สืบค้นงานวิจัย
พัฒนาการผลิตไข่ไหมป่าอีรี่พันธุ์ขยาย และความพึงพอใจการเลี้ยงไหมป่าอีรี่ในภาคเกษตรกร
บุษรา จงรวยทรัพย์1, ลำแพน สารจันทึก2, รุ่งรัตน์ อิฐรัตน์3, ฉัตรชัย อาภรณ์รัตน์4, อรวรรณ ดอกเกี๋ยง4, อัญชลี โพธิ์ดี5, สุชาติ จุลพูล6 - กรมหม่อนไหม
ชื่อเรื่อง: พัฒนาการผลิตไข่ไหมป่าอีรี่พันธุ์ขยาย และความพึงพอใจการเลี้ยงไหมป่าอีรี่ในภาคเกษตรกร
ชื่อเรื่อง (EN): Eri Silkworm Egg Production Development and Satisfaction Assessment at the Farmer Practice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ไหมป่าอีรี่ (Eri silkworm : Philosamia ricini Boisd) เป็นไหมที่กินใบมันสำปะหลังและใบละหุ่งเป็นอาหาร หนอนไหมมีความแข็งแรงสูง สามารถเลี้ยงได้ง่ายด้วยวิธีการเลี้ยงแบบไหมบ้านหรือไหมกินใบหม่อน และมีศักยภาพในการพัฒนาการเลี้ยงและการใช้ประโยชน์ ในปี 2553 โครงการวิจัยพัฒนาขยายผลการเลี้ยงไหมป่าอีรี่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ดำเนินงานใน 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 พัฒนาการผลิตไข่ไหมป่าอีรี่พันธุ์ขยาย ที่ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ หนองคาย เพื่อศึกษาหาวัสดุที่เหมาะสมในการวางไข่ของแม่ผีเสื้อ ผลการทดลองพบว่าการให้แม่ผีเสื้อวางไข่บนผืนผ้าทำให้ได้ปริมาณไข่ไหมมาก มีความสะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงาน ช่วยให้ประหยัดเวลาและแรงงาน และกิจกรรมที่ 2 การสำรวจความพึงพอใจการเลี้ยงไหมป่าอีรี่ ในภาคเกษตรกร โดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ หนองคาย และชัยภูมิ ได้ผลิตไข่ไหมป่าอีรี่แจกจ่ายให้แก่เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการฯ เลี้ยงเพื่อจำหน่ายรังไหมสด โดยทำการทดลองกับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ เกษตรกรจังหวัดชัยภูมิ มหาสารคาม ขอนแก่น มุกดาหาร และอุดรธานี จังหวัดละ 5 ราย รวม 25 ราย น้ำหนักไข่ไหม 25 กรัม/ราย/รุ่น เลี้ยงจำนวน 2 รุ่น/ปี ระยะเวลา 1 ปี ผลการทดลองพบว่าเกษตรกรทั้ง 25 รายสามารถเลี้ยงไหมป่าอีรี่ได้ดี และมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับพอใจมาก
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
เอกสารแนบ: https://qsds.go.th/newosrd/wp-content/uploads/sites/115/2021/08/2554-14.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมหม่อนไหม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
พัฒนาการผลิตไข่ไหมป่าอีรี่พันธุ์ขยาย และความพึงพอใจการเลี้ยงไหมป่าอีรี่ในภาคเกษตรกร
กรมหม่อนไหม
2554
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมหม่อนไหม
การผลิตไข่ไหมป่าอีรี่และการเลี้ยงไหมป่าอีรี่ในภาคเกษตรกร ความพึงพอใจของข้าราชการผู้ปฏิบัติงานระดับอำเภอในพื้นที่เขตปศุสัตว์ที่ 8 ปี 2548 การเปรียบเทียบและทดสอบพันธุ์ไหมป่าอีรี่ในเขตภาคเหนือ การเลี้ยงไหมพันธุ์ไทยลูกผสมของเกษตรกรจังหวัดชัยภูมิ การเลี้ยงไหมพันธุ์ไทยลูกผสมของเกษตรกรจังหวัดชัยภูมิ ศึกษาหาวิธีการสาวไหมป่าอีรี่ การเปรียบเทียบคุณลักษณะพันธุ์และระยะเวลาการเก็บรักษาไข่ไหมป่าอีรี่(Philosamia ricini Boisduval) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลี้ยงไหมของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาไหมป่าอีรี่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเปรียบเทียบคุณสมบัติผ้าไหมป่าอีรี่ 6 ผืน ที่กรรมวิธีผลิตแตกต่างกัน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก