สืบค้นงานวิจัย
ธุรกิจการผลิตของกลุ่มสตรีสหกรณ์ภาคเหนือตอนบน
วราภา คุณาพร - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ธุรกิจการผลิตของกลุ่มสตรีสหกรณ์ภาคเหนือตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Business-oriented Production of the Coopertive Women Group in the Upper North of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วราภา คุณาพร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Warapa Kunaporn
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาการผลิตเชิงธุรกิจของกลุ่มสตรีสหกรณ์ในเขตภาคเหนือตอนบน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นประธานกลุ่มสตรีสหกรณ์ที่มีการผลิตเชิงธุรกิจ ผลการศึกษาพบว่า มีกลุ่มสตรีสหกรณ์ในเขตภาคเหนือตอนบนที่มีการผลิตเชิงธุรกิจ 33 กลุ่ม ซึ่ง 16 กลุ่มอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ แบ่งประเภทการผลิตออกได้ 5 กลุ่ม ได้แก่ การแปรรูปอาหาร การทอผ้า และผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ การผลิตกล้าไม้ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากพืชและอื่น ๆ รวมมีกิจกรรมการผลิตทั้งสิ้น 54 ประเภท ประธานกลุ่มสตรีสหกรณ์มีอายุเฉลี่ย 43.74 ปี ส่วนใหญ่แต่งงานแล้ว จบการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้น และดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มเฉลี่ย 2.65 ปี จากการศึกษาต้นทุนผลตอบแทนของการผลิตเชิงธุรกิจ พบว่า การผลิตกล้าไม้ เป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดถึงร้อยละ 96 ประเภทของการผลิตที่ให้ผลตอบแทนมากกว่า ร้อยละ 50 ได้แก่ ข้าวแตน น้ำเสาวรสเข้มข้น น้ำดื่มบรรจุแกลลอน ชุดสตรี และกล้วยกวน การผลิตส่วนใหญ่ให้ผลตอบแทนมากกว่าร้อยละ 30 การผลิตที่ให้ผลตอบแทนเป็นลบ ได้แก่ ไม้กวาด การจัดดอกไม้งานศพ พวงหรีดดอกไม้สด และน้ำพริกลาบ ช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่มีอายุการเก็บรักษาได้นานมีมากกว่าผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ จึงมีข้อเสนอแนะให้สนับสนุนกลุ่มสตรีสหกรณ์ผลิตกล้าไม้เป็นธุรกิจ ขณะเดียวกันต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดควบคู่กันไปด้วย
บทคัดย่อ (EN): The objective of this research was to investigate the business --oriented production of the cooperative women groups in the upper north of the country. Population studied were chairladies of cooperative women groups who owned business - oriented production. The results of this study showed that there were 33 cooperative women groups in the upper north which owned business - oriented production. Sixteen groups of which were in Chiang Mai Province. These productions were categorized into 5 types including food preservation, hand - woven fabric and its products, nursery plant, plant product preservation, and others. There were total of 54 products. Chairladies of the women cooperative groups were 43.74 years of age, mostly married with primary school education and occupied this position for about 2.65 years. The study on profit margin showed that nursery plant production was the production with most rate return of 96 percent. Other productions with more than 50 percent rate return included Kao - tan, concentrated passion fruit juice, bucket drinking water, lady's dress and banana paste. Most of the production gained more than 30 percent return rate. While some productions lost profit margin which were broom, funerial ceremony flower arrangement, fresh flower wreath and chili paste. Long shelve live products had more marketing channels than any other kind of products. It was suggested that supporting on low cost - high profit margin production e.g. nursery plant production should be promoted. Development of the products and market should be done at the same time.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2541
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2542
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/247297/169162
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ธุรกิจการผลิตของกลุ่มสตรีสหกรณ์ภาคเหนือตอนบน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2542
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การศึกษาระบบการผลิตและความยั่งยืนของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ในเขตภาคเหนือตอนบน การพัฒนารูปแบบเครือข่ายธุรกิจ OTOP เพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนของภาคเหนือตอนบน ประสิทธิภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน สถานภาพและปัญหาในการผลิตกุหลาบของภาคเหนือ ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการจัดไร่นาสวนผสมของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมเพื่อเพิ่มผลผลิตในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวสาลีในภาคเหนือตอนบน ประสิทธิผลการผลิตข้าวแปลงใหญ่ของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน การพัฒนาและเสริมสร้างความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจของกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง ในเขตภาคเหนือตอนบน การพัฒนาและเสริมสร้างความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจของกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง ในเขตภาคเหนือตอนบน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก