สืบค้นงานวิจัย
การใช้รังสีแกมมาเพื่อเพิ่มผลผลิตของไหมพันธุ์ไทย
ประทีป มีศิลป์ บุญญา สุดาทิศ สุดา เสกสรรค์วิริยะ บุญมา ภางาม อุไรวรรณ อึ้งประเสริฐภรณ์ ไชยยงค์ สำราญถิ่น และ สถิต จันทร์เจริญ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้รังสีแกมมาเพื่อเพิ่มผลผลิตของไหมพันธุ์ไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Gamma Radiation for Inducing Production Increases in a Thai Native Silkworm Race
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประทีป มีศิลป์ บุญญา สุดาทิศ สุดา เสกสรรค์วิริยะ บุญมา ภางาม อุไรวรรณ อึ้งประเสริฐภรณ์ ไชยยงค์ สำราญถิ่น และ สถิต จันทร์เจริญ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): prateep Meesilpa
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาเพื่อหาปริาณรังสีที่เหมาะสมต่อการเพิ่มผลผลิตไข่ไหมและเปอร์เซ็นต์รังของไหมพันธุ์ไทย ไหมฉายรังสีแกมมากับไข่ไหมพันธุ์นางเหลืองอายุ 1, 2, 3, 4, 5, 6 และ 7 วัน ในปริมาณรังสี 7 ระดับ คือ 0, 0.5, 1.0, 1.5, 2.0, 2.5 และ 3.0 เกรย์ ที่สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ และเลี้ยงศึกษาคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยหม่อนไหมศรีสะเกษ พบว่าปริมาณรังสีทุกระดับไม่มีผลต่อการฟักของไข่ไหม แต่การฉายรังสีกับไข่ไหมอายุ 6 วัน ทำให้เปอร์เซ็นต์ฟักสูงสุด 90.39% ส่วนปริมาณรังสีที่เหมาะสมสำหรับปรับปรุงพันธุ์ไหมอยู่ระหว่าง 1.5-2.5 เกรย์ และเมื่อฉายรังสี 2.5 เกรย์ กับไข่ไหมอายุ 6 วัน แล้วคัดเลือกถึงชั่วที่ 3 เปอร์เซ็นต์เปลือกรังเพิ่มขึ้นถึง 34.41% และความยาวเส้นใยเพิ่มขึ้น 47.97% ปริมาณรังสีขนาดอื่น ๆ ให้ผลรองลงมา โดยอัตราการเลี้ยงรอดจะไม่ต่างจาก control และพบว่าปริมาณรังสีที่ให้ลักษณะที่ดีจะมีผลให้จำนวนไข่ต่อแม่เพื่มขึ้นด้วย แต่จะไม่มีผลแตกต่างกันในแง่ของเปอร์เซ็นต์การฟักของไข่ไหมในทุก ๆ ปริมาณรังสีที่ใช้
บทคัดย่อ (EN): The effect of gamma radiation was studied was studied on the native Thai Silkworm race 'Nang Lueng'. Silkworm eggs 1, 2, 3, 4, 5, 6 and 7 days old were treated with radiation doses of zero, 0.5, 1.0, 1.5, 2.0, 2.5 and 3.0 Gy. The most suitable radiation dose for selection purposes was in the range 1.5-2.5 Gy. When a radiation dose of 2.5 Gy was used for 6 day old eggs and selection undertaken to three generations, the cocoon percentage increased by approximately 34.4 percent, and mean silk yarn length per cocoon increased by approximately 48 percent. Other radiation doses has more limited effects. Egg number per demale increased as a result of the raidation treatments but there was no effect on hatching percentage.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2529
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2529
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้รังสีแกมมาเพื่อเพิ่มผลผลิตของไหมพันธุ์ไทย
กรมวิชาการเกษตร
2529
เอกสารแนบ 1
การใช้รังสีแกมมาเพื่อเพิ่มผลผลิตและเปอร์เซ็นต์เปลือกรังของไหมพันธุ์ไทย ผลของรังสีแกมมาที่มีต่อการกลายพันธุ์ของหญ้ากินนีสีม่วงในลักษณะความต้านทานต่อโรคใบไหม้และค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้ง การศึกษาผลของรังสีแกมมาต่อการเพิ่มปริมาณไข่ไหม พันธุ์ไทย ศึกษาพันธุ์ไหมไทยที่เหมาะสมในการผลิตแผ่นใยไหม การศึกษาหาเวลาที่ใช้ในการเลี้ยงไหมพันธุ์ไทย การเปรียบเทียบผลผลิตพันธุ์ไหมไทยลูกผสมสามสายพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ไหมพันธุ์ไทยลูกผสมรังสีเหลืองพันธุ์ใหม่ การสำรวจปริมาณใบหม่อนที่ใช้กับพันธุ์ไหมซึ่งใช้ผลิตไข่ไหมในศูนย์วิจัยและอบรมไหมนครราชสีมา การศึกษาลักษณะบางประการของรังไหมพันธุ์ที่ใช้เลี้ยงในไทย โครงการศึกษาการนำเส้นไหมพันธุ์ไทยไปใช้เป็นเส้นพุ่งในการผลิตผ้าไหมยกดอกลำพูน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก