สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาเพื่อพัฒนาบ่อแช่ฟอกปอของเกษตรกรในประเทศไทย
เตือนใจ วิเศษสุวรรณ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเพื่อพัฒนาบ่อแช่ฟอกปอของเกษตรกรในประเทศไทย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เตือนใจ วิเศษสุวรรณ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเพื่อพัฒนาบ่อแช่ฟอกปอของเกษตรกรในประเทศไทย เป็นโครงการที่ได้ดำเนินการศึกษาในปี 2537 โดยการศึกษาข้อมูลการแช่ฟอกปอในฤดูการผลิตปี 2536 ข้อมูลสภาพบ่อแช่ฟอกปอของเกษตรกร ลักษณะบ่อแช่ฟอกปอที่เกษตรกรต้องการ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ศึกษาคุณสมบัติของบ่อแช่ฟอกและเทคนิควิธีการการแช่ฟอกปอจากกรมวิชาการเกษตร และ UO-FAO (International Jute Organization - Food and Agriculture Organization ) แล้วดำเนินการประยุกต์ วิธีการเทคนิคเกี่ยวกับบ่อแช่ฟอกปอให้สอดคล้องกับสภาพของเกษตรกร ผลการศึกษาจากการรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรจากจังหวัดชัยภูมิ สุรินทร์ สกลนคร อุดรธานี อุบลราชธานี ยโสธร และสระแก้ว จำนวน 460 ราย พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.43 แช่ปอในแหล่งน้ำสาธารณะเกษตรกรร้อยละ 42.61 แช่ปอในแหล่งน้ำของตนเองลักษณะบ่อแช่ฟอกปอที่เกษตรกรใช้แช่ปอพบว่าเกษตรกรร้อยละ 31.09 แช่ปอในลำห้วย, คลอง เกษตรกรร้อยละ 30.00 แช่ปอในแปลงนา เกษตรกรร้อยละ 32.17 แช่ฟอกปอในบ่อที่มีความลึกประมาณ 1.50 เมตร เกษตรกรร้อยละ 45.87 แช่ปอในบ่อที่มีขนาดพื้นที่น้อยกว่า 1 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 55.87 แช่ปอในแหล่งน้ำที่มีน้ำเฉพาะฤดูฝนเกษตรกรร้อยละ 66.09 มีระยะทางระหว่างแปลงปลูกปอกับบ่อแช่ฟอกปอเป็นระยะทางน้อยกว่า 1 กิโลเมตร สำหรับการใช้ประโยชน์จากบ่อแช่ฟอกปอเกษตรกรเห็นว่าบ่อแช่ฟอกปอที่มีอยู่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการเลี้ยงปศุสัตว์เป็นอันดับ 1 รองลงมา คือ การใช้เพื่อการแช่ฟอกปอ และอันดับที่ 3 คือ การใช้เพื่อการเพาะปลูกพืชเกษตรกรนำต้นปอลงไปแช่ในบ่อแช่ฟอกปอปีละ 1-3 ครั้ง โดยเกษตรกรร้อยละ 44.57 แช่ปอในบ่อแช่ฟอกปอปีละ 1 ครั้ง เกษตรกรร้อยละ 37.61 ใช้บ่อแช่ฟอกคนเดียวไม่มีเพื่อนบ้านมาร่วมใช้และร้อยละ 35.43 มีเพื่อนบ้านมาร่วมใช้ประมาณ 1-20 ราย สำหรับการใช้ประโยชน์จากแกนปอของเกษตรกรปรากฏว่าเกษตรกรร้อยละ 34.57 นำแกนปอไปใช้น้อยกว่า หนึ่งในสี่ของปริมาณแกนปอทั้งหมด เกษตรกรจัดการกับการแกนปอที่ทั้งไว้ข้างบ่อแช่ฟอกปอโดยการทิ้งไว้ให้แห้งแล้งเผาในภายหลังลักษณะบ่อแช่ฟอกปอที่เกษตรกรต้องการพบว่าเกษตรกรร้อยละ 98.04 ต้องการแหล่งน้ำและต้องการแหล่งน้ำที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองร้อยละ 63.41 เกษตรกรร้อยละ 50.00 ต้องการบ่อแช่ฟอกปอ มีขนาดพื้นที่น้อยกว่า 1 ไร่ ร้อยละ 48.92 มีความต้องการบ่อที่ลึกตั้งแต่ 2 เมตร ขึ้นไปและเกษตรกรต้องการบ่อที่อยู่ไกล้แปลงปลูกปอมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ความคาดหวังประโยชน์จากบ่อแช่ฟอกปอของเกษตรกรส่วนใหญ่คาดหวังว่าจะใช้บ่อแช่ฟอกปอร่วมกับกิจกรรมการเกษตรอื่นที่สำคัญได้แก่ ใช้เลี้ยงปลา ใช้เพาะปลูกพืช และใช้เลี้ยงปศุสัตว์ จากการเปรียบเทียบสภาพบ่อแช่ฟอกปอของเกษตรกรและลักษณะความต้องการบ่อแช่ฟอกปอของเกษตรกรกับเทคนิคการแช่ฟอกปอแผนใหม่มีความสอดคล้องกันสามารถที่จะปรับประเด็นการปฏิบัติของเกษตรกรให้เป็นไปตามหลักวิชาการและประยุกต์หลักวิชาการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพของเกษตรกรได้ดังนั้นกรมส่งเสริมการเกษตรจึงควรจัดทำโครงการปรับปรุงบ่อแช่ฟอกปอโดยบ่อแช่ฟอกปอของเกษตรกรควรมีลักษณะดังนี้ บ่อแช่ฟอกปอควรมีขนาดพื้นที่บ่อประมาณ 1 ไร่ มีความลึกประมาณ 1.00 - 1.50 เมตร ควรอยู่ไกล้พื้นที่ปลูกปอ ลักษณะของบ่อแช่ฟอกปอควรเป็นไปตามสภาพของพื้นที่ ควรมีกิจกรรมเสริม เช่น การเลี้ยงปลาดุก ปลาหมอ การปลูกผักขอบบ่อเป็นต้น สำหรับในพื้นที่ปลูกปอที่มีปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำแช่ฟอก กรมส่งเสริมการเกษตรควรให้การสนับสนุนงบประมาณในการขุดบ่อแช่ฟอกปอโดยให้เกษตรกรขุดบ่อแช่ฟอกปอในแปลงนาของตนเองและรณรงค์ให้เกษตรกรรวบรวมแกนปอออกจากบริเวณแหล่งน้ำแช่ฟอกปอเพื่อลดความตื้นเขินของแหล่งน้ำในฤดูกาลต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2537
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2537
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาเพื่อพัฒนาบ่อแช่ฟอกปอของเกษตรกรในประเทศไทย
กรมส่งเสริมการเกษตร
2537
การสร้างระบบกลุ่มเกษตรกรพี่เลี้ยงเพื่อพัฒนาคุณภาพน้ำนมดิบกลุ่มภาคเหนือของประเทศไทย โดยประยุกต์หลักการพัฒนาองค์การและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตแม่พันธุ์อ้อยปลอดโรคในระดับขยายผลสู่เกษตรกร การศึกษาการพัฒนาสมาชิกเกษตรกรก้าวหน้าให้เป็นเกษตรกรชั้นนำ โครงการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจากการเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน : กรณีศึกษาเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน : รายงานฉบับสมบูรณ์ การพัฒนาศักยภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพและการคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมต่อพื้นที่โดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ในภาคเหนือของประเทศไทยงบประมาณ 3 ปี 2,500,000.- บาท (ปีที่ 2) โครงการพัฒนาเกณ์การตัดสินใจในการปฏิบัติการฝนหลวงเพิ่มเติมน้ำฝนเพื่อการปฏิบัติการฝนหลวง ให้เกษตรกรและผู้ใช้น้ำในลุ่มน้ำของประเทศไทยตอนบน ชุดโครงการศึกษาและจัดทำฐานข้อมูลกาลอากาศสำหรับงานวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงของประเทศไทย โครงการย่อยที่ 2 การศึกษาและจัดทำฐานข้อมูลกาลอากาศสำหรับงานวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงของประเทศไทย การพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) การพัฒนาวิธีการตรวจและการศึกษาระบาดวิทยาของเชื้อแบคทีเรีย NHP ในประเทศไทย การพัฒนามาตรฐานฟาร์มสาหร่ายสไปรูลิน่าสำหรับกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก