สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ธาตุอาหารรองและสารปรับปรุงดินแบบบูรณาการ เพื่อเพิ่มผลผลิตหม่อนผลสดในชุดดินโคราช (มุกดาหาร)
นัทธมน หาญศักดิ์1, เยาวภา สุกฤตานนท์1, สุนารักษ์ โสภา2, มณฑล เสวตานนท์3 - กรมหม่อนไหม
ชื่อเรื่อง: ศึกษาการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ธาตุอาหารรองและสารปรับปรุงดินแบบบูรณาการ เพื่อเพิ่มผลผลิตหม่อนผลสดในชุดดินโคราช (มุกดาหาร)
ชื่อเรื่อง (EN): Integrated on Chemical and Organic Fertilizers, Minor Elements and Soil Amendment to Increase Fresh Fruit Mulberry Yield in Korat Soil at Mukdaharn
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาการใช้ธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมกับ CaSO4 และสารปรับปรุงดินซีโอไลท์ (Zeolite) เพื่อเพิ่มผลผลิตหม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ในดินชุดโคราช ที่ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ ฯ มุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ระหว่างเดือน ตุลาคม 2547 ถึง กันยายน 2551 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design 3 ซ้ำ 10 กรรมวิธี ประกอบด้วย 1) ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี (control) 2) ปุ๋ยสูตร 15-15-15 + ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตราละ 50 กก./ไร่/ปี 3) ปุ๋ยสูตร 15-15-15 + ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตราละ 75 กก./ไร่/ปี 4) กรรมวิธี 2 + zeolite 5:1 โดยน้ำหนัก 5) กรรมวิธี 3+ zeolite 5:1 โดยน้ำหนัก 6) กรรมวิธี 2 + CaSO4 อัตรา 10 กก./ไร่/ปี 7) กรรมวิธี 3 + CaSO4 อัตรา 10 กก./ไร่/ปี 8) กรรมวิธี 6 + zeolite 5:1 โดยน้ำหนัก 9) กรรมวิธี 7 + zeolite 5:1 โดยน้ำหนัก และ 10) ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 100 กก./ไร่/ปี ผลการทดลองพบว่ากรรมวิธีที่ 7 ได้ผลผลิตหม่อนผลสดรวมสูงสุด 4,599.83 กก./ไร่ รองลงมาคือกรรมวิธีที่ 8 ได้ผลผลิต 3,795.85 กก./ไร่ และกรรมวิธีที่ 1 ได้ผลผลิตต่ำที่สุด 2,429.28 กก./ไร่ ผลวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารได้ปริมาณไนโตรเจนและปริมาณโพแทสเซียมสูงสุด คือ 3.8789 % และ 3.1600% ในกรรมวิธี 9 ปริมาณฟอสฟอรัสสูงสุด 0.7979 % ในกรรมวิธีที่ 4 แสดงว่าการเพิ่มผลผลิตหม่อนผลสดโดยใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 75 กก./ไร่/ปี ร่วมกับ ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 75 กก./ไร่/ปี และ CaSO4 อัตรา 10 กก./ไร่/ปี โดยรองพื้นด้วยปุ๋ยคอก อัตรา 2 ตันไร่/ปี สามารถเพิ่มผลผลิตหม่อนผลสดได้มากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย 89.35 % และสามารถเพิ่มผลผลิตหม่อนผลสดได้มากกว่าการใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 100 กก./ไร่/ปี 64.87 % ซึ่งเป็นบ่งชี้ว่าการใช้ CaSO4 และสารปรับปรุงดินซีโอไลท์ (Zeolite) เป็นมีส่วนช่วยเสริมในการปรับสภาพดินร่วนปนทรายชุดโคราช ในกระบวนการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพหม่อนผลสด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
เอกสารแนบ: https://qsds.go.th/newosrd/wp-content/uploads/sites/115/2021/08/2551-36.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมหม่อนไหม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ธาตุอาหารรองและสารปรับปรุงดินแบบบูรณาการ เพื่อเพิ่มผลผลิตหม่อนผลสดในชุดดินโคราช (มุกดาหาร)
กรมหม่อนไหม
2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมหม่อนไหม
ศึกษาการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ธาตุอาหารรองและสารปรับปรุงดินแบบบูรณาการ เพื่อเพิ่มผลผลิตหม่อนผลสด ในดินชุดสตึก การใช้ปุ๋ยพืชสดปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินและเพิ่มผลผลิตของพืชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่มีความเหมาะสมชั้น 3 ( การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่มีความเหมาะสมชั้น 2 ( การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่มีความเหมาะสมชั้น1 (S การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่ไม่มีความเหมาะสม (N) การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่มีความเหมาะสมชั้น2 (S ศึกษาการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ธาตุอาหารรองและสารปรับปรุงดินแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตหม่อนผลสดในชุดดินโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย อิทธิพลของธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองที่มีผลต่อผลผลิตและความเข้มข้นของธาตุอาหารของหญ้าอะตราตั้ม ปลูฏใรชุดดินบ้านทอน และชุดดินท่าแซะ การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก