สืบค้นงานวิจัย
การคัดเลือกสายพันธุ์ยางพาราที่ต้านทานโรครากขาว (Rigidoporus lignosus) เพื่อใช้เป็นต้นตอ
เวที วิสุทธิแพทย์, พรศิลป์ สีเผือก, ชัยสิทธิ์ ปรีชา, เวที วิสุทธิแพทย์, พรศิลป์ สีเผือก, ชัยสิทธิ์ ปรีชา - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ชื่อเรื่อง: การคัดเลือกสายพันธุ์ยางพาราที่ต้านทานโรครากขาว (Rigidoporus lignosus) เพื่อใช้เป็นต้นตอ
ชื่อเรื่อง (EN): Screening rubber Varieties for white root disease (Rigidoporus lignosus) resistant use as stock
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การคัดเลือกสายพันธุ์ยางพาราที่ต้านทานโรครากขาว (Rigidoporus microsporus) เพื่อใช้เป็นต้นตอ ชัยสิทธิ์ ปรีชา 1/ เวที วิสุทธิแพทย์ 1/ และพรศิลป์ สีเผือก2/ บทคัดย่อ การเก็บรวบรวมและคัดเลือกสายพันธุ์เชื้อ Rigidoporus microsporus ที่มีความรุนแรง จากสวนยางพาราในจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี ตรัง แปลงละ 5 ตัวอย่าง พบว่าเชื้อรา R. microsporus เข้าทำลายรากและโคนต้น ซึ่งมักพบดอกเห็ดสีส้มสีส้มอมน้ำตาล บริเวณโคนต้นเหนือผิวดินเล็กน้อย เมื่อนำมาแยกเชื้อ ด้วยวิธี tissue culture, spore culture และ soil surface dilution plate พบว่า ลักษณะของเส้นใยเชื้อราค่อนข้างหยาบ สีขาวฟู เมื่อเลี้ยงบนอาหาร PDA เมื่อศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อกาเจริญและการเกิดโรค พบว่าเชื้อเจริญได้ดีบนอาหารที่มีสภาพ pH ตั้งแต่ 5-9 อิทธิพลของระดับ pH ที่มีผลต่อการสร้างดอกเห็ดพบว่า ระดับ pH 7 มีผลต่อการสร้างดอกเห็ด R. microsporus มากที่สุด จากผลการศึกษาชนิดดินต่อการเกิดโรค พบว่าดินร่วนปนทราย มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคมากที่สุดเท่ากับ 88.89 เปอร์เซ็นต์ เทคนิคการปลูกเชื้อ R. microsporus บริสุทธิ์ในยางสายพันธุ์ทดสอบนั้นทำโดยการใช้ก้อนเชื้อสาเหตุ R. microsporus จำนวน 2 ก้อน สามารถทำให้เกิดโรคได้ 99.33 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกิดโรคได้ดีกว่าใส่ก้อนเชื้อ 1 ก้อน และ ครึ่งก้อน เมื่อคัดเลือกต้นกล้ายางพันธุ์ที่ต้านทานเชื้อ R. microsporus มากที่สุด คือ ยางพาราสายพันธุ์ PB235 รองลงมาคือ RRIC 251, BPM24 และ RRIM600 โดยมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรค เท่ากับ 57.33, 64.00, 90.67 และ 93.33 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สายพันธุ์ PB253 จึงเหมาะที่นำมาทำเป็นต้นตอมากว่าพันธุ์ RRIC251, BPM24 และ RRIM600 คำสำคัญ : โรครากขาว, ยางพารา, ต้นตอ 1/คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช 80110 2/คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช 80240
บทคัดย่อ (EN): Screening rubber Varieties for white root disease (Rigidoporus microsporus) resistant use as stock Chaisit Preecha1/ Wethi Wisutthiphaet 1/ and Pornsil Seephueak2/ Survey to collect severity Rigidoporus microspores from 5 rubber tree orchards at Nakhon Si Thammarat, Phatthalung Surat Thani, and Trang was done. Rigidoporus microspores caused root and crown rot with brownish orange bracket basidiocarp developed at the crown upper soil surface. R. microspores isolated from collected sample growing on PDA was white and flat colony, hyaline, septate, and no clam connection hypha. Effect of pH on mycelium grows on PDA and basidiocarp developing on various soil pH was studied. The result revealed that R. microspores grown well at high range of pH from 5 – 9, but the optimal pH to develop basidiocarp was pH 7. While the sandy clay loam was favorable for R. microspores caused severity of white root of disease incidence 88.89%. For inoculation technique, the double sawdust spawns of R. microspores implanted in pot plant was effective to cause disease symptom better than 1 and ? spawn with disease incidence 99.33 %.Screening for rubber tree varieties to resistant infection of R. microspores, PB 235 was the lowest disease incidence fallowing by RRIC 251, BPM24 and RRIM600 with disease severity 57.33, 64.00, 90.67 and 93.33 % respective. PB235 variety was the highest resistant stock for R. microspores Keywords: White root disease, Para rubber, Stock 1/Faculty of Agriculture, Rajamangala University of Technology Srivijaya, Thung Song, Nakhon Si Thammarat, 2/Faculty of Agriculture, Rajamangala University of Technology Srivijaya, Thung Yai, Nakhon Si Thammarat,
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การคัดเลือกสายพันธุ์ยางพาราที่ต้านทานโรครากขาว (Rigidoporus lignosus) เพื่อใช้เป็นต้นตอ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
30 กันยายน 2555
การผลิตกล้ายางพาราจากสายต้นต้านทานโรครากขาวด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเมล็ดอ่อนผ่านกระบวนการโซมาติคเอ็มบริโอเจนิซิสเพื่อใช้เป็นต้นตอ การคัดเลือกต้นตอยางพาราที่มีความทนทานต่อโรครากขาว และความสามารถในการเข้ากันได้กับกิ่งพันธุ์ RRIM600 และ RRIT251 การคัดเลือก และการขยายพันธุ์ต้นตอยางพาราที่ต้านทานโรครากขาว และการควบคุมโรคโดยชีววิธี การควบคุมโรครากขาวของยางพาราโดยชีววิธีและการคัดเลือกสายพันธุ์ยางต้านทานโรคเพื่อผลิตต้นตอพันธุ์ การคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อใช้ควบคุมโรครากขาว (Rigidoporus lignosus) ของยางพาราโดยชีววิธี การคัดเลือกเชื้อรา Trichoderma spp. เพื่อใช้ในการควบคุมโรคใบร่วงของยางพาราที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthore spp. และโรครากขาวที่เกิดจากเชื้อรา Rigidoporus lignosus การควบคุมเชื้อรา Rigidoporus lignosus สาเหตุโรครากขาวในยางพารา (Havea brasiliensis Muell. Arg) ศักยภาพของแม่ปุ๋ยบางชนิดต่อการยับยั้งและป้องกันการเกิดโรครากขาวของยางพารา สาเหตุจากเชื้อรา Rigidoporus microporus ในยางปลูกใหม่ วิธีการใช้สารเคมีในการรักษาโรครากขาวของยางพารา การเสริมสร้างความต้านทานของต้นยางพาราต่อการเข้าทำลายเชื้อราโรครากขาว

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก