สืบค้นงานวิจัย
ผลของการทำ osmopriming ด้วยสารเคมีต่างกันต่อการเปลี่ยนแปลง คุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม
บุญมี ศิริ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของการทำ osmopriming ด้วยสารเคมีต่างกันต่อการเปลี่ยนแปลง คุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of osmopriming with chemicals on changes in hybrid tomato seed quality
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: บุญมี ศิริ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Boonmee Siri
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อรนุช เดียมขุนทด
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Orranut Diumkhunthod
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสมโดยการทำ osmopriming ด้วยสารเคมีชนิดต่างๆ โดยดำเนินการทดลอง ณ ห้องปฏิบัติการเมล็ดพันธุ์ โรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการทำ osmopriming ด้วย PEG 6000 (-1.5 MPa) ร่วมกับ KNO3 (1% และ 2%), KH2 PO4 (1% และ 2%) และ vitamin C (1% และ 2%) ควบคุมอุณหภูมิที่ 15 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 5 วัน หลังจากนั้นนำเมล็ดมาลดความชื้นให้ใกล้เคียงกับความชื้นตั้งต้น ด้วยเครื่องลดความชื้นแบบลมแห้ง และการหมุนเหวี่ยง รุ่น KKU 40-2 แล้วนำเมล็ดมาตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ในลักษณะต่างๆ คือ ความงอก และความเร็วในการงอก ผลการทดลองพบว่า การทำ osmopriming ร่วมกับวิตามินซี 2% ทำให้ความงอก และความเร็วในการงอกของมะเขือเทศสูงที่สุดเมื่อเพาะเมล็ดในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพเรือนทดลอง
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was to investigatethe effects of osmopriming method with different chemicals on changes in quality of hybrid tomato seeds. The experiment was conducted at the Seed Quality Testing Laboratory Seed Processing Plant, Faculty of Agriculture, KhonKaen University. The tomato seeds were soaked in water plus PEG 6000 (-1.5 MPa) in combination with KNO3 (1% and 2%), KH2 PO4 (1% and 2%) and vitamin C (1% and 2%) at 15°C for 5 days. After priming process, seed moisture content was subsequently reduced to their initial by therotating modified air seed dryer machine (Model KKU 40-2). Then, seed quality of primed seeds was tested quality. The results showed that primed seeds with PEG 6000 (-1.5 MPa)with vitamin C 2% had the highest germination percentage and speed of germination under laboratory and greenhouseconditions.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=41O-AGRO-029.pdf&id=870&keeptrack=8
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการทำ osmopriming ด้วยสารเคมีต่างกันต่อการเปลี่ยนแปลง คุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม
บุญมี ศิริ
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2556
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของการกระตุ้นการงอกด้วยสารเคมีต่างชนิดต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม ผลของการเคลือบเมล็ดด้วยธาตุอาหารพืชต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม ผลของการเคลือบด้วยฮอร์โมน IAA ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ด้วยวัสดุประสานชนิดแตกต่างกันต่อลักษณะทางกายภาพของก้อนพอกและคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับธาตุอาหารพืชต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์หลังการเคลือบและเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันของมะเขือเทศลูกผสม ผลของสารพอกและวัสดุประสานต่างชนิดกัน ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดไร่ขนาดเล็ก ผลของอุณหภูมิสูงในระยะเจริญพันธุ์ที่มีต่อการติดเมล็ดและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว พันธุ์แอสเตอร์ที่เหมาะสมในการผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อการค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลของการห่อผลที่มีต่อคุณภาพของมะม่วงพันธุ์มหาชนก ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับฮอร์โมนพืชต่อคุณภาพและการเจริญเติบโตระยะต้นกล้าของเมล็ดพันธุ์แตงกวา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก