สืบค้นงานวิจัย
การจัดการดินพื้นที่นากุ้งร้าง ด้วยปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรไนโตรเจน ฟอสฟอรัสร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ พด.12 และน้ำหมักชีวภาพซุปเปอร์พด.2 เพื่อเพิ่มผลผลิตของปาล์มน้ำมัน
ภิญโญ สุวรรณชนะ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การจัดการดินพื้นที่นากุ้งร้าง ด้วยปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรไนโตรเจน ฟอสฟอรัสร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ พด.12 และน้ำหมักชีวภาพซุปเปอร์พด.2 เพื่อเพิ่มผลผลิตของปาล์มน้ำมัน
ชื่อเรื่อง (EN): Management of abandoned shrimp by using high quality nitrogen and phosphorus organic fertilizer with bio-fertilizer LDD 12 and bio-fermented liquid super LDD 2 for increasing yield of oil plam
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ภิญโญ สุวรรณชนะ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาการจัดการดินพื้นที่นากุ้งร้างด้วยปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรไนโตรเจน ฟอสฟอรัส ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ พด.12 และน้ำหมักชีวภาพซุปเปอร์พด.2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลผลิตของปาล์มน้ำมันศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติบางประการของดินหลังจากใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและศึกษผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในการผลิตปาล์มน้ำมัน โดยดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 2 บ้านป่าเสม็ด ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ระหว่าง เดือนตุลาคม 2553 ถึง เดือนกันยายน 2556 ซึ่งมีการวางแผนการทดลองแบบ RCBD มี 7 ตำรับการทดลอง จำนวน 3 ซ้ำ ได้แก่ วิธีการที่ 1 (T1) วิธีของเกษตรกร คือ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยร๊อคฟอสเฟต 0-3-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ และ ปุ๋ยเคมีสูตร 0-0-60 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีการที่ 2 (T2) ใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร คือ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 18-46-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 0-0-60 อัตรา 80 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีการที่ 3 (T3) ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์โปรแกรมคำแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลง (ตามผลการประเมินต้นทุนธาตุอาหารจากห้องปฏิบัติการ) คือ โดยใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 0-0-60 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยร็อคฟอสเฟต 0-3-0 อัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีการที่ 4 (T4) ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตร N อัตรา 320 กิโลกรัมต่อไร่ + ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตร P อัตรา 150 กิโลกรัมต่อไร่ + ขี้เถ้าไม้ยางพารา อัตรา 220 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีการที่ 5 (T5) คือ ใส่ปุ๋ยเคมีในอัตรา 1/2 ตามค่าวิเคราะห์โปรแกรมคำแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลง (ตามผลการประเมินต้นทุนธาตุอาหารจากห้องปฏิบัติการ) คือ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตร N อัตรา 160 กิโลกรัมต่อไร่ + ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตร P อัตรา 80 กิโลกรัมต่อไร่+ ขี้เถ้าไม้ยางพารา อัตรา 110 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีการที่ 6 (T6) คือ ใส่ปุ๋ยเคมีในอัตรา 1/2 ตามค่าวิเคราะห์โปรแกรมคำแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลง (ตามผลการประเมินต้นทุนธาตุอาหารจากห้องปฏิบัติการ) ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตร N , P ของกรมพัฒนาที่ดิน คือ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ + ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตร N อัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่ + ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตร P อัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่ และ วิธีการที่ 7 (T7) คือ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ + ปุ๋ยหมัก พด.1 อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ + น้ำหมักชีวภาพ พด.2 เจือจาง 1 : 2 00 ส่วน อัตรา 3,630 ลิตรต่อไร่ จากผลการศึกษา พบว่า วิธีการที่ 2 (T2) คือ การใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร (ปุ๋ยเคมีสูตร21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 18-46-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 0-0-60 อัตรา 80 กิโลกรัมต่อไร่) เป็นวิธีการที่ให้ผลผลิตทะลายปาล์มสูงที่สุด ส่วนวิธีการที่ 7 (T7) คือ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ + ปุ๋ยหมัก พด.1 อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ + น้ำหมักชีวภาพ พด.2 เจือจาง 1 : 2 00 ส่วน อัตรา 3,630 ลิตรต่อไร่ ให้ผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันต่ำที่สุด นอกจากนี้การใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีทำให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินอยู่ในระดับ 5.5 ถึง 6.0 ซึ่งเหมาะสมในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน และช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุและปริมาณธาตุอาหารพืชในดิน สำหรับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ปรากฏว่า วิธีการที่ 6 (T6) คือ การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตรไนโตรเจน อัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตรฟอสฟอรัส อัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นวิธีการที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงที่สุด ส่วนวิธีการที่ 4(T4) คือ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตรไนโตรเจน อัตรา 320 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตรฟอสฟอรัส อัตรา 150 กิโลกรัมต่อไร่ และขี้เถ้าไม้ยางพารา อัตรา 220 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจต่ำที่สุด
บทคัดย่อ (EN): The study on management abandoned shrimp farm with high quality organic fertilizer (nitrogen and phosphorus) and ldd no. 12 and bio extract fertilizer (ldd no.2) to increasing oil palm production included 3 objectives that are to increase productivity of oil palm, to study the properties of the soil, organic fertilizers and high quality and to study economic returns in the production of oil palm. The project was set up in Satul Province during 2010 – 2013. The results showed that the T2 is a chemical fertilizer as recommended by the Department of Agriculture. (Chemical fertilizer 21-0-0 rate 50 kg per rai and chemical fertilizer 18-46-0 rate 50 kg per rai and chemical fertilizer 0-0-60 rate 80 kg per rai) is the highest yielding of palm oil. While, T7 is a fertilizer 13-13-21 rate 30 kg. per rai + compost fertilizer(LDD No.1) rate 500kg per rai + Bio extract fertilizer (diluted 1:200) rate 3,630 liters per rai that got the lowest of oil palm yield. In addition to the high quality organic fertilizer with chemical fertilizer makes the soil pH range from 5.5 to 6.0, which is suitable for the growth and yield of oil palm. Also the high quality compost fertilizer could increase the soil organic matter and plant nutrients in the soil. For economic returns, the data presented that T6 is the 13-13-21 fertilizer rate 25 kg per rai + compost fertilizer with high nitrogen rate 60 kg per rai + compost fertilizer with high phosphorus rate 60 kg per rai could provide the highest economic return. But T4 gave the lowest of income.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการดินพื้นที่นากุ้งร้าง ด้วยปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรไนโตรเจน ฟอสฟอรัสร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ พด.12 และน้ำหมักชีวภาพซุปเปอร์พด.2 เพื่อเพิ่มผลผลิตของปาล์มน้ำมัน
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2556
การจัดการดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง น้ำหมักชีวภาพซุปเปอร์ พด.2 และปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโต และผลผลิตของปาล์มน้ำมันในกลุ่มชุดดินที่ 6 การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ ศึกษาการใช้ปุ๋ยชีวภาพ (พด.9) ในดินเปรี้ยวเพื่อการผลิตปาล์มน้ำมัน จ.สุราษฎร์ธานี ปรับปรุงคุณภาพ พด.1 พด.2 พด.3 เพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตร การพัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมันในภาคใต้ตอนบน การจัดการปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตมะละกอฮอลแลนด์ในดินทราย การใช้ปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง การประเมินสถานภาพของธาตุอาหารเพื่อการจัดการปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมัน การปรับปรุงปริมาณฟอสฟอรัสในกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย และสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อผลิตปุ๋ยสูตรเร่งดอก อิทธิพลของการให้น้ำและปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 7
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก