สืบค้นงานวิจัย
การวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จด้านการผลิตและการตลาดในการผลิตพืชเกษตรอินทรีย์ระหว่างกลุ่มเกษตรกรกับเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดเชียงใหม่
อำภา วิรัตน์พฤกษ์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จด้านการผลิตและการตลาดในการผลิตพืชเกษตรอินทรีย์ระหว่างกลุ่มเกษตรกรกับเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): A Comparison Analysis of Factors Leading to Success of Production and Marketing of Organic Crops Grown by Chiang Mai Province Certified and Independent Farmers
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อำภา วิรัตน์พฤกษ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) ศึกษาสภาพทั่วไปของเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักอินทรีย์ระหว่างกลุ่มเกษตรกรกับเกษตรกรรายย่อย (2) วิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จด้านการผลิตในการผลิตพืชผักอินทรีย์ และ (3) วิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จด้านการตลาดในการผลิตพืชผักอินทรีย์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตพืชผักอินทรีย์ของเกษตรกรให้ประสบความสำเร็จด้านการผลิตและการตลาดมากยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรที่ปลูกพืชผักอินทรีย์ที่เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์และได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) จำนวน 143 ราย และเกษตรกรรายย่อยทั่วไปที่ปลูกพืชผักอินทรีย์ที่ไม่เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์ จำนวน 143 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ ผลการวิจัย พบว่า สภาพทั่วไปของสมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์และเกษตรกรรายย่อย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 41 – 50 ปี และ 31 – 40 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนอยู่ระหว่าง 4 – 6 คน รายได้ส่วนใหญ่ของครอบครัวได้มาจากการปลูกผัก โดยมีรายได้ต่อครัวเรือนอยู่ระหว่าง 100,001 – 200,000 บาท/ปี มีประสบการณ์ในการใช้สารเคมีไม่เกิน 10 ปี และมีพื้นที่ในการทำเกษตรต่อครัวเรือนอยู่ระหว่าง 1 – 10 ไร่ และมีพื้นที่สำหรับการปลูกพืชผักอินทรีย์อยู่ระหว่าง 3 – 6 ไร่ มีรายได้จากการจำหน่ายพืชผักอินทรีย์ต่อครัวเรือนอยู่ระหว่าง 5,001 – 15,000 บาท/เดือน แหล่งน้ำที่ใช้สำหรับการปลูกพืชผักอินทรีย์ได้แก่ สระเก็บน้ำภายในพื้นที่ เมล็ดพันธ์พืชผักอินทรีย์ที่ใช้สำหรับปลูกของเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักอินทรีย์ทั้งที่เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์และเกษตรกรรายย่อย ได้มาจากการเก็บไว้ใช้เองของเกษตรกรทั้งสองกลุ่ม การเรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชผักอินทรีย์ของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่มีการเรียนรู้จากการฝึกอบรม ในขณะที่เกษตรกรรายย่อยมีการเรียนรู้ด้วยวิธีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสมาชิกด้วยกัน การได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่จะได้รับการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ในการปลูกพืชผักอินทรีย์ ในขณะที่เกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่จะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนในด้านปัจจัยการผลิต ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จด้านการผลิตและการตลาดของเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักอินทรีย์ที่เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์ พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กับปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) ผลผลิตที่ได้เป็นไปตามมาตรฐานพืชผักอินทรีย์(SQOP) ๖(2) การมีแนวปฏิบัติที่ดีตามมาตรฐานกากรผลิตพืชผักอินทรีย์(SbPP) (3) การมีผลผลิตที่เพียงพอ(QfP)(4) การมีผลผลิตที่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง(CQfP) และ (5) ผลผลิตที่ได้มีการแบ่งปันไว้เพื่อการบริโภคในครัวเรือน(HPCP) ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จด้านการผลิตและการตลาดของเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักอินทรีย์ที่เป็นเกษตรกรรายย่อย พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กับปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ การมีผลผลิตที่เพียงพอ (QfP) การมีผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง (CQfP) การมีผลผลิตที่เป็นไปตามความต้องการของตลาด (DMQP) โดยทั้งสามปัจจัยมีสหสัมพันธ์กับความสำเร็จเท่ากับ 0.9443 เท่ากัน รองลงมาได้แก่ ผู้วางแผนการผลิตเป็นเกษตรกรเองและครอบครัว(WPfP) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.8923 การวางแผนการผลิต(PfP) และผลผลิตที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานพืชผักอินทรีย์(SQOP) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.8675
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเศรษฐศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-60-025
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: http://researchex.rae.mju.ac.th/research60/library/ab/MJU1-60-025.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จด้านการผลิตและการตลาดในการผลิตพืชเกษตรอินทรีย์ระหว่างกลุ่มเกษตรกรกับเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2560
เอกสารแนบ 1
ศักยภาพการผลิตสินค้าการเกษตรอินทรีย์สู่มาตรฐานสากล ของ จังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนารูปแบบการจัดการการตลาดของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน การพัฒนาระบบบัญชีการเงินและระบบบัญชีเพื่อการบริหารของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน พัฒนาระบบบัญชีการเงินและระบบบัญชีเพื่อการบริหารของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อความเข็มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพครบวงจรของสหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้ด้านธุรกิจเกษตรอินทรีย์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนยั่งยืน พัฒนาระบบโปรแกรมเครื่องมือทางการเงินของกลุ่มเกษตรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรในการปลูกพืชสวนครัวพื้นบ้านล้านนา ในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูปสู่การสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ ของจังหวัดเชียงใหม่ ระบบการเลี้ยงวัวควายของเกษตรกรรายย่อยในอนาคต

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก