไร่ ตามลำดับ ให้ผลในการกำจัดวัชพืชดีกว่าอัตราที่ต่ำกว่าสารกำจัดวัชพืชทั้ง 6 ชนิดตามอัตราที่กล่าวมานี้ให้ผลในการกำจัดวัชพืชได้ดีใกล้เคียงกัน แต่ 3 ชนิดแรกเป็นประเภทใช้ก่อนวัชพืชงอก และมีผลตกค้างในการกำจัดวัชพืชนานกว่า 3 ชนิดหลัง ซึ่งใช้หลังจากวัชพืชงอกแล้ว อย่างไรก็ตาม สารกำจัดวัชพืชประเภทที่ใช้ก่อนวัชพืชงอกดังกล่าว ไม่สามารถควบคุมการงอกของหญ้าคา แห้วหมู อัตราตั้งแต่ 320 และ 240 กรัมของสารออกฤทธิ์/ไร่ ขึ้นไป ตามลำดับ และต้องใช้ในลักษณะพ่นที่วัชพืชโดยตรงให้ทั่วทั้งต้นและใบ นอกจากนี้ยังพบว่าสารกำจัดวัชพืชไม่มีพิษต่อต้นชาอย่างใด
บทคัดย่อ (EN): Comparisons were made of a range of herbicides and rates of herbicide application with hand weeded and non-weeded treatments in a tea plantation at Mae Tang, Chiang Mai in July 1983. The herbicide treatments were atrazine at 2.25 kg a.i./ha, ametryne at 3.375 kg a.i./ha, diuron at 4.50 kg a.i./ha , paraquat at rates of 0.25 , 0.50 and 0.75 kg a.i./ha, paraquat at rates of 0.25 , 0.50 and 0.75 kg a.i./ha, glufosinate - aammonium at rates of 10, , 1.5 and 2.0 kg a.i./ha, fluazifopbutyl 25% E.C. and 35% E.C. at rates of 0.25, 0.35 , 0.37 and 0.50 kg a.i./ha, and the three herbicides MCPA, diuron and amitrole in combination at different rates as follows, 1.0 + 1.5 + 2.97 kg a.i./ha, 1.5 + 2.25 + 4.45 kg a.i./ha and 2.0 + 3.0 + 5.94 kg a.i./ha. The tea tree plantation was four years old with trees on a 60 x 90 cm spacing. Plot size was 3 m x 3.6 m with treatments arranged in a randomized complete block design with three replications. Pre-emergence application of the herbicides atrazine, ametryne and diuron at rates of 2.25 , 3.375 and 4.50 kg a.i./ha respectively, all gave satisfactory weed control, however, the diuron treatment gave the longest control, a period of two months. Glyphosate at 3.0 kg a.i./ha, glufosinate - ammonium at 2.0 kg a.i./ha and the combined treatment of MCPA + diuron + amimonium at 2.0 kg a.i./ha and the combined treatment of MCPA + diuron + amitrole at 2.0 + 3.0 + 5.94 a.i./ha when applied post - emergence gave better weed control than the lower rates of application. Germination of Imperata cylindrica, Cyperus rotundus and eleusine indica was not controlled by the pre-emergence applications of atrazine, ametryne or diuron. Only glyphosate at 2.0 kg a.i./ha and glufosinate- ammonium at 1.5 kg a.i./ha, when applied post emergence, gave satisfactory control of these three species. There was no evidence of herbicide phytotoxicity to the tea in the experiment.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชบางชนิดในไร่ชา
กรมวิชาการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การใช้สารกำจัดวัชพืชชนิดก่อนและหลังงอกในการควบคุมข้าววัชพืช การไถพรวนคลุกดินต่อประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดวัชพืชในการควบคุมวัชพืชในไร่อ้อย การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดอื่น ๆ ในสวนยาง ประสิทธิภาพของการใช้สารกำจัดวัชพืชชีวภาพ (bioherbicide) ควบคุมกำจัดวัชพืชร้ายแรงในพื้นที่ชลประทานอย่างยั่งยืนและปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดต่าง ๆ ในสวนยางปี 2541 การทดสอบสารกำจัดวัชพืชควบคุมข้าววัชพืชในนาหว่านน้ำตม การพัฒนารูปผลิตภัณฑ์และศึกษากลไกการทำลายวัชพืชของสารกำจัดวัชพืชจากชะอม ประสิทธิภาพของสารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืชในนาข้าวที่ใช้ทั่วไปใน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประสิทธิภาพของการใช้สารกำจัดวัชพืชชีวภาพ (Bioherbicide) ยับยั้งการงอกของไมยราบยักษ์ (Mimosa pigra)

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก