สืบค้นงานวิจัย
การประเมินผลเสียหายของถั่วเขียวที่ปลูกหลังนาเนื่องจากแมลงศัตรู
พิสิษฐ์ เสพสวัสดิ์1 - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลเสียหายของถั่วเขียวที่ปลูกหลังนาเนื่องจากแมลงศัตรู
ชื่อเรื่อง (EN): Crop Loss Assessment on Jajor Mungbean Pests in Rice-Based Cropping Systems
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พิสิษฐ์ เสพสวัสดิ์1
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pisit Sepswasdi
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาหาความสัมพันธ์ผลผลิตเสียหายของถั่วเขียวที่ปลูกหลังนาเนื่องจากการทำลายของแมลงศัตรูชนิดต่างๆ ในระยะการเจริญเติบโตต่างๆ ด้วยวิธี Single plant method ได้ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2529 – 2530 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท และไร่เกษตรกร อ. สรรบุรี จ.ชัยนาท ทำการตรวจนับการทำลายของแมลงศัตรูทุกสัปดาห์ตั้งแต่ถั่วอยู่ในระยะเจริญเติบโตจนถึงระยะเก็บเกี่ยว เมื่อถั่วเแก่ก็เก็บผลผลิตเป็นต้นๆ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับการทำลายของแมลงทุกชนิดด้วยวิธี Stepwise multiple regression procedure ผลปรากฎว่าการทำลายของแมลงศัตรูทุกชนิดที่เกิดขึ้นในระยะเจริญเติบโตไม่กระทบกระเทือนผลผลิตเลย แต่การทำลายของหนอนกัดกินใบ (Spodoptera litura Fabricius) และเพลี้ยไฟ (Megalurothrips usitatus Zehntner) ในระยะที่ถั่วเจริญเติบโตเต็มที่แล้วถึงระยะติดเมล็ดมีความสัมพันธ์ทางลบกับผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ผลผลิตลดลงประมาณ 0.3-0.5 และ 0.3-0.4% ต่อเปอร์เซ็นต์ใบที่ถูกทำลาย และจากความเสียหายอันนี้นำมาคำนวณหาระดับความเสียหายทางเศรษฐิจ (EIL) เฉลี่ยได้ 16 และ 30% ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Yield-loss relationships study for major insect pests on mungbean grown in the rice-based cropping systems at different growth stages by using single plant method was conducted at Chainat Field Crops Research Centre and farmer’s field of Amphoe Sunburi, Chainat province. The observations on damage-density were made at weekly intervals starting from vegetative through harvesting stages. The observed plants were harvested separately and the seed weight per plant determined. The informations obtained were statistically analyzed by a stepwise multiple regression procedure. The results indicated that the infestations occurred during vegetative stages had no impact on yield at all. However, the infestation of cutworm (Spodoptera litura Fabricius) and thrips (Megalurothrips usitatus Zehntner) during the end of vegetative of pod filling stages were negatively correlated to grain yield significantly and resulted in yield reduction approximately by 0.3-0.5 and 0.3-0.4% per percent infested leaves respectively. Subsequently economic-injury levels were, therefore, established to be 16 and 30% infested leaves for cutworm an thrips respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินผลเสียหายของถั่วเขียวที่ปลูกหลังนาเนื่องจากแมลงศัตรู
กรมวิชาการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ผลของปริมาณการให้น้ำ และระยะเวลาสิ้นสุดการให้น้ำต่อถั่วเขียวบนดินชนิด Silty Clay Loam 010 การปฏิวัติเขียว แมลงศัตรูพืช และการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี ข้าวป่า แหล่งปลูกต้านทานแมลงศัตรูข้าวปลูก การสำรวจแมลงศัตรูกาแฟอาราบิก้าและแมลงศัตรูธรรมชาติในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ศึกษาการเปลี่ยนแปลงประชากรตามฤดูกาลของแมลงศัตรูองุ่นและศัตรูธรรมชาติ การปรับปรุงพันธุ์ถั่วฝักยาวเพื่อให้ต้านทานต่อการทำลายของแมลงศัตรู ระยะที่ 2 การสำรวจปริมาณแมลงศัตรูหม่อนและแมลงห้ำในรอบปี ผลของสารชีวินทรีย์และสารสกัดจากพืชต่อแมลงศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติในนาข้าวอินทรีย์ ระดับเศรษฐกิจของแมลงศัตรูพืช สหสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมกับแมลงศัตรูข้าวและแมลงศัตรูธรรมชาติ ในศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก