สืบค้นงานวิจัย
การใช้ประโยชน์จากน้ำมันเหลือใช้จากอุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าว
รองศาสตราจารย์เสมอขวัญ ตันติกุล - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การใช้ประโยชน์จากน้ำมันเหลือใช้จากอุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าว
ชื่อเรื่อง (EN): By product utilization waste oil from coconut processing plant
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รองศาสตราจารย์เสมอขวัญ ตันติกุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ฤทธิชัย อัศวราชันย์
คำสำคัญ: มะพร้าว
คำสำคัญ (EN): coconut
บทคัดย่อ:   สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การใช้ประโยชน์จากน้ำมันเหลือใช้จากอุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าว” แก่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี รศ.เสมอขวัญ ตันติกุล เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากน้ำมันเหลือใช้จากอุตสาหกรรมแปรูปมะพร้าว เพื่อนำน้ำมันดังกล่าวไปเป็นเชื้อเพลิง จากการศึกษาคุณสมบัติพื้นฐานของน้ำมันเหลือใช้จากอุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าว โดยผ่านกรรมวิธีทางเคมี ได้คุณสมบัติดังนี้ มีความถ่วงจำเพาะที่ 60/60 ๐F เท่ากับ 0.88 ความหนืด เท่ากับ 84.0 เซนติสโตก จุดไหลเท เท่ากับ 21 ๐C จุดขุ่นตัว เท่ากับ 25 ๐C ค่าความร้อน เท่ากับ 7,416 cal/g ปริมาณกำมะถัน %wt เท่ากับ 0.38 %wt. จุดวาบไฟ เท่ากับ 157.3 ๐C การติดไฟ เท่ากับ 164.6 ๐C Ash (% wt) 0.53% wt และการกัดกร่อนแผ่นทองแดงไม่สูงกว่า 1 ศึกษาปัจจัยหลักที่มีผลต่อการทำทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน พบว่ากระบวนการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบสองขั้นตอนทรานส์เอสเทอริฟิเคชันเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด โดยขั้นตอนแรกเป็นตัวทำละลาย ใช้โปแทสเซียมไฮดรอกซ์ไซด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทรานส์เอสเทอริฟิเคชันขั้นตอนที่สอง ใช้เมทานอล เป็นตัวทำละลายใช้โปแทสเซียมไฮดรอกซ์ไซด์ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาจะได้เมทิลเอสเทอร์ 90% โดยเฉลี่ย นอกจากนี้การศึกษาสมบัติการเป็นเชื้อเพลิงและผลของการใช้ไบโอดีเซลจากน้ำมันเหลือใช้แล้วผสมกับน้ำมันดีเซล 3 ค่า ได้แก่ 25, 50 และ 75 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร และผลของการใช้ไบโอดีเซลจาก น้ำมันเหลือใช้แล้วผสมกับเอทานอลปริมาณ 2 ค่า เช่น 5 (B5) และ 20 (B20) เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร เป็นต้น หลังการปรับปรุงสมบัติที่สำคัญของน้ำมันเชื้อเพลิงและสมบัติทางกายภาพทุกชนิดที่ได้จากการทดลอง แล้วนำไปทดสอบสมรรถนะกับเครื่องยนต์ดีเซลสูบเดียว (รอบต่ำ) คูโบต้า อีที ขนาด 9.5 แรงม้า พบว่าน้ำมัน ไบโอดีเซล B100 มีสมรรถนะสูงสุดที่ 2,400 RPM Torque 37.93 N-m Brake Horse Power 6.5 BHP. Fuel consumption 1.92 Litre /Hour และ Exhaust gas HC 67 PPm CO 1.2  % การออกแบบและประยุกต์การใช้หัวเผาน้ำมัน พบว่าต้องอัดอากาศเข้าเผาไหม้โดยใช้เกณฑ์การปรับแต่ง คือ ปรับให้เปอร์เซ็นต์ออกซิเจนในก๊าซไอเสียอยู่ในช่วง 3.5% - 4% โดยที่ค่าคาร์บอนมอนอ๊อกไซด์ ไม่ควรเกิน 50 ppm จะทำให้หัวเผา หัวฉีดสึกหรอช้า ป้องกันชุดรองรับหัวฉีดชำรุดรั่ว ป้องกันกระจังลมชำรุด หัก เบี้ยว ป้องกันกรวยไฟสกปรก มีก้อนนํ้ามันเกาะติดในปริมาณมาก ทั้งนี้ต้นทุนการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันเหลือใช้ในกระบวนการผลิตน้ำมันมะพร้าวอยู่ที่ลิตรละ 25 บาท ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้คือ ได้กระบวนการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบสองขั้นตอนทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน เพื่อใช้ประโยชน์ของเสียจากอุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าวและนำของเสียดังกล่าวมาใช้เป็นเชื้อเพลิง  
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-09-02
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-01
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2559
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ประโยชน์จากน้ำมันเหลือใช้จากอุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าว
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
1 กันยายน 2560
เทคโนโลยีการแปรรูปโดยไม่ใช้ความร้อนแบบผสมผสานด้วยเทคนิคพัลส์สนามไฟฟ้าร่วมกับการใช้ความดันสูงสำหรับการแปรรูปน้ำมะพร้าว การสกัดและใช้ประโยชน์เส้นใยอาหารและเซลลูโลสจากกากมะพร้าวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและการสร้างตัวแบบเพื่อการพยากรณ์การถ่ายเทมวลสารระหว่างการทอด การพัฒนากรรมวิธีการผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์และผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์เป็นส่วนประกอบเพื่อส่งเสริมการผลิตอาหารสุขภาพ การตรวจสอบสมบัติการต้านอนุมูลอิสระและสมบัติการต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์และผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพที่ใช้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์เป็นส่วนประกอบ การเตรียม Monolaurin จากน้ำมันมะพร้าว การพัฒนาเอนไซม์เพื่อใช้ในการผลิตพรีไบโอติกจากกากมะพร้าว การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพจากของเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ : ชุมชนผู้ผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ระยะที่ 2) การวิจัยและพัฒนาดัดแปรโครงสร้างของน้ำมันมะพร้าวเพื่อเป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์นวดลดการอักเสบโดยใช้เทคโนโลยีตัวเร่งชีวภาพ การใช้น้ำมันมะพร้าวดัดแปลงร่วมกับเชลแลคเพื่อควบคุมโรคผลเน่าและยืดอายุการเก็บรักษาเงาะที่ฉายรังสีแกมมา (ระยะที่ 2) ผลการใช้ใบกระถินป่นผสมกากมะพร้าวแทนรำข้าวในอาหารสุกรขุน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก