สืบค้นงานวิจัย
การเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ในระบบการผลิต ข้าวนาน้ำฝนอย่างยั่งยืน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สมหมาย เลิศนา - สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ในระบบการผลิต ข้าวนาน้ำฝนอย่างยั่งยืน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Strengthening Farmers’ Adaptation to Climate Change in Rainfed Lowland Rice System in Northeastern
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมหมาย เลิศนา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นแหล่งผลิตข้าวที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ แต่ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำที่สุด และมีความแปรปรวนมาก สาเหตุจาก พื้นที่การผลิตส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝน ดังนั้นผลผลิตข้าวจึงขึ้นกับปริมาณและการกระจายตัวของฝนเป็นหลัก การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่แปรปรวนมากขึ้น และยากที่จะทำนายสภาวะอากาศในแต่ละปีได้เหมือนในอดีต จากการเสวนากับกลุ่มเกษตรกร พบว่าเกษตรกรเริ่มตื่นตัวกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ สังเกตจากสภาวะฝนที่บางครั้งล่าช้ามาก บางครั้งมาเร็วจนผิดปกติ ในฤดูกาลปลูกข้าว 2- 3 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรไม่สามารถวางแผนการปลูกได้ดังเช่นในอดีต บางครั้งทำให้พลาดโอกาสการปลูกข้าวในฤดูปลูกนั้นๆ ผลการดำเนินงานปี 2555 ได้อธิบายความเป็นจริงของพื้นที่การทำการเกษตรอาศัยน้ำฝนของสภาพนา ที่มีความหลากหลายคือ นาดอน นาลุ่มๆดอนๆ และนาลุ่ม ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย แต่การใช้พันธุ์ข้าวของเกษตรกรส่วนใหญ่มีเพียง 2 พันธุ์คือ ขาวดอกมะลิ 105 เป็นการผลิตเพื่อขาย รองลงมาเป็น พันธุ์ กข6 ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อบริโภค สำหรับวิธีการปลูก พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงจากการปักดำเป็นการปลูกแบบหว่านข้าวแห้งมากขึ้น ในด้านวันปลูก ในฤดูปกติทั่วไปที่เกษตรกรปฏิบัติคือ เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป ในฤดูปลูกปี 2556 การตกของฝนมีความแปรปรวนมาก โดยพบว่า ฝนแล้งในต้นฤดู ทำให้วันปลูกมีความแตกต่างกันตามสภาพของฝน โดยพบว่าวันปลูกมีความแตกต่างกันมาก ทั้งระหว่างพื้นที่และภายในพื้นที่เดียวกัน บางพื้นที่พบว่า มีวันปลูกล่าจนถึงเดือนกันยายน บางพื้นที่ไม่สามารถปักดำได้ โดยเฉพาะในพื้นที่นาดอน เนื่องจากน้ำไม่เพียงพอ การทดสอบชนิดของพันธุ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสงและไม่ไวต่อช่วงแสง และมีวันปลูกแตกต่างกัน 3 วันปลูก ใน 16 พื้นที่ทดสอบที่มีภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันพบว่า พันธุ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสงมีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตในนาดอนดีกว่า พันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ส่วนในนาลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่า พันธุ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง มีความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศที่มีความแปรปรวนได้ดีกว่า พันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ด้านการปรับตัวของเกษตรกร เกษตรกรมีการปรับตัวโดย ปลูกข้าวอายุเบาในพื้นที่นาดอน บางพื้นที่ปลูกปักดำไม่ได้ มีการปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น อ้อย และมันสำปะหลัง จากการเก็บข้อมูลในแปลงนาเกษตรกรrพบว่า ผลผลิตมีความแปรปรวนสูง ผลผลิตที่วัดได้สูงสุดคือ 850 กิโลกรัมต่อไร่ และต่ำสุดคือ ไม่ได้สามารถเก็บเกี่ยวได้หรือไม่สามารถปักดำได้ ปัจจัยสำคัญหนึ่งคือ ปริมาณและการกระจายของฝน ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ส่งผลให้มีวันปลูกที่แตกต่างกันและการเกิดสภาวะแล้งที่แตกต่างกัน ประการที่สอง เนื่องจากความหลากหลายของสภาพนาที่ (นาดอน นาลุ่ม และนาลุ่มน้ำท่วม) แต่มีการใช้พันธุ์เพียง 2 พันธุ์ (ขาวดอกมะลิ 105 และกข6) ซึ่งเหมาะสมสำหรับนาลุ่มที่ขังน้ำได้จนถึงช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน เท่านั้น แต่ไม่เหมาะสมกับนาดอน ฤดูนาปี 2557 สถานการณ์ความแปรปรวนไม่ต่างจากปี 2555/56 มากนัก แต่พบว่าในปี 2556/57 มีการตกของฝนมากจนทำให้น้ำท่วมในหลายพื้นที่เช่น อำนาจเจริญ อุบลราชธานีและสกลนคร แต่ในบางพื้นที่ประสบกับสภาวะแล้ง วันปลูกมีความแปรปรวนมากเช่นเดิม ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า สภาวะความแปรปรวนของฝนมีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้เกษตรกรไม่สามารถกำหนดวันปลูกได้ตามที่เคยปฏิบัติ และเมื่อปลูกแล้วอาจจะเสียหายเนื่องจากน้ำท่วมหรือฝนแล้ง การแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากความเสียหายเนื่องจาก น้ำท่วมหรือฝนแล้งหรือไม่สามารถปลูกได้ตามฤดูกาล โดยต้องปลูกล่าช้ากว่าเดือนสิงหาคม จะทำได้อย่างไร วิธีการปลูกที่ทำได้รวดเร็ว และพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพการปลูกล่าช้า ควรเป็นพันธุ์ประเภทไหน จะสามารถลดปัญหาด้านการปลูกและมีความเสี่ยงน้อย การใช้พันธุ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสงอาจจะมีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตในสภาวะที่ทีความแปรปรวนสูง แต่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม การปลูกโดยเมล็ดโดยตรงเช่น หว่านข้าวแห้ง และหว่านเปียก น่าจะเป็นวิธีการที่ดีกว่าการปักดำ ในสภาวะอากาศแปรปรวน เนื่องจากสามารถปลูกได้ทันที่ที่มีความพร้อม การหว่านเปียกไม่เป็นที่นิยมและไม่เหมาะสมสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนการหว่านข้าวแห้ง ผลผลิตค่อนข้างต่ำ เนื่องจากปัญหาจาก ความไม่สม่ำเสมอของแปลงและวัชพืช การปลูกเป็นแถวสามารถใช้เครื่องทุนแรงในการกำจัดวัชพืชได้ การปลูกด้วยมือจึงทำได้ยาก การใช้เครื่องจักรกลขนาดเล็กน่าจะเป็นประโยชน์ ดังนั้นโครงการจึงกำหนดวัตถุประสงค์การดำเนินงานดังนี้ 1. เปรียบเทียบการวิธีการปลูก ปักดำ หว่านข้าวแห้งตามวิธีที่ปฏิบัติเดิม การปลูกโดยเมล็ดด้วยเครื่องจักรกลขนาดเล็ก 2. ศึกษาผลของวันปลูกกับอัตราเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมในการหว่าน กรณีปลูกล่า เพื่อทดแทนความเสียหายเนื่องจากภัยพิบัติ 3. ประเมินความเป็นไปได้ของการใช้แบบจำลองในการพยากรณ์ และเพื่อให้เป็นการยอมรับของเกษตรกร การจัดการต่างๆจะได้รับการประเมินและพัฒนาร่วมกันกับเกษตรกร และถ้าแบบจำลองมีความแม่นยำ จะสามารถพัฒนาเป็นระบบสนับสนุนเกษตรกรในการวางแผนการผลิตในอนาคต
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-01-05
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-01-04
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ในระบบการผลิต ข้าวนาน้ำฝนอย่างยั่งยืน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
4 มกราคม 2559
การเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระบบการผลิตข้าวนาน้ำฝนอย่างยั่งยืนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระบบการผลิตยางพาราภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปรับตัวของเกษตรกรในการผลิตข้าวนาน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ โครงการศึกษาวัดประสิทธิภาพการผลิตยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะของเทคโนโลยีการผลิตข้าวที่เกษตรกรรับรู้ในเขตโครงการพัฒนาการเกษตรอาศัยน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมสำหรับนาน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือในสภาวะภูมิกาศแปรปรวน สภาพการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัย Aerobic rice สำหรับนาน้ำฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก