สืบค้นงานวิจัย
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
หนูเดือน เมืองแสน, พงศ์เทพ สุวรรณวารี, ปิยรัษฎ์ เจริญทรัพย์ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ชื่อเรื่อง: โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ชื่อเรื่อง (EN): PlantGenetic Conservation Project under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn, Suranaree University of Technology
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ถั่วขาวประกอบด้วยสารยับยั้งแอลฟา-อะไมเลส ซึ่งทําหน้าที่สกัดกั้นแป้งส่งผลต่อการควบคุม น้ําหนักของร่างกาย โดยรบกวนการย่อยคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนผ่านทางการยับยั้งเอนไซม์แอลฟา- อะไมเลส งานวิจัยนี้นําเสนอการศึกษาและออกแบบวิธีการที่เหมาะสมในการสกัดสารสกัดถั่วขาวจาก ถั่วขาวในประเทศไทย พบว่าวิธีที่ดัดแปลงจากวิธีของ Mosca et al (2008) ให้ผลการยับยั้งเอนไซม์ แอลฟา-อะไมเลส สูงที่สุด วิธีที่เหมาะสมให้ค่าโปรตีนสูงสุดที่ 6.49 ? 0.09 มิลลิกรัมต่อกรัมของถั่วและมีค่าเฉพาะกิจกรรมยับยั้งที่ 34.69 ? 0.56 ต่อมิลลิกรัมของโปรตีนในสารสกัดหยาบ ตามลําดับ เมื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมสารสกัดถั่วขาว ซึ่งให้ผลผลิตและกิจกรรมการยับยั้งแอลฟา- อะไมเลสสูงที่สุด โดยใช้การออกแบบแผนการทดลองแบบบ็อกซ์-เบ็ห์นเคน และข้อมูลวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจําแนกทางเดียว โดยมีตัวแปรต้นคือความเข้มข้นของสารละลาย เวลาในการเขย่าและเวลาในการปั่นเหวี่ยง ส่วนตัวแปรตามคือปริมาณผลผลิตของสารสกัด หยาบและกิจกรรมการยับยั้งเอนไซม์แอลฟา-อะไมเลส ปริมาณผลผลิตของสารสกัดถั่วขาวสูงที่สุดคือ23.3187 เปอร์เซ็นต์ซึ่งได้จากสภาวะการสกัดที่ความเข้มข้น0.15 โมลาร์ ระยะเวลาในการสกัด2 ชั่วโมงและระยะเวลาในการแยกตัว60 นาที อย่างไรก็ตามจากการใช้วิธีพื้นที่ผิวตอบสนอง เพื่อหาจุดที่เหมาะสมในการสกัดเพื่อให้ได้ค่าเฉพาะเจาะจงในการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์แอลฟา-อะไมเลสสูง ที่สุดเกิดขึ้นโดยสภาวะการสกัดที่ความเข้มข้นของสารละลายฟอตเฟตบัฟเฟอร์0.08 โมลาร์ ระยะเวลาในการสกัด1.5 ชั่วโมงและระยะเวลาในการแยกตัว30 นาที เมื่อเปรียบเทียบสารสกัดถั่วขาวที่ได้จากวิธีข้างต้นและสารสกัดทางการค้าพบว่าสารสกัดถั่วขาว ที่ได้จากวิธีข้างต้นค่าเฉพาะเจาะจงในการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์แอลฟา-อะไมเลสสูงที่สุด และเมื่อผ่านระบบการย่อยพบว่าทั้งสารสกัดถั่วขาวที่ได้จากวิธีข้างต้นและสารสกัดทางการค้ามีค่าเฉพาะเจาะจงในการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์แอลฟา-อะไมเลสลดลง และส่วนของโพลีเปปไทของสารสกัดถั่วขาวที่ได้จากวิธีข้างต้นและสารสกัดทางการค้าใกล้เคียงกัน
บทคัดย่อ (EN): White kidney beans (Phaseolus vulgaris.) contain a proteinaceous inhibitor of ?-amylase, which is a starch blocking substance that effect body weight control by interfering complex carbohydrate digestion through -amylase enzyme inhibitory. This thesis presents study and designed to discover a suitable method for white kidney bean extraction from white kidney bean cultivate in Thailand. Both Mosca et al. (2008) adaptation method crude extracts show highest ?-amylase inhibitory activity. The suitable method provided highest protein content at 6.49?0.09 mg/g of beans and specific inhibition activity at 34.69?0.56 per mg of protein in crude extract respectively. To study optimal extraction condition to prepare white kidney beans (Phaseolus vulgaris) extract with highest yield and alpha-amylase inhibition activity was determined using Box-Behnken experimental design and data was used for statistically analysis by One-Way ANOVA. The three independent variables are concentration of solvent, extraction and separation time. The dependent variables are both yield percentage of crude extract and alpha-amylase enzyme inhibition activity. The high percentage yield of white kidney beans (Phaseolus vulgaris) extract is 23.32% could get from extraction condition at concentration of 0.15 M, extraction time for 2 hour, and separation time for 60 min. Moreover, Highest specific inhibition activity from response surface methodology get optimize condition of extraction is concentration of PBS at 0.08 M , extraction time 1.5 hour and separation time 30 min. When compared between white kidney bean extract from previous method and commercial extract shows that white kidney bean extract from previous method have best specific inhibition activity. In vitro digestion shown both specific inhibition activity of white kidney bean extract from previous method and commercial extract are decrease. And Polypeptide pattern of white kidney bean extract from previous method and commercial extract shows similarly.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
30 กันยายน 2556
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : ความหลากหลายทางพันธุกรรม โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ระยะที่ 2 ความหลากหลายทางชีวภาพในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : ความหลากหลายทางพันธุกรรมและการสร้างจิตสำนึก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวธรรมชาติเพื่อการเรียนรู้ ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชตำบลผาช้างน้อย จังหวั โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : กิจกรรมปกปัก สำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก