สืบค้นงานวิจัย
การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ด้านการส่งน้ำและบำรุงรักษา
สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน - กรมชลประทาน
ชื่อเรื่อง: การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ด้านการส่งน้ำและบำรุงรักษา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
บทคัดย่อ: “น้ำ” เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมวล มนุษย์ จนมีคำกล่าวว่า “น้ำคือชีวิต” ในปัจจุบัน อัตราความต้องการใช้น้ำของทุกภาคส่วนที่เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการอุปโภคบริโภค ซึ่ง เพิ่มขึ้นตามอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวของเมือง และความต้องการอาหารเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งปริมาณน้ำที่จำเป็นต่อการ รักษาระบบนิเวศและสัตว์น้ำ ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งก็ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในทุกภาคส่วน เช่นกัน ซึ่งนับวัน ปัญหาจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงขึ้นตาม ลำดับ ทั้งนี้เกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้ 1. นโยบายภาครัฐได้เร่งรัดการผลิตเพื่อการส่งออก จึงมีผลให้ ความต้องการน้ำชลประทาน เพื่อการผลิตของเกษตรกรมีมากขึ้นเป็นเงา ตามตัว 2. ความต้องการใช้น้ำชลประทานได้ขยายขอบเขต ไปสู่นอกภาค เกษตรกรรมเพิ่มขึ้น ตามนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของรัฐ และ ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 3. การใช้น้ำชลประทานเพื่อเกษตรกรรมยังคงขาดประสิทธิภาพ ยังมีการใช้น้ำอย่างฟุ่มเฟือย เพราะเป็นบริการแบบให้เปล่าจากรัฐ 4. การบริหารงานพัฒนาแหล่งน้ำยังขาดการวางแผนอย่างเป็น ระบบและมีเอกภาพ ภายในลุ่มน้ำเดียวกันมีหลากหลายหน่วยงานที่ทำ หน้าที่พัฒนาแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน และทำให้ศักยภาพ ของแหล่งน้ำธรรมชาติถูกลดทอนลงไป 5. มีข้อจำกัดเกี่ยวกับความเหมาะสมของสภาพภูมิประเทศ สำหรับก่อสร้างแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพ และต้องเผชิญปัญหา การต่อต้านจากประชาคม สืบเนื่องจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือ ระบบนิเวศวิทยา ภาคเกษตรกรรม ซึ่งเป็นภาคที่ใช้น้ำมาก ถูกเพ่งเล็งว่าเป็นภาคที่ ใช้น้ำเปลืองและได้ผลตอบแทนต่ำกว่าภาคอื่นๆ จึงถูกเรียกร้องให้ใช้น้ำ อย่างประหยัดและมีความยั่งยืน ทิศทางการบริหารจัดการน้ำชลประทาน จึงมุ่งไปที่การเพิ่ม ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากน้ำชลประทานที่ได้รับการพัฒนาแล้ว แทนการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อขยายพื้นที่ชลประทานเป็นหลัก โดยการปรับ เปลี่ยนจากการพัฒนาเชิงปริมาณ (Quantitative Oriented) ไปเป็นการ พัฒนาเชิงคุณภาพ (Qualitative Oriented) ด้วย “ยุทธศาสตร์การ พัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Approaches)” เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพชลประทาน ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology) เพื่อเพิ่มคุณค่าของน้ำชลประทาน โดยมีขบวนการที่สำคัญที่สุด คือ การส่งเสริมให้เกษตรกร ผู้ใช้น้ำมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำชลประทานอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ในการบริหารจัดการน้ำชลประทานยุคใหม่ เพื่อรับมือกับสถานการณ์วิกฤตการขาดแคลนน้ำในอนาคต
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมชลประทาน
คำสำคัญ:
หมวดหมู่: อื่นๆ
หมวดหมู่ AGRIS: C การศึกษา การส่งเสริม และการเผยแพร่ (Education, extension, and advisory work)
เจ้าของลิขสิทธิ์: กรมชลประทาน
รายละเอียด: Submitted by รดา รุจณรงค์ กรมชลประทาน (rada_ru@rid.go.th) on 2018-04-27T10:00:10Z No. of bitstreams: 2 9.คู่มือการบริหารจัดการจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม.pdf: 110975541 bytes, checksum: ade341d7a525b908f1f6155f88cc2a39 (MD5) license_rdf: 811 bytes, checksum: 53b05846eb6eeb1c33891ab08e36a383 (MD5)
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ด้านการส่งน้ำและบำรุงรักษา
สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมชลประทาน
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
กรมชลประทาน
การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ด้านการส่งน้ำและบำรุงรักษา (VDO) การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ชุด 1 การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ชุด 2 ก้าวสู่ความสำเร็จการบริหารจัดการชลประทาน โดยเกษตรกรมีส่วนร่วม โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม การพัฒนาการมีส่วนร่วมและการสร้าง ความเข้มแข็งองค์กรผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แฝก-แม่งัด อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ การบริหารจัดการน้ำ และการบริหารองค์กรผู้ใช้น้ำชลประทาน การบำรุงรักษาโดยกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน การบริหารจัดการคุณภาพน้ำชลประทานเพื่อรักษาพื้นที่ชลประทานให้มีศักยภาพสูงในการให้ผลผลิตทางการเกษตรโดยใช้ระบบโทรมาตร: กรณีศึกษาที่ II การติดตามประเมินผลระบบบำบัดน้ำทิ้งจากชุมชน ฟาร์มเลี้ยงสุกรและอุตสาหก การบริหารจัดการคุณภาพน้ำชลประทานเพื่อรักษาพื้นที่ชลประทานให้มีศักยภาพสูงในการให้ผลผลิตทางการเกษตรโดยใช้ระบบโทรมาตร: กรณีศึกษาที่ II การติดตามประเมินผลระบบบำบัดน้ำทิ้งจากชุมชน ฟาร์มเลี้ยงสุกรและอุตสาหก
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก