สืบค้นงานวิจัย
สภาพการปลูกและดูแลรักษายางพาราของเกษตรกรที่เปิดกรีดยางแล้วในจังหวัดอุบลราชธานี
อาคม ศรีประภาวงศ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการปลูกและดูแลรักษายางพาราของเกษตรกรที่เปิดกรีดยางแล้วในจังหวัดอุบลราชธานี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อาคม ศรีประภาวงศ์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกร ศึกษาสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรและเพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกร เป็นการศึกษาเชิงสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลโดยสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง 245 คน ซึ่งเป็นเกษตรกรที่ได้รับใบอนุญาตขายยางจากสำนักงานเกษตรอำเภอ จำนวน 14 อำเภอ เกษตรกรทั้งหมด 636 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS for Windows สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรที่ศึกษา ร้อยละ 88.20 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 47.51 ปี การศึกษา ร้อยละ 79.60 จบระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.14 คน มีแรงงานด้านการเกษตรในครัวเรือนเฉลี่ย 2.94 คน จ้างแรงงานด้านการเกษตรเฉลี่ยครัวเรือนละ 0.95 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ยครัวเรือนละ 37.91 ไร่ มีพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งหมดเฉลี่ยครัวเรือนละ 17.91 ไร่ มีพื้นที่สวนยาพาราที่เปิดกรีดได้แล้วเฉลี่ยครัวเรือนละ 11.23 ไร่ และมีสวนยางพาราที่ยังเปิดกรีดไม่ได้เฉลี่ยครัวเรือนละ 6.68 ไร่ มีรายได้ทั้งหมดต่อปีเฉลี่ยครัวเรือนละ 116,520.04 บาท มีรายได้จากการขายยางพาราต่อปีเฉลี่ยครัวเรือนละ 77,612.24 บาท การปลูกยางพาราเกษตรกรที่ศึกษา ร้อยละ 69 ได้รับสนับสนุนโครงการจากหน่วยงานของราชการหรือเอกชน เกษตรกรร้อยละ 95.90 ปลูกยางพาราพันธุ์ อาร์ อาร์ ไอ เอ็ม 600 เกษตรกรร้อยละ 91.80 คิดว่าจะปลูกยางพาราเพิ่มเติมอีก สวนยางพาราของเกษตรกรเปิดกรีดมาแล้วเฉลี่ย 3.63 ปี มีแรงงานกรีดยางในครัวเรือนเฉลี่ย 1.83 คน จ้างแรงงานกรีดยางเฉลี่ยครัวเรือนละ 0.51 คน ใน 1 ปี เกษตรกรกรีดยางได้เฉลี่ย 148.31 วัน ผลผลิตยางเฉลี่ย 2.45 กิโลกรัมต่อไร่ต่อวัน เกษตรกรร้อยละ 99.20 มีการใส่ปุ๋ยเคมีในสวนยางพาราหลังการเปิดกรีดยาง ร้อยละ 68.60 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15 - 7 - 18 อัตราการใส่ปุ๋ยเคมีโดยเฉลี่ย 53.92 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี เกษตรกร ร้อยละ 61.20 ใช้น้ำจากบ่อบาดาลในการทำยางแผ่น เกษตรกรร้อยละ 91 ใช้น้ำ 3 ลิตร ผสมกับน้ำยาง 2 ลิตร ใน 1 ตะกงเพื่อทำยางแผ่น เกษตรกรร้อยละ 85.30 มีการคัดชั้นยางก่อนที่จะนำยางไปจำหน่าย และเกษตรกรร้อยละ 58.40 มีการรวมกลุ่มกันขายยาง สำหรับปัญหาในการผลิตยางพารานั้น เกษตรกรมีประเด็นปัญหาระดับน้อย ได้แก่ ขาดเงินทุน ขาดแหล่งพันธุ์ยาง ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ วัชพืชในสวนยางพารามาก มีโรคหน้ายางระบาด ตลาดจำหน่ายยางอยู่ไกล และ ยางแผ่นราคาต่ำพ่อค้ากดราคา ข้อเสนอแนะ ควรมีการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรทั้งเรื่องการปลูกและการบำรุงรักษาสวนยาง เรื่องการกรีดยาง และการทำยางแผ่นชั้นดี รวมทั้งการคัดชั้นยาง ควรจัดตั้งตลาดรับซื้อยางแผ่นในท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้น ควรส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกร ควรส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชแซมยางและพืชร่วมยางเพื่อเพิ่มรายได้ ควรส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางพาราเพิ่มมากขึ้น และการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มผลผลิตยางพาราต่อไร่ของเกษตรกร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการปลูกและดูแลรักษายางพาราของเกษตรกรที่เปิดกรีดยางแล้วในจังหวัดอุบลราชธานี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการดูแลรักษาสวนยางพาราก่อนเปิดกรีดของเกษตรกร อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการปลูกยางพาราของเกษตรกรในจังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการบำรุงรักษาสวนยางพาราหลังเปิดกรีดของเกษตรกรในอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาสวนยางพาราหลังเปิดกรีดของเกษตรกรในโครงการสินเชื่อการเกษตรและปลูกยางพารา ความพึงพอใจและปัญหาของเกษตรกรต่อการปลูกยางพาราในจังหวัดพะเยา สภาพการปลูกพริกของเกษตรกรอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี การวิเคราะห์ศักยภาพการปลูกยางพาราในช่วงก่อนเปิดกรีดระดับแปลงเกษตรกร ในโครงการปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคง ให้แก่เกษตรกรในเขตปลูกยางใหม่ สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เริ่มเปิดกรีด จังหวัดอุดรธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก