สืบค้นงานวิจัย
ถั่วเหลืองสำหรับแปรรูปเป็นน้ำนมถั่วเหลือง:สายพันธุ์ GC96026-10 (ลพบุรี 1)
อานนท์ มลิพันธ์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ถั่วเหลืองสำหรับแปรรูปเป็นน้ำนมถั่วเหลือง:สายพันธุ์ GC96026-10 (ลพบุรี 1)
ชื่อเรื่อง (EN): Soybean variety for soymilk: GC96026-10 (Lop Buri 1)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อานนท์ มลิพันธ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Anon Malipan
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ถั่วเหลืองสายพันธุ์ GC96026-10 เป็น 1 ใน 31 สายพันธุ์ที่มีกลิ่นเหม็นเขียวน้อย นำเข้าจาก AVRDC ประเทศ ไต้หวัน ในปี 2546 นำมาคัดเลือกเพื่อให้ได้สายพันธุ์ถั่วเหลืองที่มีคุณภาพทางเคมีและทางด้านประสาทสัมผัส (รสชาติและ กลิ่น) เป็นที่ยอมรับสำหรับการผลิตน้ำนมถั่วเหลือง และให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60 ซึ่งเป็นพันธุ์เปรียบเทียบ โดย ทำการเปรียบเทียบเบื้องต้นและมาตรฐาน ตั้งแต่ปี 2547 ถึง 2549 ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี อ.เมือง จ.ลพบุรี และเริ่มตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางด้านน้ำนมถั่วเหลืองของสายพันธุ์ที่คัดเลือกได้ ในปี 2549 ที่ห้องปฏิบัติการ บริษัท แดรี่ พลัส จำกัด จากนั้นทำการเปรียบเทียบและทดสอบในไร่เกษตรกร จังหวัดลพบุรี สุโขทัย เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก เพื่อ ศึกษาผลของสภาพแวดล้อมที่ต่างกันต่อคุณภาพทางด้านน้ำนมถั่วเหลืองและผลผลิต ตั้งแต่ปี 2550 ถึง 2552 และศึกษา ข้อมูลจำเพาะของสายพันธุ์ดีเด่นในปี 2553 จนคัดเลือกได้ถั่วเหลืองสายพันธุ์ GC96026-10 ที่มีลักษณะเด่นคือ (1) มีกลิ่น เหม็นเขียวน้อยและมีกลิ่นหอมของถั่วเหลืองค่อนข้างเด่นชัดซึ่งเป็นที่ยอมรับของบริษัทผู้ผลิตน้ำนมถั่วเหลือง (2) ให้ผลผลิต เฉลี่ย 358 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60 ร้อยละ 10 (3) เมล็ดพันธุ์มีความงอกดีและเก็บรักษาได้นานกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60 และ (4) ต้านทานต่อโรคใบจุดนูนของถั่วเหลือง ขณะนี้อยู่ระหว่างขอรับรองเป็นพันธุ์แนะนำจากกรมวิชาการเกษตร โดยตั้งชื่อว่า ถั่วเหลืองพันธุ์ ลพบุรี 1 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูกสำหรับใช้เป็นถั่วเหลืองสำหรับแปรรูปอาหารต่อไป
บทคัดย่อ (EN): GC96026-10 is one of 31 soybean lines with little beany flavor, introduced from AVRDC, Taiwan in 2003. The soybean lines were then selected for chemical and sensory quality (taste and flavor) accepted for soymilk production and higher yield than Chiang Mai 60, which was used as a check cultivar. Preliminary and standard trials were conducted during 2004-2006 at Lop Buri Agriculture Research and Development Center, Mueang, Lop Buri province. Soymilk quality test of selected lines began in 2006 at the laboratory of Dairy Plus Co., Ltd. Subsequently, farmer trials and farmer field tests were conducted during 2007-2009 at Lop Buri, Sukhothai, Phetchabun and Phitsanulok provinces to evaluate the effects of various environmental conditions on soymilk quality and grain yield. Study of specific data of promising lines were done in 2010 and finally GC96026-10 was selected. The prominent characteristics of this variety were as follows: (1) little beany flavor and obvious soymilk flavor accepted by soymilk manufacturer; (2) grain yield average of 358 kg/Rai, which is 10% higher than that of Chiang Mai 60; (3) better seed germination and preservation than that of Chiang Mai 60; (4) highly resistant to bacterial pustule. Registration of GC96026-10 for certification under the named of “Lop Buri 1”, from the Department of Agriculture is under going. It will then be introduced to farmers to grow and produce soy food products.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=142.pdf&id=585&keeptrack=6
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ถั่วเหลืองสำหรับแปรรูปเป็นน้ำนมถั่วเหลือง:สายพันธุ์ GC96026-10 (ลพบุรี 1)
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2554
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวจากน้ำนมถั่วเหลือง การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสง 6 สายพันธุ์ใหม่ เพื่อการบริโภคและแปรรูป การผลิตเมล็ดพันธุ์ ถั่วลิสง 6 สายพันธุ์ใหม่เพื่อการบริโภคและแปรรูป การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสง 6 สายพันธุ์ใหม่เพื่อการบริโภคและแปรรูป ผลของไคโตซานในการควบคุมโรค และผลผลิตของถั่วเหลืองสายพันธุ์แนะนำ การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองอายุสั้น การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองอายุสั้น ช่วงเก็บเกี่ยวที่มีผลต่อปริมาณโปรตีนและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองสายพันธุ์โปรตีนสูง ถั่วเหลืองสายพันธุ์ก้าวหน้า การปรับปรุงถั่วดาบเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต้นถั่วสาน์สรัก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก