สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ธำรง บุณยประสาท - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธำรง บุณยประสาท
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงสภาพการปฏิบัติงานและปัญหาในการปฏิบัติงานในหน้าที่รับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้จากการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ไปถึงเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 154 ชุด และได้รับคืนมา 90 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ และค่ามัชฌิมเลขคณิต ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุต่ำกว่า 30 ปี เกือบทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ และมีภูมิลำเนาอยู่ทางภาคใต้ แต่มีเพียงร้อยละ 27.78 ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ วุฒิการศึกษาจบชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงทางเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ และมีเหตุผลที่ตัดสินใจเข้าทำงานในกรมส่งเสริมการเกษตรเพราะเห็นว่าตรงกับวิชาความรู้ที่ตนได้เรียนมา และงานส่งเสริมเหมาะกับนิสัยของตน อายุราชการของเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีตั้งแต่ 3 ปีลงมา และผ่านการฝึกอบรมด้านการส่งเสริมและวิชาการเกษตรมาแล้ว 2.สภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดชายแดนภาคใต้เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจสภาพการทำงานแล้ว คือพึงพอใจสถานที่ทำงาน ความมีอิสระในการทำงาน การได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากผู้ร่วมงานและผู้บังคับบัญชา การพิจารณาบำเหน็จความดีความชอบ และการได้รับโอกาสให้ศึกษาต่อและเข้ารับราชการฝึกอบรม อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ส่งเสริมยังเห็นว่า จำนวนโสตทัศนูปกรณ์ และสวัสดิการของเจ้าหน้าที่ยังมีอยู่น้อย 3.ในการดำเนินงานส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้และเทคโนโลยีแก่เกษตรกรเจ้าหน้าที่ส่งเสริมได้รับความร่วมมือจากผู้นำท้องถิ่น คือ ผู้ใหญ่บ้านมากที่สุด รองลงมาได้แก่ชาวบ้านซึ่งได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำโดยไม่มีตำแหน่งทางการ กำนัน ครู ผู้นำทางศาสนา อิสลามและพุทธ ส่วนผู้นำท้องถิ่นที่ให้ความร่วมมือน้อยคือพ่อค้าและคหบดี ในส่วนของเกษตรกรปรากฏว่า ให้ความสนใจในงานส่งเสริมของเจ้าหน้าที่พอประมาณ และให้ความร่วมมือแก่เจ้าหน้าที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ 4.ปัญหาในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เกิดขึ้นค่อนข้าวมาก ได้แก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมส่วนใหญ่ไม่สามารถพูดภาษามลายูได้ จึงประสบความลำบากในการติดต่อเข้าถึงเกษตรกร หน่วยงานขาดการสนับสนุนด้านโสตทัศนูปกรณ์เพื่อใช้ในการส่งเสริม สวัสดิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมในท้องที่ยังไม่ปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายและผู้ก่อการร้าย นอกจากนี้ความไม่พร้อมของปัจจัยการผลิตและการตลาดผลิตผลการเกษตรของเกษตรกรก็เป็นปัญหาในการปฏิบัติงานส่งเสริมของเจ้าหน้าที่ด้วย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้กรมส่งเสริมการเกษตรพิจารณารับบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้ามาทำหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรให้มากขึ้น สำหรับการแก้ปัญหาระยะสั้น ควรให้เจ้าหน้าที่ได้มีโอกาสเรียนภาษามลายู และถ้าเป็นได้ กรมฯควรส่งเจ้าหน้าที่ที่นับถือศาสนาอิสลามไปประกอบอาชีพทางศาสนาที่เมกกะ เพื่อจะได้เป็นโต๊ะหะยีซึ่งชาวไทยมุสลิมให้การยอมรับนับถือมาก ก็จะช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถติดต่อเข้าถึงเกษตรกรได้ง่ายและมากขึ้น นอกจากนี้กรมฯควรให้การฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถในการส่งเสริมการเกษตร จัดวางนโยบายและแผนงานส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ช่วยเหลือด้านสวัสดิภาพในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่เป็นกรณีพิเศษ และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การส่งเสริมการเกษตรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2522
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2523
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดชายแดนภาคใต้
กรมส่งเสริมการเกษตร
2523
ศึกษาปัจจัยบางประการที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในภาคใต้ ทัศนคติของเกษตรตำบลต่อระบบส่งเสริมการเกษตรใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ความต้องการใช้คอมพิวเตอร์เพื่องานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในระดับอำเภอจังหวัดมหาสารคาม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจัยบางประการที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงหนือ ความต้องการเอกสารเผยแพร่เพื่องานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบล ในภาคตะวันออก การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอตามระบบส่งเสริมการเกษตรในเขตจังหวัดนครนายก ปัจจัยที่มีผลต่อการปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรตามระบบส่งเสริมการเกษตรในเขตจังหวัดชลบุรี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก