สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาสายพันธุ์สับปะรดให้เหมาะสมกับผลสดและอุตสาหกรรมสับปะรด
สราวุธ รุ่งเมฆารัตน์ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสายพันธุ์สับปะรดให้เหมาะสมกับผลสดและอุตสาหกรรมสับปะรด
ชื่อเรื่อง (EN): Line Development of Pineapple for fresh fruit and Industrial
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สราวุธ รุ่งเมฆารัตน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: สับปะรด ปรับปรุงพันธุ์ ต้านทานโรค
คำสำคัญ (EN): pineapple breeding dieases
บทคัดย่อ:   สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การพัฒนาสายพันธุ์สับปะรดให้เหมาะสมกับผลสดและอุตสาหกรรมสับปะรด” แก่มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ โดยมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างสับปะรดสายพันธุ์ใหม่ให้ตอบสนองความต้องการของตลาดการบริโภคผลสดและสับปะรดกระป๋อง และ 2) สายพันธุ์ใหม่ มีลักษณะที่ดี เช่น ความเข้มสีของเนื้อสับปะรดสีเหลืองทอง มีรสชาติที่ต้องการ และลักษณะที่เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋อง ให้ผลผลิตสูง และสามารถปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมต่างๆ ของประเทศไทย จากการศึกษาวิจัย พบว่า สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย (Smooth Cayenne) เป็นสับปะรดเพียงพันธุ์เดียวที่เหมาะสมต่อการบริโภคผลสดและบรรจุกระป๋อง ทำให้อุตสาหกรรมสับปะรดขึ้นอยู่กับพันธุ์ปัตตาเวียเพียงพันธุ์เดียวมาอย่างยาวนาน ทำให้มีโอกาสเกิดการสุ่มเสี่ยงต่อการระบาดของโรคและแมลงที่อาจจะส่งผลความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการผลิตสับปะรดของประเทศในวงกว้าง อีกทั้งอุปนิสัยการบริโภคผลสด มีความต้องการที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค สร้างพันธุ์สับปะรดสายพันธุ์ใหม่ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดบริโภคผลสดและสับปะรดกระป๋อง รวมถึงเพิ่มลักษณะที่ดี เช่น เนื้อสีสับปะรดเป็นสีเหลืองทอง กลิ่นหอม คุณค่าทางโภชนาการที่สูงขึ้น ผลผลิตสูงขึ้น และปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้ดี ดังนั้นต้องมีการพัฒนาสายพันธุ์สับปะรดขึ้น โดยกระบวนการปรับปรุงพันธุ์พืช ซึ่งจะต้องมีการรวมรวมเชื้อพันธุกรรม โดยคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ทั้งหมด 3 พันธุ์ ดังนี้ 1) พันธุ์ปัตตาเวีย 2) พันธุ์ตราดสีทอง และ 3) พันธุ์ MD2 เพื่อใช้เป็นเชื้อพันธุกรรมต่อการปรับปรุงพันธุ์ โดยผสมพันธุ์ทั้งหมด 6 คู่ผสม ดังนี้ ปัตตาเวีย x MD2 ปัตตาเวีย x ตราดสีทอง MD2 x ปัตตาเวีย MD2 x ตราดสีทอง ตราดสีทอง x ปัตตาเวีย และตราดสีทอง x MD2 พบว่า MD2 x ตราดสีทอง มีจำนวนเมล็ดสูงสุด 1,500 เมล็ด และปัตตาเวีย x MD2 มีจำนวนเมล็ดน้อยที่สุด 300 เมล็ด เนื่องจากการเก็บรวบรวมเมล็ดจะต้องใช้เวลานานประมาณ 120-150 วันหลังจากผสมพันธุ์ จึงมีวิธีย่นระยะเวลาโดยการช่วยชีวิตเอ็มบริโอในสภาวะปลอดเชื้อ (Embryo rescue) โดยใช้ระยะเวลา 45 55 และ 65 วันหลังผสมพันธุ์ พบว่า ที่ระยะเวลา 55 วัน มีร้อยละความงอกสูงที่สุด คือ ร้อยละ 49 รองลงมาที่ระยะ 65 และ 55 วัน มีร้อยละการงอก 33 และ 30 ตามลำดับ นอกจากนี้การฆ่าเชื้อโรคเพื่อให้เอ็มบริโอปลอดเชื้อโรค โดยการฟอกด้วยสารละลาย HaiterÒ ความเข้มข้น 20 % และการเผาไฟด้วยการฉีดพ่นแอลกอฮอล์ 90% พบว่าการซ่าเชื้อด้วยการเผาทำให้เมล็ดอ่อนอยู่ในสภาวะปลอดเชื้อ ร้อยละ 97 ซึ่งดีกว่าการฟอกด้วยสารละลาย HaiterÒ ที่ทำให้เมล็ดอ่อนอยู่ในสภาวะปลอดเชื้อ ร้อยละ 13 ซึ่งการช่วยชีวิตเมล็ดอ่อนช่วยลดระยะเวลาในการสร้างประชากรลูกผสม เพื่อใช้ในการคัดเลือกสายพันธุ์ต่อไป ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้คือ ได้สับปะรดสายพันธุ์ใหม่อย่างน้อย 2 สายพันธุ์ เพื่อใช้รับประทานผลสดและอุตสาหกรรมแทนสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย โดยใช้เทคนิคดังนี้ 1) เทคนิคการคัดเลือกต้นพ่อแม่พันธุ์สับปะรดให้มีลักษณะตรงตามพันธุ์ เพื่อนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ในการผสมเกสร 2) เทคนิคการชักนำออกดอก 3) เทคนิคการผสมเกสร และ 4) เทคนิคการย่นระยะเวลาการปรับปรุงพันธุ์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-09-02
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-01
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2558
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาสายพันธุ์สับปะรดให้เหมาะสมกับผลสดและอุตสาหกรรมสับปะรด
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
1 กันยายน 2559
การพัฒนาสายพันธุ์สับปะรดให้เหมาะสมกับผลสดและอุตสาหกรรมสับปะรด 2558A17002048 การปรับปรุงพันธุ์สับปะรดเพื่อการบริโภคผลสดและอุตสาหกรรมแปรรูป 2559A17002016 การปรับปรุงพันธุ์สับปะรดเพื่อการบริโภคผลสดและอุตสาหกรรมแปรรูป โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์สับปะรด โครงการทำผลิตภัณฑ์จากสับปะรด(ไอศกรีมสับปะรดและแยมสับปะรด) การพัฒนาพันธุ์สับปะรดเพื่อการบริโภคผลสดและอุตสาหกรรมแปรรูป การปรับปรุงพันธุ์สับปะรดสีโดยการเหนี่ยวนำให้กลายพันธุ์ด้วยรังสีแกมมา และอิเล็กตรอนบีม การสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมของสับปะรดโดยการชักนำให้ เกิดการกลายพันธุ์เพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ 2557A17002036 การปรับปรุงพันธุ์สับปะรดเพื่อการบริโภคผลสดและอุตสาหกรรมแปรรูป เครื่องปอกสับปะรดสำหรับอบแห้ง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก