สืบค้นงานวิจัย
การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกิจกรรมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน
สมพงศ์ แป้นทอง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกิจกรรมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมพงศ์ แป้นทอง
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การติดต่อสื่อสารและจิตวิทยาของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร (2) ระดับของการมีส่วนร่วมของสมาชิกในกิจกรรมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การติดต่อสื่อสาร และจิตวิทยาที่มีต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกในกิจกรรมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานกลุ่มของสมาชิก สถานที่ทำการศึกษา ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในพื้นที่ อำเภอเมือง อำเภอถลาง และอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต จำนวน 9 กลุ่ม ประชากรที่ทำการศึกษา 153 คน ใช้การสัมภาษณ์เป็นวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ มกราคม - กุมภาพันธ์ 2537 จากการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่ของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มีอายุระหว่าง 36-49 ปี ร้อยละ 70 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มากกว่าร้อยละ 80 แต่งงานแล้ว มีจำนวนบุตรน้อยกว่า 3 คน และมีสมาชิก ในครอบครัวตั้งแต่ 5-7 คน ประกอบอาชีพหลักทางด้านการเกษตร มีรายได้ระหว่าง 30,001-60,000 บาทต่อปี สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มากกว่าร้อยละ 60 มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ วัตถุประสงค์ และวิธีการดำเนินงานกลุ่มในระดับสูง มีการติดต่อกับชุมชนภายนอกน้อยกว่า 4 ครั้ง มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่เคหกิจเกษตร ปีละ 11-14 ครั้ง และมากกว่าร้อยละ 70 ได้เข้าร่วมประชุมและฝึกอบรมตั้งแต่ 10-12 ครั้งต่อปี มากกว่าร้อยละ 50 ได้รับความรู้ทางด้านการเกษตรและวิธีการดำเนินกลุ่มจากโทรทัศน์ 17 ครั้งต่อเดือน สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มากกว่าร้อยละ 60 มีทัศนคติต่อกิจกรรมกลุ่มและเจ้าหน้าที่เคหกิจเกษตรในระดับที่ดี มากกว่าร้อยละ 50 มีความคาดหวังว่าจะทำให้มีรายได้ มีความรู้ และได้รู้จักบุคคลอื่นเพิ่มมากขึ้น และมากกว่าร้อยละ 50 มีแรงจูงใจในระดับสูง การมีส่วนร่วมของสมาชิกในขั้นตอนต่าง ๆ พบว่า ในขั้นตอนการร่วมศึกษาปัญหา สมาชิกมีส่วนร่วมในการเข้าประชุมมากที่สุด ขึ้นตอนการร่วมกำหนดแนวทางในการดำเนินงานกลุ่ม สมาชิกมีส่วนร่วใตัดสินใจวางแผนการดำเนินงานกลุ่มมากที่สุด และขั้นตอนการร่วมติดตามและประเมินผล สมาชิกมีส่วนร่วมในการนำผลการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงกลุ่มให้ดีขึ้นมากที่สุด การทดสอบความสัมพันธ์ทางสถิติ พบปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกในกิจกรรมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อันได้แก่ ความรู้ความเข้าใจในหลักการ วัตถุประสงค์ และวิธีการดำเนินงานกลุ่ม การติดต่อกับชุมชนภายนอก การได้รับข่าวสารจากวิทยุ เอกสารสิ่งพิมพ์ ความคาดหวังต่อการมีความรู้เพิ่มขึ้น การได้รู้จักบุคคลอื่น เพิ่มขึ้น และแรงจูงใจ ปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ รายได้ของสมาชิไม่เท่าเทียมกัน สถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะสมและงบประมาณน้อย ส่วนข้อเสนอแนะของวิธีการดำเนินงานกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับจะต้องวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาของกลุ่มและจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความรู้ ความสามารถ และทักษะของสมาชิก ศึกาาและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภค ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มในทุกรูปแบบ และส่งเสริมการจัดตึ้งกองทุนเพื่อระดมทุนในการทำกิจกรรมของกลุ่มให้เพิ่มมากขึ้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2537
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2537
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: อำเภอเมือง อำเภอถลาง และอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: มกราคม - กุมภาพันธ์ 2537
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกิจกรรมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน
กรมส่งเสริมการเกษตร
2537
การดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จของจังหวัดตราด ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรผสมผสาน บ้านห้วยหลาว อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม รายงานการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่มีผลทำให้การดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรประสบผลสำเร็จ ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดชุมพร บทบาทการดำเนินงานกิจกรรมเชิงธุรกิจของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดมหาสารคาม ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดสุโขทัย ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดหนองบัวลำภู การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดสระบุรี ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู ความคิดเห็นของสมาชิกต่อความสำเร็จการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรคำพระ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก