สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการเพาะพันธุ์ คัพภวิทยาและพัฒนาการของลูกปลารากกล้วยวัยอ่อน
รจวรรณ จดชัยภูมิ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการเพาะพันธุ์ คัพภวิทยาและพัฒนาการของลูกปลารากกล้วยวัยอ่อน
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Breeding, Embryonic and Larval Development of Long-nose loach, Acantopsis choirorhynchos (Bleeker, 1854)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รจวรรณ จดชัยภูมิ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Rojjawan Jodchaiyaphum
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาการเพาะพันธุ์ คัพภวิทยา และพัฒนาการของลูกปลารากกล้วยวัยอ่อน ได้รวบรวม ปลารากกล้วยจากธรรมชาติในแม่น้ำวัง จังหวัดลำปางมาเลี้ยงจนมีความสมบูรณ์เพศ และคัดเลือกปลาเพศผู้ ซึ่งมีความยาวเฉลี่ย 9.59?0.16 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 6.84?0.13 กรัม และปลาเพศเมียมีความยาวเฉลี่ย 11.12?0.12 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 10.54?0.13 กรัม มาเพาะพันธุ์โดยฉีดกระตุ้นด้วยน้ำเกลือ 0.7 เปอร์เซ็นต์ ฉีดกระตุ้นด้วยฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ด้วยความเข้มข้น 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 โดส และฉีดกระตุ้นด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ (buserelin acetate) ในอัตราความเข้มข้น 5, 10, 15 และ 20 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ (domperidone) ในอัตรา 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ผลการศึกษาพบว่า การฉีดกระตุ้นด้วยน้ำเกลือ 0.7 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถทำให้แม่ปลาวางไข่ได้ ซึ่งพบว่าทุกชุดการทดลองที่ฉีดด้วย ฮอร์โมนสังเคราะห์ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ มีอัตราการวางไข่แตกต่างกับชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สำหรับจำนวนไข่ต่อแม่ อัตราการปฏิสนธิ อัตราการฟัก และอัตราการรอดตาย ของทุกชุดการทดลอง จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยอัตราความเข้มข้น 10 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมมีความเหมาะสมในการเพาะพันธุ์ปลารากกล้วยมากที่สุด เนื่องจากมีอัตราการปฏิสนธิ อัตราการฟัก และอัตราการรอดตายสูงสุด หลังการฉีดกระตุ้นแม่ปลาวางไข่ในเวลา 10-13 ชั่วโมง ไข่ปลารากกล้วยเป็นประเภทครึ่งจมครึ่งลอยมีรูปร่างกลมสีเหลืองใส ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 0.33 – 0.38 มิลลิเมตร ฟักออกเป็นตัวในเวลา 11 ชั่วโมง 50 นาที – 14 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิน้ำ 25.6?0.5 องศาเซลเซียส เมื่อศึกษาต้นทุนในการผลิตลูกปลารากกล้วย ในบ่อซีเมนต์ มีต้นทุน การผลิต 0.0043 บาทต่อตัว เมื่อพิจารณาจากจำนวนไข่ อัตราการปฏิสนธิ อัตราการฟัก อัตราการรอดตาย และผลผลิตลูกปลาที่ได้ จากการทดลองครั้งนี้สรุปได้ว่าการเพาะพันธุ์ปลารากกล้วยด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ในอัตรา 10 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์อัตรา 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม มีความเหมาะสมที่สุด เมื่อนำลูกปลารากกล้วยอายุ 3 วัน มาอนุบาลเป็นระยะเวลา 42 วัน ด้วยไข่แดงต้มสุกบดละเอียด, โรติเฟอร์และลูกไรแดงแต่ละชนิดเพียงอย่างเดียว พบว่าลูกไรแดง เป็นอาหารที่ทำให้ลูกปลารากกล้วยเจริญเติบโตดีที่สุด
บทคัดย่อ (EN): Study on breeding, embryonic and larval development of long-nose loach, Acantopsis choirorhychos (Bleeker, 1854) . Long-nose loach were collected from nature in the Wang river, Lampang province and reared until maturation. In this experimental male broodstock with 9.59?0.16 cm in average length, 6.84?0.13 g in average weight and female broodstock with 11.12?0.12 cm in average length, 10.54?0.13 g in average weight were designed to propagate with 0.7 percentage saline water breed without hormone injection, injection with pituitary gland at 0.5, 1.0, 1.5 and 2.0 dosageand injection with synthetic hormone (buserelin acetate) at 5, 10, 15 and 20 ?g/kg, together with antidopamine (domperidone) at 5 mg/kg. The results showed that all treatments spawned at 100 percentage except for the saline water, which could not be induced for spawning. All the parameter of the synthetic hormone injection were significantly different than those of the injection with pituitary gland and 0.7 percentage saline water (P<0.05). However, both types of hormone injections induced ovulation within 10-13 hours after injection. Eggs were yellowish round and semi buoyant with 0.33-0.38 mm of diameter. Larvae hatched out within 11 hours 50 mins - 14 hours at the water temperature of 25.6?0.5?c after fertilization. Length of hatched larva was 2.37 mm. The cost of larvae was 0.0043 Baht. Three days old larvae were preliminarily nursed for 42 days by boiled yolk, rotifers and moina. In conclusion, Injection with Buserelin acetate 10 ?g/kg together with Domperidone 5 mg/kg was suitable in incued spawning long-nose loach. And feeding 3 days old larval with moina was suitable.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-12-30
เอกสารแนบ: https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/view_activities/115/371
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการเพาะพันธุ์ คัพภวิทยาและพัฒนาการของลูกปลารากกล้วยวัยอ่อน
กรมประมง
30 ธันวาคม 2556
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมประมง
การเพาะพันธุ์ปลาเทโพ ชีววิทยาเพื่อการเพาะพันธุ์ของปลารากกล้วยในแม่น้ำวัง จังหวัดลำปาง(ชีววิทยาบางประการของปลารากกล้วยในแม่น้ำวังจังหวัดลำปาง) การเพาะพันธุ์ปลาซิวควาย การเพาะพันธุ์ปลาเค้าขาว การเพาะพันธุ์ปลาแขยงนวล พัฒนาการของลูกปลาหมอบัตเตอร์วัยอ่อน การเพาะพันธุ์ปลากดหินโดยวิธีฉีดฮอร์โมน พัฒนาการและการจำแนกสกุลของลูกปลาวัยอ่อนในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน การเพาะพันธุ์ปลาน้ำเงิน คัพภะและพัฒนาการของลูกปลาตะพาก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก